อยากทราบเรื่องจิตกับเจตสิก

 
Guest
วันที่  3 ต.ค. 2556
หมายเลข  23754
อ่าน  2,641

อ้างอิงจากอภิธรรมในชีวิตประจำวัน กล่าวว่า

จิตมี๑๒๑ดวงเป็นยังไง มีอะไรบ้าง

เจตสิก ๕๒ ดวง เกิดร่วมกับจิต เป็นอย่างไร

ทั้งสองทำงานร่วมกันอย่างไร ขอยกตัวอย่างให้เห็นชัดแจ้งด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องมีความเข้าใจในความเป็นจริงของจิต ว่า จิต เป็นธรรมที่มีจริง เป็น

สภาพธรรมที่เป็นนามธรรมไม่ใช่รูปธรรม จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธาน

ในการรู้แจ้งอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใด กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต และ

กิริยาจิต ไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นทางทวารใด หรือ เกิดโดยไม่อาศัยทวารใดเลย

มีลักษณะเดียวคือ มีการรู้แจ้งซึ่งอารมณ์เป็นลักษณะ ที่จิตมีความหลากหลายแตก

ต่างกันไป นั้นเพราะเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย เพราะอารมณ์ต่างกันเป็นต้น จะเห็น

ได้ว่า ชีวิตประจำวัน ไม่เคยขาดจิตเลยแม้แต่ขณะเดียว มีจิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่

ขาดสาย จิตขณะหนึ่งเกิดแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อทันทีเป็น

อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงกาละที่อบรมเจริญปัญญาถึงขั้นที่จะประจักษ์แจ้ง

พระนิพพานดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น ถึงความเป็นพระอรหันต์ เมื่อดับขันธ

ปรินิพพานแล้ว ไม่มีการเกิดอีก ไม่มีจิตเกิดขึ้นอีกเลย เพราะได้ดับเหตุคือกิเลสที่

จะเป็นเหตุให้มีการเกิดได้แล้ว

จิต มีลักษณะเพียงรู้แจ้งซึ่งอารมณ์เท่านั้น กระทำกิจหน้าที่ของตนๆ แล้วก็ดับไป

จิตเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย จิตเป็นสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ได้เกิด

ขึ้นเองลอยๆ เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิกประการต่างๆ เกิดร่วมด้วย และมีอารมณ์

ตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวง ทรงเป็นพระสัพพัญญู คือ รู้ธรรม

ทั้งปวงพระองค์ทรงแสดง จิตที่มีอยู่ในสากลจักรวาลทั้งหมดทั้งจิตของปุถุชน และพระ

อริยะทั้งปวง จิตของสัตว์ใน ๓๑ ภูมิทุกจักรวาล นับแล้ว ไม่นับซ้ำอีกประมวลได้ ๘๙

โดยพิสดาร ๑๒๑ ประเภท จำแนกโดยระดับขั้นมี ๔ ระดับ คือ กามมาวจรจิต ๑ รูปาว

จรจิต ๑ อรูปาวจรจิต ๑ โลกุตตรจิต ๑ จำแนกโดยชาติคือการเกิด มี ๔ คือ กุศลชาติ

๑ อกุศลชาติ ๑ วิปากชาติ ๑ กิริยาชาติ ๑ ฯลฯ

จิต 89 ประเภท คือ

กามาวจรจิต 54 ดวง

รูปาวจรจิต 15 ดวง

อรูปาวจรจิต 12 ดวง

โลกุตตรจิต 8 ดวง

จิต 121 ประเภท คือ

กามาวจรจิต 54 ดวง

รูปาวจรจิต 15 ดวง

อรูปาวจรจิต 12 ดวง

โลกุตตรจิต 40 ดวง

ดังนั้น ที่เพิ่ม จิต จาก 89 เป็น 121 เพราะเหตุว่า เป้นการแยก โลกุตตรจิตโดยละ

เอียดทีเ่กิดพร้อมกับองค์ฌานต่างๆ จาก โลกุตตรจิต 8 เป็น โลกุตตรจิต 40 ครับ

--------------------------------------------------------

เจตสิก หมายถึงสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับ

จิต และสำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต เจตสิกมีมากมายถึง

๕๒ ประเภท มีผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นต้น เป็นจริงแต่ละหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะ

ของตนๆ เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตนๆ แล้วก็ดับไป เจตสิกย่อมเกิดขึ้นกับจิตตาม

สมควรแก่จิตประเภทนั้นๆ

สิ่งที่มีจริงคือเจตสิก จึงหมายถึง สภาพธรรมที่ประกอบกับจิต คือเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน เกิดที่เดียวกัน และรู้อารมณ์เดียวกันกับจิต จึงเป็นสัมปยุตตธรรมซึ่งกันและกัน เพราะเป็นนามธรรมที่สามารถกลมกลืนกันได้อย่างสนิท เจตสิกมี ๕๒ ดวง (ประเภท) จำแนกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ ๓ พวก คือ...

๑. อัญญสมานาเจตสิกมี ๑๓ ดวง เป็นเจตสิกที่เสมอกันกับจิตอื่น คือเกิดกับจิต ชาติใดก็เป็นชาตินั้น อัญญสมานาเจตสิกจึงเกิดได้กับจิตทั้ง ๔ ชาติ ๒. อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตเท่านั้น แต่ก็ยังแยก ประเภท เช่น โลภเจตสิกเกิดได้กับโลภมูลจิต โทสเจตสิกเกิดได้กับโทสมูลจิต โมหเจตสิกเกิดได้กับอกุศลจิตทุกดวง เป็นต้น๓. โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับโสภณจิต ซึ่งโสภณจิตแต่ละ ดวงมีเจตสิกเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง แล้วแต่การประกอบ

--------------------------------------------------

จิต กับ เจตสิก ต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน และ เกิดที่ที่เดียวกัน

ดังนั้น จิต เกิด โดยไม่มีเจตสิกไม่ได้ ต้องอาศัย กัน และ กัน เกิดขึ้น ดั่งเช่น

จิตเห็น ขณะทีเ่ห็นเกิดขึ้น ก็ต้องมีผัสสเจตสิก เกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีการกระทบ

ที่เป็นผัสสเจตสิก ก็ไม่มีการเกิดขึ้นของจิตเห็นเลย หรือ ความติดข้อง ที่เป็น

โลภมูลจิต ถ้าไม่มีโมหเจตสิก ความไม่รู้ ก็คงไม่ติดข้อง เพระาฉะนั้น ก้ต้องมี

เจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ มี โมหเจตสิก ที่ไม่รู้เป็นต้น เกิดร่วมด้วยในขระนั้น ครับ

อุปมาเหมือน การจะเดินไปได้ ก็ต้องอาศัย คนสองคน คือ คนตาบอด กับคน ขา

เปลี้ย คนตาบอดก็อุื้มคนขาเปลี้ย แต่ตาดี คนขาเปลี้ยบอกทาง คนตาบอด ที่อุ้ม

ก็ทำหน้าที่เดินไป ก็อาศัยซึ่งกันและกัน จึงจะเดินไปสู่จุดหมายที่ถูกต้อง จิต เจตสิก

ก็ต้องอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้ ครับ ขออนุโมทนา

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 3 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะตั้งต้นว่า คำที่กล่าวถึงนั้น มีความหมายว่าอย่างไร เพราะ

ทั้ง ๒ คำที่กล่าวถึงนั้น เป็นการแสดงถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ มีจริงๆ ทุกขณะใน

ชีวิตประจำวันด้วย ซึ่งเมื่อยังไม่ได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม ก็จะยังไม่สามารถ

เข้าใจถูกเห็นถูกได้เลย แม้ว่าจะเป็นสภาพธรรมที่มีอยู่จริงๆ

จิตและเจตสิกเป็นนามธรรมและมีสภาพรู้เหมือนกัน แต่จิตทั้งหมดมีกิจเดียว คือ

เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น ส่วนเจตสิกแต่ละประเภทมีกิจรู้

อารมณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ผัสสะ ทำกิจกระทบอารมณ์ เวทนาทำกิจเสวยอารมณ์

สัญญาทำกิจจำอารมณ์วิตกทำกิจตรึกหรือจรดในอารมณ์ ปัญญาทำกิจรู้ทั่ว เป็นต้น

จิต มีความหลากหลายมาก ที่หลากนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเจตสิกธรรมที่เกิด

ร่วมด้วยนั่นเอง เช่น เจตสิกที่เป็นอกุศล มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ปรุงแต่ง

ให้จิตเป็นอกุศล เป็นจิตที่ไม่ดีงาม ในทางตรงกันข้าม ถ้าเจตสิกฝ่ายดี อย่างเช่น

อโลภะ อโทสะ เป็นต้น ก็ปรุงแต่งให้จิตเป็นจิตที่ดีงาม น้อมไปในทางที่ถูกที่ควร

เป็นต้น นี้คือความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ถึงแม้ว่า

เจตสิกจะมีทั้งหมด ๕๒ ประเภท แต่ก็ไม่ได้เกิดพร้อมกันทีเดียวหมดทั้ง ๕๒ ประเภท

ก็ต้องเกิดตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ เจตสิกที่เป็นอกุศล จะเกิดร่วมกับจิตฝ่ายดี

ไม่ได้เลย เจตสิกฝ่ายดีก็จะเกิดกับอกุศลไม่ได้ และบางเจตสิก มีความเสมอกัน

กับจิตประเภทนั้นๆ เช่นเจตนา เจตสิก เกิดกับจิตฝ่ายดี ก็ได้ ฝ่ายไม่ดีก็ได้

ฝ่ายที่เป็นวิบาก ก็ได้ ที่เป็นกิริยา ก็ได้ ซึ่งจะต้องค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูก

เห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ เพราะทุกขณะของชีวิตก็คือ จิตเกิดดับสืบต่อ

กันทีละขณะๆ นั่นเอง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Guest
วันที่ 3 ต.ค. 2556

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 3 ต.ค. 2556

เจตสิก ที่ไม่ดี เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง เจตสิกที่ดี เช่น หิริ โอตตัปปะ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้มาใหม่
วันที่ 4 ต.ค. 2556

อ้างถึง อ.Paderm : จิตเห็น ขณะทีเ่ห็นเกิดขึ้น ก็ต้องมีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีการกระทบที่เป็นผัสสเจตสิก ก็ไม่มีการเกิดขึ้นของจิตเห็นเลย "

ขอเรียนถามว่า

1.จิตเห็น ที่เกิดขึ้นพร้อมกับผัสสเจตสิก คือปัญจทวาราวัชชนะจิตหรือจักขุวิญญาณจิต

2.ถ้าเป็นจักขุวิญญาณจิตแล้วเจตสิกอะไรที่เกิดพร้อมปัญจทวาราวัชชนะจิต

กราบขอบพระคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Suth.
วันที่ 4 ต.ค. 2556

จากความคิดเห็นที่ 1 paderm

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวง ทรงเป็นพระสัพพัญญู คือ รู้ธรรม

ทั้งปวงพระองค์ทรงแสดง จิตที่มีอยู่ในสากลจักรวาลทั้งหมดทั้งจิตของปุถุชน และพระ

อริยะทั้งปวง จิตของสัตว์ใน ๓๑ ภูมิทุกจักรวาล นับแล้ว ไม่นับซ้ำอีกประมวลได้ ๘

โดยพิสดาร ๑๒๑ ประเภท จำแนกโดยระดับขั้นมี ๔ ระดับ คือ กามมาวจรจิต ๑ รูปาว

จรจิต ๑ อรูปาวจรจิต ๑ โลกุตตรจิต ๑ จำแนกโดยชาติคือการเกิด มี ๔ คือ กุศลชาติ

๑ อกุศลชาติ ๑ วิปากชาติ ๑ กิริยาชาติ ๑ ฯลฯ

สงสัยว่า จิตของสัตว์ใน 31 ภูมิทุกจักรวาล นับแล้ว ไม่ซ้ำอีกประมวลได้ ๘ โดยพิสดาร ๑๒๑ ที่กล่าวว่าประมวลได้ ๘ หมายความว่าอย่างไร

กรุณาให้ความกระจ่างด้วยจักขอบคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 5 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

พิิมพ์เลข ๙ ตกไป ต้องเป็น ๘๙ ครับ แก้ไขเรียบร้อยแล้ว ครับ

ขอบพระคุณมาก ครับ อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 5 ต.ค. 2556
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 23754 ความคิดเห็นที่ 5 โดย ผู้มาใหม่

อ้างถึง อ.Paderm : จิตเห็น ขณะทีเ่ห็นเกิดขึ้น ก็ต้องมีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีการกระทบที่เป็นผัสสเจตสิก ก็ไม่มีการเกิดขึ้นของจิตเห็นเลย "

ขอเรียนถามว่า

1.จิตเห็น ที่เกิดขึ้นพร้อมกับผัสสเจตสิก คือปัญจทวาราวัชชนะจิตหรือจักขุวิญญาณจิต

2.ถ้าเป็นจักขุวิญญาณจิตแล้วเจตสิกอะไรที่เกิดพร้อมปัญจทวาราวัชชนะจิต

กราบขอบพระคุณมากครับ

1.จิตเห็นที่เกิดพร้อมกับผัสสเจตสิก ก็คือ จิตเห็น ไม่ใช่ จิตอื่น ครับ

2.ปัญจทวาวารวัชนจิต มีเจตสิกิเกิดร่วมด้วยมากมาย เช่น สัพพจิตสาธารณะเจตสิก

มีผัสสะ เวทนา สัญญา เอกัคคตตาเจตสิก เป้นต้น และ ปิกณณกเจตสิกด้วย ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Suth.
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ขอบคุณครับ

ผมไม่ได้เพ่งเล็งจับผิด แต่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ผมยังไม่รู้เรื่องจิต ๘

และผมก็ไม่ได้เฉลียวใจว่าพิมพ์ตก

ด้วยความสัจจริงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ผู้มาใหม่
วันที่ 6 ต.ค. 2556

กราบขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Suth.
วันที่ 7 ต.ค. 2556
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 23754 ความคิดเห็นที่ 9 โดย Suth.

ขอบคุณครับ

ผมไม่ได้เพ่งเล็งจับผิด แต่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ผมยังไม่รู้เรื่องจิต ๘

และผมก็ไม่ได้เฉลียวใจว่าพิมพ์ตก

ด้วยความสัตย์จริงครับ (แก้ไขข้อความคำว่า สัตย์จริ ง)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ