สมานฉันท์ สร้างสรรค์ชาติไทย

 
fouron
วันที่  7 ส.ค. 2556
หมายเลข  23312
อ่าน  2,097

สมานฉันท์ สร้างสรรค์ชาติไทย หากจะอธิบายในแนวทางของพระพุทธศาสนาจะอธิบายอย่างไรดีครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สมานฉันท์ ก็คือ ความสามัคคีกัน ซึ่งในทางพระพุทธศาสนา ก็ไม่พ้นจากสภาพ

ธรรมที่มีจริงที่เป็น จิต เจตสิก ที่ไม่ใช่เรา สมานฉันท์ ไม่ใช่เรา สามัคคี แต่ เป็น

การเกิดขึ้นของธรรมฝ่ายดี คือ จิต เจตสิกที่ดี ที่เป็นความสามัคคี ซึ่ง ก็คือ ความ

มีเมตตา เพราะ ผู้ที่จะสามัคคีกัน ก็จะต้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ด้วย จิตที่คิดดี

ต่อกัน ด้วยความเมตตา หวังดีต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้น จะมีความสามัคคีได้ ก็จะต้อง

เริ่มจากตนเอง ที่จะเป็นผู้คิดดี หวังดีต่อผู้อื่น เริ่มจากคนใกล้ตัว ยังไม่ต้องไปถึง

สัมคมภายนอก สังคมบ้านเมืองที่กว้างใหญ่ ขณะนี้ อยู่กับ บิดา มารดา พี่น้อง และ

เพื่อนร่วมงาน ควรเริ่มจากจุดนี้ที่จะหวังดี มีเมตตา เกื้อกูลกัน ขณะนั้น ก็เป็นการ

เริ่มที่ถูกต้อง ที่จะมีความสามัคคีในกลุ่มเล็ก มีเมตตาในกลุ่มเล็ก ก็จะสามารถมี

ความสามัคคีในกลุ่มใหญ่ได้ แต่สำคัญที่จะต้องเริ่มจากตนเองเป็นสำคัญ ครับ

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ความสามัคคี ก็เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ที่เป็นความหวังดี

มีเมตตา ซึ่ง เมตตา ความหวังดี จะมีมากขึ้น เกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการเจริญขึ้นของ

ปัญญา เพราะเมื่อมีปัญญา ย่อมคิดถูก คิดที่จะให้อภัย คิดที่จะหวังดี สามัคคี

เป็นหนึ่งเดียว ซึ่ง ปัญญาจะมีได้ก็ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระรรมเป็นสำคัญ ครับ

การสร้างสรรค์ชาติ สร้างสรรค์ ก็ต้องสิ่งที่ดี จึงจะทำให้เกิดสิ่งที่ดีที่เรียกว่าสร้าง

สรรค์ได้ อกุศลธรรม ความไม่ดี มีโลภะ โทสะ โมหะ ไม่สามารถสร้างสรรค์ชาติ

ได้ เพราะ ชาติ ที่แท้จริง คือ ชาติ หมายถึง การเกิด การเกิดของอะไร ชาติ คือ

การเกิดของ จิต เจตสิก อกุศลจิตเกิดขึ้น ชาติ การเกิดนั้นไม่ดี ไม่ได้สร้างสรรค์

ชาติ เพราะ อกุศลนำสิ่งไม่ดีมาให้ แต่ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด สร้างสรรค์ชาติแล้ว

คือ ชาติของจิตของตนเองทีเ่กิดขึ้นในขณะนั้น เพราะกุศลย่อมนำสิ่งที่ดี สร้างสรรค์

ให้เจตสิกที่ดีอย่างอื่น มีศรัทธา หิริ ความละอาย และ โอตตัปปะ เกรงกลัวต่อบาปใน

ขณะนั้น

เพราะฉะนั้น การสร้างสรรค์ชาติ ไม่ได้อยู่ไกลเลย ขณะนี้เอง ขณะจิตทีเ่กิดขึ้น

ของแต่ละคน แต่ละจิต จิตที่ไม่ดี ไม่สร้างสรรค์ชาติ คือ จิตของตนเอง และ ต่อ

ส่วนรวม แต่ ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น สร้างสรรค์ชาติ คือ จิตของตนเอง และ ต่อส่วน

รวม ดังนั้น การเป็นคนดีแต่ละหนึ่งขณะ ก็ช่วยชาติ แล้วในขณะนั้น โดยเฉพาะ การ

ที่แต่ละคนมีความเข้าใจพระธรรม ปัญญาทีเ่กิดขึ้น ชื่อว่า สร้างสรรค์ชาติได้

สร้างสรรค์ประเทศได้ดีที่สุด ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Guest
วันที่ 7 ส.ค. 2556

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 8 ส.ค. 2556
ขอนบอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถ้าแต่ละคน เป็นคนดี ก็สามัคคีกันทำความดี เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร แต่ถ้า เป็นคนไม่ดีแล้ว ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง แทนที่จะทำดีก็ไม่ได้ทำดี แต่กลับพร้อม ใจกันทำในสิ่งที่ไม่ดี เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ของใครทั้งสิ้น

แต่ละบุคคลมีการสะสมมาที่แตกต่างกัน ความคิด การกระทำและคำพูด

จึงแตกต่างกันออกไปตามการสะสม มีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี ด้วยกันทั้งนั้น ไม่

ว่าจะเป็นใครก็ตาม ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็ไม่มีตัวตนสัตว์บุคคลเลย มีแต่

ความเป็นไปของสภาพธรรม กล่าวคือ นามธรรม กับ รูปธรรม เท่านั้น ที่สำคัญ

เราไม่ได้อยู่ในโลกนี้เพียงคนเดียว อยู่รวมกันหลายคน ทั้งเขาทั้งเราก็มีส่วนที่ไม่ดี

ด้วยกันทั้งนั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ถึงการดับกิเลสได้ทั้งหมด จึงควร

อย่างยิ่งที่จะเห็นใจคนที่มีกิเลสด้วยกัน ยิ่งถ้ามีการไตร่ตรองพิจารณา เข้าใจในเหตุ

ในผลของธรรมจริงๆ ก็จะมีความเข้าใจ มีความเห็นใจแล้วมีเมตตาในบุคคลนั้นๆ ได้

และควรที่จะพิจารณาว่า การที่บุคคลนั้นจะมีความเห็นและพฤติกรรมที่ไม่ดีอย่างนั้น

ได้ ต้องมีเหตุมีปัจจัยที่ทำให้เขาเป็นอย่างนั้น เมื่อเขาเป็นอย่างนั้นแล้วเราก็ควรที่

จะเข้าใจเห็นใจ แล้วก็ช่วยแก้ไขเท่าที่สามารถจะช่วยได้ ตามกำลังปัญญาของตนเอง

ย่อมจะเป็นประโยชน์ เป็นการเกื้อกูลกันประคับประคองให้ตั้งอยู่ในคุณความดี

ข้อที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง คือ แต่ละคนเกิดมาแล้ว ก็จะต้องละจากโลกนี้ไป

ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมี ยากจน เป็นต้น ล้วนต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตาย

ด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งไม่สามารถจะทราบได้ว่าจะเป็นเมื่อใด สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งได้จริงๆ ไม่ใช่

ทรัพย์สินเงินทอง ไม่ใช่บริวารพวกพ้อง (เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถติดตามไปในภพ

หน้าได้) แต่ต้องเป็นความดี ที่สะสมไว้ตั้งแต่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น แต่แต่ละ

หนึ่งคิดได้อย่างนี้ ต่างคนต่างเป็นคนดี มีเมตตาต่อกัน เกื้อกูลซึ้งกันและไม่ ไม่ประทุษ

ร้ายกันด้วยกาย ด้วยวาจา เป็นต้น ประเทศนั้นก็เป็นประเทศที่น่าอยู่ เพราะมีแต่คนดี

คนดี ก็มีแต่คิดดี พูดดี ทำดี ไม่ว่าจะเป็นใคร เพศใด ฐานะตำแหน่งอะไร ก็ตาม ครับ

ได้ฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ตอนหนึ่ง ข้าพเจ้า

ให้ชื่อหัวข้อนี้ว่า "เพราะเข้าใจความจริงจึงไม่หวั่นไหว" เป็นเครื่องเตือนใจที่ดี

ดังนี้ ครับ

"แต่ละคนก็แต่ละอัธยาศัย เราต้องอยู่ร่วมกับคนมากมายหลายอุปนิสัย แล้วเรา จะไปกังวลอะไรกับการที่จะไปแก้ไขคนอื่น แต่ว่าถ้าเราสามารถจะเข้าใจทุกคนได้ว่า ไม่มีใครเลยที่อยากจะเป็นคนไม่ดี หรืออยากจะโกรธหรืออยากจะมีกาย วาจา ที่ไม่ดี แต่ทุกอย่างที่เกิด เป็นการสะสม เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นเพื่อนแล้วเราก็อยู่ร่วม กับคนหลายคน แต่ถ้าเราระลึกถึงธรรมและรู้ความจริง เราก็จะรู้ว่า แท้ที่จริงก็คือ ทั้งหมดจะเป็นมิตรหรือเป็นศัตรูหรือเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏก็เพียงชั่วขณะที่เห็นแล้ว ก็เกิดความคิดเห็นต่างๆ แล้วแท้ที่จริงก็เป็นแต่เพียงจิต เจตสิก รูปทั้งหมดแล้วก็ใส่ ชื่อเข้าไป โลภะเกิดเราก็ใส่ชื่อคนโน้นคนนี้ แต่ความจริงลักษณะของโลภะเกิด กับใครก็เป็นโลภะ ก็ควรที่เห็นโลภะแทนที่จะเห็นคนนั้นคนนี้ จะมีการกระทำของ หลายๆ คน ทางกาย ทางวาจา ซึ่งถ้าเราไม่เข้าใจ เราก็จะขุ่นเคือง แต่ถ้ารู้่ว่าก็เป็น เพียงจิต เจตสิกรูป ชั่วขณะ แล้วก็ดับหมด ก็คงจะไม่หวั่นไหว" ....กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง ครับ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 8 ส.ค. 2556

ความสามัคคี คือ ความปรองดอง รักใคร่ เมตตาต่อกัน กลมเกลียว มีอะไร

ช่วยเหลือกัน มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
j.jim
วันที่ 9 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ