อะไรนิพพาน ?

 
Pure.
วันที่  9 ก.ค. 2556
หมายเลข  23152
อ่าน  1,069

_ดั่งได้ยินได้ฟังมาว่านิพพานมิใช่อยู่ที่จิตจริงหรือ?

_แล้วกิเลสละหมดไปจากไหน?

_แล้วอะไรละนิพพาน?

_รูปและนามอะไรขึ้นอยู่กับจิต?

ขอบคุณ อนุโมทนาบุญตรับอาจารย์.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

_ดั่งได้ยินได้ฟังมาว่านิพพานมิใช่อยู่ที่จิตจริงหรือ?

นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป คือ เป็นสภาพธรรมที่ปราศจาก จิต เจตสิก รูป ไม่มีอะไรปรุงแต่งเลย

นิพพาน จึงไม่ใช่อยู่ที่จิต แต่ นิพพาน เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ได้ ครับ การรู้ ไม่ได้หมายถึง สิ่งที่ถูกรู้จะต้องอยู่ในนั้น ยกตัวอย่าง การเห็น เห็นมีจริงเป็นสภาพรู้ จะต้องมีสิ่งที่ ถูกจิตเห็นรู้ คือ สี ดังนั้น ตัวสีเอง ไม่ได้อยู่ในจิต แต่ สี ก็เป็นรูปต่างหากที่แยกออก มาจากจิต แต่ก็เป็นอารมณ์ของจิตได้ คือถูก จิตเห็นรู้ได้ ครับ โดยนัยเดียวกัน พระนิพพาน ก็เป็นอารมณ์ของจิตได้ แต่ พระนิพพาน ไม่ได้อยู่ที่จิต ครับ

_แล้วกิเลสละหมดไปจากไหน?

กิเลส หมดได้ เพราะ อาศัยปัญญา และ สภาพธรรมที่ดีอย่างอื่น มี สติ เป็นต้น เกิดร่วมด้วย ในขณะที่จิตเป็นระดับโลกุตตระ ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ขณะนั้น ดับกิเลส ที่สะสมไว้ในจิตใจ ครับ

_แล้วอะไรละนิพพาน?

ไม่มีอะไรละนิพพาน แต่ เจตสิกคือ ปัญญารู้นิพพาน และ จิตรู้นิพพาน ครับ เพราะสภาพธรรมที่ควรละ ไม่ใช่พระนิพพาน แต่เป็นกิเลสประการต่างๆ สมดัง อริยสัจ 4 ที่ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ โลภะ สมุทัย ควรละ พระนิพพานควรทำให้แจ้ง ซึ่งก็ด้วยปัญญา และ จิตที่ประกอบด้วยปัญญา และ อริยมรรค ควรเจริญ ครับ

_รูปและนามอะไรขึ้นอยู่กับจิต?

รูป คือ สภาพธรรมที่มีจริง ที่ไม่รู้อะไรเลย นาม คือ สภาพธรรมที่รู้ ที่เป็น จิต เจตสิก ดังนั้น สภาพะรรมก็เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของสภาพธรรม ดังนั้น รูป และ นาม ก็ไม่ได้ขึนอยู่กับจิต แต่เกิดร่วมกับจิตได้ และ เป็นปัจจัยให้เกิดจิตได้ ครับ เช่น เจตสิกก็เป็นปัจจัยให้เกิดจิต เป็นต้น ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Lamphun
วันที่ 10 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 10 ก.ค. 2556

ขอบอมน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระนิพพานเป็นสภาพที่มีจริงๆ แต่ไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาพธรรมที่ปราศจากทุกข์ ปราศจาก กิเลส ตรงกันข้ามกับสภาพธรรมที่เกิดดับคือ จิต เจตสิก รูป อย่างสิ้นเชิง พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับ จึงไม่มีธรรมใดๆ เกิดกับพระนิพพานได้เลย ผู้ที่ประจักษ์แจ้งพระนิพพาน คือพระอริยบุคคลทุกระดับขั้น

นามธรรม ที่เกิดดับ คือ จิตกับเจตสิก ส่วนพระนิพพานเป็นนามธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ และ ไม่รู้อารมณ์ด้วย

จิต เจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน และในภูมิที่มี ขันธ์ ๕ ก็อาศัยที่เกิดที่เดียวกัน คืออาศัยวัตถุรูปเป็นที่เกิด จิตมีความหลากหลายเพราะ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย จิตบางประเภทเกิดพร้อมกับรูป เช่น จิตขณะแรกในภพนี้ชาตินี้ คือ ปฏิสนธิจิต เกิดพร้อมกับรูปสามกลุ่ม คือ กลุ่มของกาย กลุ่มของภาวรูป และกลุ่มของหทย วัตถุ แต่รูป ก็ต้องเป็นรูป ไม่ใช่นามธรรม ไม่ปะปนกัน และไม่มีสภาพธรรมแม้แต่อย่างเดียว ที่เกิดแล้วจะไม่ดับ เพราะตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อเกิดแล้วก็ดับไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน

สำหรับการดับกิเลส ไม่ใช่เป็นไปด้วยความไม่รู้ด้วยความเห็นผิด แต่ต้องเป็นหนทางแห่ง การอบรมเจริญปัญญา กิเลสทั้งหลายที่สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ดับได้ด้วย ปัญญา เนื่องจากสะสมกิเลสมามากและนาน ก็ต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานในการสะสม อบรมเจริญปัญญา เช่นเดียวกัน ซึ่งจะขาดความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้นไม่ได้เลยทีเดียว

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 10 ก.ค. 2556

นิพพานไม่ได้อยู่ในจิตเพราะพระนิพพานไม่เกิดดับ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Pure.
วันที่ 11 ก.ค. 2556

ขอบคุณอนุโมทนาบุญครับอาจารย์.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
asp
วันที่ 14 ก.ค. 2556

อ.paderm บอกว่า

กิเลส หมดได้เพราะ อาศัยปัญญา และ สภาพธรรมที่ดีอย่างอื่น มี สติ เป็นต้น เกิดร่วมด้วย ในขณะที่จิตเป็นระดับโลกุตตระ ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ขณะนั้น ดับกิเลส ที่สะสมไว้ในจิตใจ ครับ

จิตก่อนหน้าที่จะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็มีสติและปัญญา แต่ไม่สามารถดับอนุสัยกิเลสได้ แต่ขณะจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์สามารถดับอนุสัยได้ นั่นแสดงว่านิพพานเป็นปัจจัยให้ดับกิเลสได้หรือครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ค. 2556

สภาพธรรมที่ดับกิเลส คือ มรรคจิตที่เกิดขึ้น อันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
arcademochit
วันที่ 16 ก.ค. 2556

นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป คือ เป็นสภาพธรรมที่ปราศจาก จิต เจตสิก รูป ไม่มีอะไรปรุงแต่งเลย

Credit: พระอาจารย์ paderm

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ