อาพาธสูตร ว่าด้วยทรงแสดงสัญญา ๑๐ ประการแก่พระคิริมานนท์ผู้อาพาธ

 
khampan.a
วันที่  29 ก.ค. 2556
หมายเลข  23266
อ่าน  1,081

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕- หน้าที่ ๑๙๐

๑๐. อาพาธสูตร

(ว่าด้วยทรงแสดงสัญญา ๑๐ ประการแก่พระคิริมานนท์ผู้อาพาธ)

[๖๐] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชต-

วัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น

แล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นแล

ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ

ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว

กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานนท์ภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมา-

นนท์ภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ประการนั้น

เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑

อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราค

สัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุ-

อนิจจสัญญา ๑ อานาปานัสสติ ๑.

ดูก่อนอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อม

พิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขาร

ทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่

เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้

เรียกว่าอนิจจสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็ อนัตตสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อม

พิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา

เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รส

เป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฎฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา

ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาในอายตนะ

ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้

ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป

เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มี

ประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก

เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย

อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา

เปลวมัน น้ำลา น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ

ไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อม

พิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธ

ต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรค

กาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรค

ไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด

โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ

โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคิดทะราด หูด โรคละออง

บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง

โรคริดสีดวง อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน

อาพาพีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่

การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธ

อัน เกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ

ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษ

ในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป

ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ

ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาท

วิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมด

สิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี

ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่ง

อกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนอานนท์

นี้เรียกว่า ปหานสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ

ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรม

เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลส

และกองทุกข์ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า วิราคสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อม

พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ

ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรม

เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับ

กิเลสและกองทุกข์ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละอุบาย และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือ

มั่น และเป็นอนุสัจแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น ดูก่อนอานนท์ นี้

เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่

สังขารทั้งปวง ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่ง

คู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจ

ออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว

หรือเนื้อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า

หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสิ้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมศึกษา

ว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า

จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร

(ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ

หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา) หายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่าจักระงับ

จิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อม

ศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจ

เข้า ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักยัง

จิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก ย่อม

ศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณา

เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณา

เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณา

เห็นโดยด้วยคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น

โดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดย

ความดับสนิทหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความ

ดับสนิทหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืน

หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจ

เข้า ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อานาปานัสสติ.

ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการ

นี้แก่คิริมานนท์ภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนท์ภิกษุจะพึงสงบระงับ

โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ใน

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่

ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์ ครั้งนั้นแล

อาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา

๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แล อาพาธนั้น

เป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้แล้วด้วยประการนั้นแล.

จบอาพาธสูตรที่ ๑๐

จบสจิตตวรรคที่ ๑

อรรถกถาอาพาธสูตรที่ ๑๐

อาพาธสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุกมฺป อุปาทาย ได้แก่ ทรงอาศัยความเอ็นดูในพระคิริ-

มานนท์เถระ. พึงทราบโรคทั้งหลาย มีโรคตาเป็นต้นด้วยอำนาจวัตถุ

จริงอยู่ ธรรมดาว่าผู้บังเกิดความเลื่อมใสแล้ว ไม่มีโรค. บทว่า กณฺณ-

โรโค ได้แก่ โรคหูส่วนนอก. บทว่า ปินาโส ได้แก่โรคจมูกส่วนนอก.

บทว่า รขสา ได้แก่โรคในที่ใช้เล็บขีด. บทว่า ปิตฺตสมุฏฺานา ได้แก่

อาพาธที่เกิดจากดี. เขาว่า อาพาธเหล่านั้นมี ๓๒ อย่าง. ถึงในอาพาธ

ที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อุตุปริณามชา ได้แก่

โรคที่เกิดด้วยร้อนจัดเย็นจัด เพราะเปลี่ยนฤดู. บทว่า วิสมปริหารชา

ได้แก่ อาพาธที่เกิดด้วยกายบริหารอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ มียืนนั่งนานเกิน

ไปเป็นต้น. บทว่า โอปกฺกมิกา ได้แก่อาพาธที่เกิดด้วยความพยายาม

เปิดเป็นของผู้อื่นมีการฆ่าฟัน, จองจำ เป็นต้น. บทว่า กมฺมวิปากชา

ได้แก่ อาพาธที่เกิดจากวิบากของกรรมที่มีกำลัง. บทว่า สนฺต ได้แก่ คุณ-

ชาตที่ชื่อว่าสันตะ เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้นสงบ. ชื่อว่าปณีตะ เพราะ

อรรถว่าไม่เดือดร้อน. คำที่เหลือทุกแห่ง มีใจความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอาพาธสูตรที่ ๑๐

จบสจิตตวรรคที่ ๑


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ