ศีลเป็นเครื่องประดับ

 
PEERAPAT65
วันที่  19 พ.ย. 2556
หมายเลข  24040
อ่าน  1,840

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

ข้อความบางตอน ...

ในข้อนั้น หากจะพึงมีคำถามว่า ธรรมดาว่าศีลนี้ เป็นเครื่อง ประดับอันเลิศของพระโยคี ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า

ศีลเป็นอลังการของพระโยคี ศีลเป็นเครื่องประดับ ของพระโยคี พระโยคีผู้ตกแต่งด้วยศีลทั้งหลาย ถึงความเป็นผู้เลิศในการประดับ ดังนี้.

อนึ่ง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสศีล ทรงกระทำให้ยิ่งใหญ่

ทีเดียวในพระสูตรหลายร้อยสูตร อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หาก ภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็น ที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้ ก็พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ ในศีลทั้งหลายทีเดียว ดังนี้ และว่า

นกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ฉันใด จามรีรักษาขนหางฉันใด คนมีบุตรคนเดียวรักษาบุตรผู้เป็นที่รักฉันใด คนมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาที่ยังเหลืออีกข้างฉันใด ท่านทั้งหลายจงตามรักษาศีลเหมือนฉันนั้นทีเดียว จงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีความเคารพทุกเมื่อเถิด ดังนี้ และว่า กลิ่นดอกไม้ไม่ฟุ้งทวนลม จันทน์หรือกฤษณา และมะลิซ้อน ก็ไม่ฟุ้งทวนลม แต่กลิ่นสัตบุรุษย่อมฟุ้งทวนลม สัตบุรุษย่อมฟุ้งไปได้ทุกทิศ จันทน์ก็ดี กฤษณาก็ดี อุบลก็ดี มะลิก็ดี กลิ่นคือศีล ยอดเยี่ยมกว่าบรรดาคันธชาตเหล่านั้น กลิ่นกฤษณา และจันทน์นี้มีประมาณน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีล เป็นกลิ่นสูงสุด ฟุ้งไปในทวยเทพทั้งหลาย มารย่อมไม่พบทางของท่านเหล่านั้น ผู้มีศีลสมบูรณ์ มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ ภิกษุเป็นพระผู้มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ยังจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ ผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนนั้น พึงสางชัฏนี้ได้ ดังนี้ และว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์ พีชคามและภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด อาศัย แผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้อย่างนี้ มี อุปมาแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล เจริญ โพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเป็นใหญ่หรือ ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ก็อุปไมยฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ พระสูตร แม้อื่นๆ อีกไม่น้อย ก็พึงเห็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสศีล ทรงกระทำให้ยิ่งใหญ่ทีเดียวในพระสูตร หลายร้อยสูตรอย่างนี้มิใช่หรือ เหตุไฉน ในที่นี้จึงตรัสศีลนั้นว่ามีประมาณน้อยเล่า?

ตอบว่า เพราะทรงเทียบเคียงคุณชั้นสูง. ด้วยว่า ศีลยังไม่ถึงสมาธิ

สมาธิยังไม่ถึงปัญญา ฉะนั้น ทรงเทียบเคียงคุณสูงๆ ชั้นไป ศีลอยู่เบื้องล่าง

จึงชื่อว่า ยังต่ำนัก.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ