ขอความเข้าใจเกี่ยวกับการพิจารณาเรื่อง อนัตตา ด้วยครับ

 
ธุลี
วันที่  9 พ.ย. 2556
หมายเลข  23989
อ่าน  1,278

เรียน อาจารย์และท่านผู้รู้ทุกๆ ท่าน

ส่วนหนึ่งของหลักไตรลักษณ์ที่ว่า อนัตตานั้น เช่น ถ้าเอาขันธ์ 5 มาพิจารณา เราควรโน้มความคิดเพื่อให้เข้าใจในหลักนี้ไปในแบบใดดังต่อไปนี้ครับ

1. ขันธ์ 5 มีจริง แต่แค่ชั่วคราว บังคับไม่ได้ ไม่นานก็แตกสลายตามหลักอนิจจัง+ทุกขัง จึงให้ถือว่าไม่มี และไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตน

2. ขันธ์ 5 มีจริง แต่แยกย่อยได้ (เหมือนร่างกายประกอบด้วยโมเลกุลต่างๆ ) เป็นแค่ส่วนประกอบย่อยอย่างอื่น จึงให้ถือว่าไม่มี และไม่ควรยึดมั่นถือมันว่ามีตัวตน

3. ขันธ์ 5 ไม่มีจริง ดังนั้น จึงไม่มี และไม่ควรยึดมั่นถือมันว่ามีตัวตน หรือไม่ใช่สักข้อที่ว่ามา และควรเป็นอย่างไรครับ

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 9 พ.ย. 2556

ขันธ์ ๕ มีจริง เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล บังคับบัญชาให้เป็นไปตามอำนาจไม่ได้ ว่างเปล่าจากตน และของๆ ตน ฯ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 10 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ซึ่งมีจริงอยู่ทุกขณะในชีวิต นี้แหละเป็นขันธ์ แม้จะไม่เรียกชื่อก็ตาม ความเป็นจริงของธรรมก็เป็นจริงอย่างนั้น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รูสิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย คิดนึก ความดี ความชั่ว เป็นต้น ล้วนเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย มีจริงๆ เกิดแล้วดับไป ไม่มีเหลือ สำคัญที่การตั้งต้นจริงๆ ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อยครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 10 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ส่วน ขันธ์ หมายถึง สภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นธรรมที่เกิด เพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ขันธ์มี ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณซึ่ง ขันธ์ 5 ก็คือ สภาพธรรมที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม จึงไม่พ้นจากความเป็นอนัตตา คือ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้เลย และ ไม่มีสัตว์บุคคลในขันธ์ 5 ซึ่งจากที่ผู้ถามกล่าวมาในสามข้อนั้น จะขอแยกดังนี้ ครับ

1. ขันธ์ 5 มีจริง แต่แค่ชั่วคราว บังคับไม่ได้ ไม่นานก็แตกสลายตามหลักอนิจจัง+ทุกขัง จึงให้ถือว่าไม่มี และไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตน

ขันธ์ห้า มีจริง แต่มีจริง เพราะมีลักษณะของสภาพธรรม แต่เป็นอนัตตา เพราะไม่มี ไม่มีอะไร ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นแต่เพียงขันธ์ห้าที่เป็นเพียงสภาพธรรม ดังนั้น อนัตตาไม่ได้หมายถึง ไม่มีอะไรเลย แต่มีสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่มีความเป็นสัตว์ บุคคล ครับ

2. ขันธ์ 5 มีจริง แต่แยกย่อยได้ (เหมือนร่างกายประกอบด้วยโมเลกุลต่างๆ ) เป็นแค่ส่วนประกอบย่อยอย่างอื่น จึงให้ถือว่าไม่มี และไม่ควรยึดมั่นถือมันว่ามีตัวตน

ขันธ์ ห้า ก็แยกเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ทั้งส่วนที่หยาบและละเอียด อย่างไรก็ดี หากพิจารณาความจริง ไม่ใช่การเปรียบเทียบกับทางโลก แต่เป็นการแสถึงความไม่มีสัตว์บุคคลในสภาพธรรมนั้น ครับ

3. ขันธ์ 5 ไม่มีจริง ดังนั้น จึงไม่มี และไม่ควรยึดมั่นถือมันว่ามีตัวตน

ขันธ์ ห้า มีจริง เพราะมีลักษณะให้รู้ แต่ไม่มีสัตว์บุคคล จึงไม่ควรแก่การยึดถือ เพราะไม่มีเรา ไม่มีใครที่สำคัญว่าเป็นคนที่รัก เป็นต้น ก็มีแต่เพียงธรรม ไม่ควรแก่การยึดถือ ครับ

เชิญอ่านความเข้าใจ เรื่องอนัตตาโดยละเอียด ดังนี้

ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ด้วย อรรถว่าดังนี้ ครับ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 172 ชื่อว่า เป็น อนัตตา เพราะเหตุ ๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑

โดยความเป็นของสูญ คือ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรเลย สูญไปเลย แต่มีสภาพธรรม เพียงแต่สูญ คือ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนในสภาพธรรมนั้นเลย เพราะเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา สัตว์ บุคคล ครับ

โดยความไม่มีเจ้าของ คือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของสภาพธรรม ที่คิดว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สมบัตินั้นก็ไม่รู้ว่าว่ามีคนเป็นเจ้าของเพราะเป็นแต่เพียงรูป และทรัพย์สมบัติก็เสื่อมสลายไป ไม่มีใครที่เป็นเจ้าของได้จริงๆ ผู้ที่เป็นเจ้าของ ก็ต้องจากไป ไม่มีใครเป็นเจ้าของจริงๆ เพราะเป็นแต่เพียงธรรมที่เป็นอนัตตา ครับ

โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ คือ ไม่สามารถให้ จิต เจตสิก รูป และสภาพธรรมเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้น ตามใจชอบไม่ได้เลย และไม่ให้ดับไปก็ไม่ได้ จะให้ยั่งยืนอยู่ตลอดเวลาไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

โดยปฏิเสธต่ออัตตา คือ ปฏิเสธว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนอยู่ในสภาพธรรม ครับ นี่คือ อรรถ 4 อย่าง ที่แสดงถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ซึ่งการจะถึงความเป็นอนัตตา ก็ด้วยการประจักษ์ด้วยปัญญาเท่านั้น โดยเริ่มจากการฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ปัญญาก็จะค่อยๆ เจริญจนถึงการประจักษ์สภาพธรรมว่าไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงธรรม ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 10 พ.ย. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 10 พ.ย. 2556

ขอกราบอนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธุลี
วันที่ 11 พ.ย. 2556

กราบขอบพระคุณในความอนุเคราะห์และชี้ทางสว่างให้อย่างสูงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tanrat
วันที่ 12 พ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
BudCoP
วันที่ 12 พ.ย. 2556

ขอน้อมนบพระวิปัสสนาญาณ

สวัสดีครับ ทุกๆ คน ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนทนานะครับ

ที่ท่านถามเป็นข้อปฏิบัติในตีรณปริญญาและปหานปริญญานะครับ ท่านเจ้าของกระทู้ ถามเฉยๆ หรือ จะนำไปปฏิบัติ ครับ

หากจะนำไปปฏิบัติ ต้องพิจารณาปัจจัยด้วยปัจจยปริคคหญาณ ให้ชำนาญก่อนครับ และจะชำนาญญาณนี้ได้ ต้องชำนาญนามรูปปริจเฉทญาณ ด้วยครับ

ไม่เช่นนั้น สภาพธรรมจักปรากฎโดยสภาพอนัตตาไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นภาวนา ไม่อาจบรรลุได้ เพราะญาณพื้นฐานยังไม่เป็นวิสุทธิพอ ระบบความเข้าใจเรื่องธาตุ ปัจจัยไม่ชัดเจน มีสิทธิ์เข้าฝ่ายสัสต-อุทเฉททิฏฐิ ตามที่ว่าไว้ในอุทยัพพยญาณกถาในปกรณ์ ชื่อว่า วิสุทธิมรรค ครับ

อุปมาเหมือนเด็กประถมปลาย อ่านหนังสือพิมพ์ ย่อมได้แต่ตัวอักษรฉันนั้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ธุลี
วันที่ 15 พ.ย. 2556

เรียนท่าน BudCoP ครับ

ถามเพื่อจะนำไปปฏิบัติครับ
ขอขอบพระคุณในคำแนะนำอย่างสูง และจะเพียรในการศึกษาทำความเข้าใจครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Khun
วันที่ 29 พ.ย. 2556
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 23989 ความคิดเห็นที่ 8 โดย BudCoP

ขอน้อมนบพระวิปัสสนาญาณ

สวัสดีครับ ทุกๆ คน ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนทนานะครับ

ที่ท่านถามเป็นข้อปฏิบัติในตีรณปริญญาและปหานปริญญานะครับ ท่านเจ้าของกระทู้ ถามเฉยๆ หรือ จะนำไปปฏิบัติ ครับ

หากจะนำไปปฏิบัติ ต้องพิจารณาปัจจัยด้วยปัจจยปริคคหญาณ ให้ชำนาญก่อนครับ และจะชำนาญญาณนี้ได้ ต้องชำนาญนามรูปปริจเฉทญาณด้วยครับ

ไม่เช่นนั้น สภาพธรรมจักปรากฎโดยสภาพอนัตตาไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นภาวนา ไม่อาจบรรลุได้ เพราะญาณพื้นฐานยังไม่เป็นวิสุทธิพอ ระบบความเข้าใจเรื่องธาตุ ปัจจัยไม่ชัดเจน มีสิทธิ์เข้าฝ่ายสัสต-อุทเฉททิฏฐิ ตามที่ว่าไว้ในอุทยัพพยญาณกถาในปกรณ์ ชื่อว่า วิสุทธิมรรค ครับ

อุปมาเหมือนเด็กประถมปลาย อ่านหนังสือพิมพ์ ย่อมได้แต่ตัวอักษรฉันนั้น ครับ

สาธุ สาธุ สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ