เรียนถามเรื่อง ธรรมตัณหา

 
pdharma
วันที่  5 ก.ย. 2556
หมายเลข  23520
อ่าน  1,379

เนื่องจากยังมีบางประเด็นที่ยังไม่เข้าใจ จึงใคร่ขอเรียนถามดังนี้

๑. ธรรมตัณหา ไม่เป็นกุศลและอกุศล แต่เป็นอัพยากตธรรม ใช่หรือไม่

๒. อยากขอตัวอย่างของธรรมตัณหา ที่เป็นอัพยากตธรรม เช่น

- ก่อนนอนสวดมนต์ อธิษฐานขอให้บรรลุโสดาบันในชาตินี้ เป็นธรรมตัณหาหรือไม่

- อยากฟังธรรม อยากอ่านพระไตรปิฎก เพราะศรัทธา เป็นธรรมตัณหาหรือไม่

๓. ธรรมตัณหา มีวิบากหรือไม่ ถ้ามีเป็นอย่างไร

ขอขอบพระคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑.ประโยชน์ คือ เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง เพราะธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงๆ

แม้จะไม่ใส่ชื่อ ไม่เรียกชื่อ ธรรมก็เป็นจริง ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น แม้แต่

ตัณหา ก็เช่นเดียวกัน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นความติดข้องต้องการ

เป็นไปมากในชีวิตประจำวัน เพราะตราบใดก็ตามที่ยังไม่ดับตัณหาอย่างหมดสิ้น

เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย ก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เป็นธรรม ไม่ใช่เรา พระสัมมาสัมพุทธ

เจ้า ทรงแสดงตัณหา หลายนัย เช่น นัยที่เป็นตัณหา ๓ กามตัณหา (ความติดข้อง

ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ภวตัณหา (ความติดข้องยินดีพอใจ

ในภพ, ความติดข้องที่เป็นไปกับความเห็นผิดว่าเที่ยง) และวิภวตัณหา (ความติด

ข้องที่เป็นไปกับความเห็นผิดว่าขาดสูญ) โดยนัยที่เป็นตัณหา ๖ ได้แก่ รูปตัณหา

(ติดข้องในรูป) สัททตัณหา (ติดข้องในเสียง) คันธตัณหา (ติดข้องในกลิ่น)

รสตัณหา (ติดข้องในรส) โผฏฐัพพตัณหา (ติดข้องในสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย) และ

ธรรมตัณหา

ธรรมตัณหา นั้น มุ่งหมายถึงความติดข้องในอย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากรูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ธรรมตัณหา เป็นอกุศล เท่านั้น ครับ

๒. -อธิษฐานขอให้ได้เป็นพระโสดาบัน ย่อมไม่พ้นไปจากความอยาก ความต้อง

การ เป็นธรรมตัณหา น่าพิจารณาว่าเหตุกับผล ตรงกันหรือไม่เพราะการเป็นพระโสดาบัน

เป็นไปด้วยปัญญา ด้วยการดำเนินตามหนทางที่ถูกต้อง คือ การอบรมเจริญมรรค

มีองค์ ๘ มี ความเห็นถูก เป็นต้น ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว ไม่สามารถจะเป็นพระโสดาบัน

ได้เลย

-ประเด็น อยากฟังธรรม อยากอ่านพระไตรปิฎก เพราะศรัทธา นั้น ขึ้นอยู่กับ

สภาพจิตเป็นสำคัญ ไม่ใช่เพียงคำพูดเท่านั้น ว่า"อยากฟังธรรม อยากอ่านพระ

ไตรปิฎก เพราะมีศรัทธา" มุ่งที่จะฟัง ที่จะศึกษา ที่จะอ่าน เพื่อความเข้าใจถูก

ขัดเกลาความไม่รู้ นั่น ไม่ใช่ตัณหา แต่เป็นกุศลฉันทะ ที่ใฝ่ใจพอใจที่จะศึกษา

พระธรรม แต่ถ้าอยากจะอ่าน อยากจะศึกษา เพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น เพื่อให้คน

อื่นชื่นชมว่าเป็นคนศึกษาธรรม เพื่อลาภ สักการะ เป็นต้น นั้น ไม่ใช่กุศลอย่าง

แน่นอน แต่เป็นอกุศล อยากอ่าน อยากศึกษา ด้วยความต้องการเป็นไปกับ

อกุศล นั่นเป็น ธรรมตัณหาอย่างแน่นอน

ข้อความจาก ปราภวสูตร แสดงว่า "ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดธรรม

เป็นผู้เสื่อม” น่าพิจารณาที่เดียว่า คำว่า ใคร่ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความติดข้อง

ต้องการอย่างโลภะ แต่เป็นความพอใจ เป็นความปรารถนา เป็นความประสงค์

ที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมแล้วน้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ส่วนผู้ที่

ประมาทมัวเมา กระทำแต่อกุศลกรรม ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้สะสมปัญญาเลย

ย่อมเป็นผู้เสื่อม เสื่อมจากกุศลธรรมทุกๆ ประการ

ถ้าเป็นผู้มีจุดประสงค์ที่ถูกต้องในการศึกษาพระธรรมว่า ศึกษาเพื่อความเข้าใจ

ถูก เห็นถูกจริงๆ เพราะเข้าใจว่าเต็มไปด้วยความไม่รู้ คือ อวิชชาที่ได้สะสมมาอย่าง

ยาวนานในสังสารวัฏฏ์ ถ้าไม่เริ่มฟัง ไม่มีฉันทะ ไม่มีความปรารถนาที่จะฟัง

พระธรรมในแนวทางที่ถูกต้อง เลย ความเข้าใจถูก ก็จะเจริญขึ้นไม่ได้ นับวันมี

แต่จะพอกพูนความไม่รู้ให้เพิ่มขึ้นต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้จึงฟัง จึงศึกษา เพื่อละคลาย

ความไม่รู้ อย่างนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา

และกุศลธรรมประการอื่นๆ แต่ถ้าตั้งจิตไว้ผิด ศึกษาเพื่ออย่างอื่น กล่าวคือ ศึกษา

เพื่อลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ เพื่อเก่ง หรือ รู้ชื่อเยอะๆ เป็นต้น อย่างนี้ไม่ถูก

ต้อง เป็นการศึกษาเพื่อทำร้ายตัวเองอย่างเดียว เพราะเพิ่มกิเลส เพิ่มความ

สำคัญตนให้มากขึ้น

๓. ถ้าเป็นเพียงความติดข้อง โดยไม่มีการล่วงเป็นทุจริตกรรม ก็เป็นการสะสมความ

ติดข้อง อย่างนี้ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากในภายหน้า แต่ถ้าล่วงเป็นทุจริตกรรม ก็เป็น

เหตุให้เกิดวิบากในภายหน้าได้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 6 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ธรรมตัณหา ไม่เป็นกุศลและอกุศล แต่เป็นอัพยากตธรรม ใช่หรือไม่

ตัณหา เป็นสภาพธรรมที่ติดข้อง ยินดีพอใจ ซึ่งก็คือ โลภเจตสิก ที่เป็นอุกุศลธรรม

ซึ่ง ในความเป็นจรงแล้ว พระพุทธเจ้าทรงแสดงตัณหา ความติดข้อง ในสภาพธรรม

ต่างๆ มากมาย เพราะ ตัณหา ที่เป็นโลภะ ติดข้งได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ในทวารทั้ง 6

ยกเว้นไว้แต่ โลกุตรรธรรม 9 ที่เป็น มรรคจิต 4 และ ผลจิต 4 รวมทั้งพระนิพพาน

เปรียบดั่งเช่น แมลงวัน ไม่สามารถเกาะก้อนเหล็กแดงๆ ได้ ตัณหา ก็ไม่สามารถ

ติดข้อง สภาพธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรมได้ ครับ หากแต่ว่า ตัณหา เป็นสภาพธรรม

ที่แผ่ซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลาย ซึ่ง อารมณ์ทั้งหลาย ท่านเรียว่า บิดา เมื่อบิดา

มีบุตร ก็ตั้งชื่อตาม บิดา เช่น บิดา เป็นเศรษฐี ก็ตั้งชื่อ บุตรเศรษฐี เมื่อตัณหาเกิดขึ้น

ในอารมณ์ใด ก็ตั้งชื่อ ตาม อารมณ์นั้น ยกตัวอย่างเช่น รูปตัณหา คือ ตัณหา คือ

ตัณหานั้น มีรูป คือ สภาพธรรมที่ปรากฎทางตา ที่เป็น สี เป็นอารมณ์ อย่างเช่น

ในขณะนี้ กำลังเห็น แม้ ยังไม่เห็น เป็นใคร เป็นสัตว์ บุคคลเลย แต่ก็ติดข้องแล้ว

ในสภาพธรรมที่เป็นเพียงสีเท่านั้น นี่แสดงถึงความรวดเร็ว และ แผ่ซ่านไปของ

สภาพธรรมที่เป็น ตัณหา โลภะ ว่าติดข้องเพียง รูป ที่เป็นเพียงสีที่ปรากฎเท่านั้น

แม้ เสียง ก็โดยนัยเดียวกัน ที่เป็นสัททตัณหา กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส และ

ธรรมตัณหา ที่เป็นสภาพธรรมที่เป็นทั้งนามธรรม และ รูปธรรมที่เป้นอารมณ์ของ

ตัณหา ที่เป็นที่ตั้งให้ติดข้องได้ ยกตัวอย่างเช่น แม้ กุศลจิตที่เกิดขึ้น ก็ยินดีพอใจ

อยากให้เกิดอีก ขณะนั้น มี ธรรม คือ กุศลจิต เป้นอารมณ์ ของ ตัณหา เป็นความ

ติดข้องในสภาพธรรมที่เป็นกุศลจิต จึงเรียกว่า ธรรมตัณหา แต่ ตัณหา ไม่สามารถ

ติดข้องในธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม อีตัวอย่างหนึ่ง ความสุข เวทนาทีเกิดขึ้น ทุกคน

ก็อยากมีความสุข ขณะที่อยาก ยินดีพใจ ในความสุขที่เกิดขึ้น หรือ แสวงหาด้วย

ความต้องการ ขณะนั้น เป็นธรรมตัณหา คือ เกิด ความติดข้องในสภาพธรรมที่เป็น

นามธรรม ที่เป้นความสุขในขณะนั้น ครับ และ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธรรมตัณหา

เพื่อแสดงความละเอียดของตัณหาลงไปอีกครับว่า ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง เมื่อ

ยินดีพอใจ ในความสุข ในกุศล แม้ยินดีพอใจในอกุศลก็ได้ แล้ว ก็ยินดีพอใจที่เป็น

ในกามตัณหา และ ยังยิดีพอใจในอารมณ์นั้น ด้วยความเห็นผิด ที่สำคัญว่า เที่ยง

สำคัญว่า สุข ความสุขนั้นเที่ยง ไม่เกิดดับ ยั่งยืน (ภวตัณห่า) และ สำคัญด้วยความ

เห็นผิดว่าขาดสูญ คือ ยินดีพอใจในความสุขว่า จบแล้ว จบเลย ไม่เกิดอีก เป็นต้น

ที่เป็น วิภวตัณหา จึงเป็นการแสดง ธรรมตัณหา อีก 3 นัย คือ โดยความเป็นกาม

ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมือ่รวมกับความติดข้องใน 6 ประการแรก คือ

รูปตัณหา (ติดข้องในรูป) สัททตัณหา (ติดข้องในเสียง) คันธตัณหา (ติดข้องในกลิ่น)

รสตัณหา (ติดข้องในรส) โผฏฐัพพตัณหา (ติดข้องในสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย) และ

ธรรมตัณหา ซึ่ง ทั้ง 6 ประการ แต่ละข้อ ก็ยังแยกเป็น 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา จึงรวมเป็นตัณหา 18 และ ยังเป็นในรูปภายใน อีก18 รูปภายนอก อีก

เป็น 36 และเป็นไปในอดีต ปัจจุบันและอนาคต จึงเป็น ตัณหา 108 ที่เรามักได้ยิน

กันก็มาจาก ตัณหาเหล่านี้เอง

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ตัณหา จะแบ่งเป็นมากมายอย่างไรก็เป็นสภาพธรมที่ไม่ดี

ที่เป็นอกุศลธรรม ไม่ใช่ อัพยากตธรรม เป็นสภพาธรรมที่ติดข้อง และเป็น สมุทัย

เป็นเหตุแห่งทุกข์ประการทั้งปวง ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

๒. อยากขอตัวอย่างของธรรมตัณหา ที่เป็นอัพยากตธรรม เช่น

- ก่อนนอนสวดมนต์ อธิษฐานขอให้บรรลุโสดาบันในชาตินี้ เป็นธรรมตัณหาหรือไม่

ขอด้วยความติดข้องต้องการ อยาบรรลุธรรม เป็น ธรรมตัณหา ด้วยเหตุที่ว่า

เป้นความติดข้อง ในสมมติบัญญัติ ที่เป้นเพียงแม้ชื่อว่า เป็นพระโสดาบัน เพราะ

ยังไม่ได้ถึงความเป็นพระโสดาบันจริงๆ จึงเกิดความตอ้งการที่จะบรรลุ แต่ สำคัญ

ที่ว่า จะขอ หรือ ไม่ขอ จะอยาก หรือ ไม่อยาก สำคัญที่เหตุ คือ การศึกษาพระธรรม

อบรมปัญญา หากเหตุถูกต้องแล้ว จะขอ หรือ ไม่ขอ จะอยาก หรือ ไม่อยากก็บรรลุ

ธรรม ครับการจะบรรลุธรรม ต้องเริ่มจากความเข้าใจถูก จะหวังหรือไม่หวังก็ตามหาก

เหตุถูกคือเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา โดยเริ่ม

จากการฟังให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าธรรมคืออะไร จะหวังหรือไม่หวังก็บรรลุธรรม

เพราะเหตุถูก แต่หากเข้าใจผิด เข้าใจหนทางผิด จะหวังหรือไม่หวังก็ตามก็ไม่สามารถ

บรรลุธรรมได้ จึงต้องกลับมาที่เหตุ คือความเข้าใจถูกเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ดังข้อควา

มในพระไตรปิฎกที่แสดงว่าหวังหรือไม่หวัง หากเหตุผิดก็ไม่สามารถบรรลุธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒-หน้าที่ 103

[๔๑๑] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการนมสด แสวงหานมสด จึง

เที่ยวเสาะหานมสด แต่รีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน ถ้าแม้ทำความหวังแล้วรีดเอาจาก

เขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วรีดเอาจาก

เขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด ถ้าแม้ ทำทั้งความหวังและความไม่หวัง

แล้วรีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด ถ้าแม้ทำความหวังก็

มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วรีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด

นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะได้นมสดโดยวิธีไม่แยบคาย

ฉันใด ดูก่อนภูมิชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฏฐิ

ผิด ฯลฯ มีสมาธิผิด (เข้าใจหนทางผิด) ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็

ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่

สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์

เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติ

พรหมจรรย์เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่

สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

- อยากฟังธรรม อยากอ่านพระไตรปิฎก เพราะศรัทธา เป็นธรรมตัณหาหรือไม่

หากเป็นไปเพราะ ศรัทธา ย่อมไม่อยาก ไม่ติดข้อง ก็ไม่เป้นธรรมตัณหา เพราะ

มี ฉันทะ พอใจ ใครที่จะฟัง สนใจพระธรรม แต่ ถ้าอยากด้วยความติดข้อง เมื่อ

ไมได้ฟัง ย่อมเดือดร้อน ไม่พอใจ ก็เป็นเหตุมาจากความติดข้อง ยินดีพอใจ ใน

การได้ฟัง ก็เป็นธรรมตัณหา แต่ หากยินดีพอใจ ในเสียงที่เป้นเสียงธรรม ก็ไม่ใช่

ธรรมตัณหา แต่เป็น สัททตัณหา ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

๓. ธรรมตัณหา มีวิบากหรือไม่ ถ้ามีเป็นอย่างไร

ธรรมตัณหา หากเข้าใจโดละเอียดก็คือ การเกิดความติดข้องในสภาพธรรมที่กำลังมี

ในชีวิตประจำวัน ซึ่ง ขณะที่ติดข้องมาก จนเป็นเหตุให้มีการฆ๋าสัตว์ ลักทรัพย์

ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ และ ดื่มสรา เป้นต้น ยอ่มทำให้เกิดวิบาก คือเกิดผลได้

เป็นธรรมดา ครับ แต่ ถ้า ไม่ถึงขนาดล่วงศีล ก็สะสมให้เป้นผู้ที่มีอุปนิสัยติดข้องมาก

ขึ้นนั่นเอง ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pdharma
วันที่ 7 ก.ย. 2556
๑. "เหตุกับผล ตรงกันหรือไม่เพราะการเป็นพระโสดาบัน เป็นไปด้วยปัญญา ด้วยการดำเนินตามหนทางที่ถูกต้อง คือ การอบรมเจริญมรรคมีองค์ ๘" (khampan.a) ๒. การศึกษาพระธรรม อบรมปัญญา หากเหตุถูกต้องแล้ว จะขอ หรือ ไม่ขอ จะอยาก หรือ ไม่อยากก็บรรลุธรรม (paderm) ประเด็นคำถามมาจาก ได้ฟังเรื่องธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา กถาวัตถุปกรณ์ ที่ถามตอบกันแบบ สกวาทีและปรวาที แล้วไม่ค่อยเข้าใจ (เนื่องจากไม่ได้ศึกษาต่อจากอรรถกถา) แต่เมื่อได้อ่านคำตอบของท่านทั้งสองข้างต้นแล้วทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณอย่างสูง และขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ