อชิตปัญหา [อรรถกถาอชิตสูตรที่ ๑]

 
khampan.a
วันที่  23 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23084
อ่าน  1,507

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้าที่ ๘๙๓

อรรถกถาอชิตสูตรที่ ๑

(อชิตปัญหา)

ก็ในปัญหานั้น บทว่า นิวุโต หุ้มห่อ คือ ปกปิดไว้. บทว่า กิสฺสา-

ภิเลปนํ พฺรูสิ คืออชิตมาณพทูลถามว่า พระองค์ตรัสว่าอะไรเป็นเครื่องฉาบ

ทาโลกนั้นไว้.

บทว่า เววิจฺฉา ปมาทา นปฺปกาสติ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะความตระหนี่และเพราะความประมาทเป็นเหตุ. จริงอยู่

ความตระหนี่ไม่ให้เพื่อประกาศคุณมีทานเป็นต้นของเขา และความประมาทไม่

ให้เพื่อประกาศคุณมีศีลเป็นต้น. บทว่า ชปฺปาภิเลปนํ ตัณหาเป็นเครื่อง

ฉาบทา คือตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้ดุจตังดักลิง ฉาบทาลิงไว้ฉะนั้น.

บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์มีชาติเป็นต้น.

บทว่า สวนฺติ สพฺพธิ โสตา กระแสทั้งหลายย่อมแล่นไปใน

อารมณ์ทั้งปวง คือ กระแสมีตัณหาเป็นต้นย่อมแล่นไปในอายตนะทั้งหลายมี

รูปายตนะเป็นต้นทั้งปวง. บทว่า กินฺนิวารณํ อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแส คือ

อะไรเป็นเครื่องกั้น อะไรเป็นเครื่องคุ้มครองรักษากระแสเหล่านั้น. บทว่า สํวรํ

พฺรูหิ คือขอพระองค์ทรงตรัสบอกเครื่องกั้นกระแสอันได้แก่การห้ามกระแส

เหล่านั้น. ด้วยบทนี้อชิตมาณพทูลถามถึงการละกระแสที่เหลือ. บทว่า เกน

โสตา ปิถิยฺยเร คือ กระแสทั้งหลายเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดกั้น คือ ตัด

ขาดได้ด้วยธรรมอะไร. ด้วยบทนี้ อชิตมาณพทูลถามถึงการละกระแสโดยไม่

มีเหลือ.

บทว่า สติ เตสํ นิวารณ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น คือ

สติอันมีอยู่ด้วยความสงบประกอบแล้วด้วยวิปัสสนาเป็นทางดำเนินของธรรมอัน

เป็นกุศลทั้งหลายเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น. บทว่า โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ

เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เรากล่าวว่าสตินั้นแลเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. บทว่า ปญฺญาเยเต

ปิถิยฺยเร กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตปิดกั้นได้ด้วยปัญญา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดกั้นได้ด้วยมรรคปัญญาอันสำเร็จด้วย

การแทงตลอดถึงความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น

โดยประการทั้งปวง.

บทว่า ปญฺญา เจว พึงทราบความสังเขปอย่างนี้ว่า ปัญญา สติ

และนามรูปที่เหลือนั้นอันใด ที่ท่านกล่าวไว้ในคาถาของปัญหาทั้งหมดนั้นย่อม

ดับไป ณ ที่ไหน พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามปัญหา ขอจงตรัสบอกปัญหา

อันแก่ข้าพระองค์เถิด.

พึงทราบความในคาถาแก้ปัญหาของอชิตมาณพต่อไป เพราะปัญญา

และสติสงเคราะห์ (รวม) กันโดยนามนั่นเอง ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้

ตรัสปัญญาและสติไว้ต่างออกไป. นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ ท่านได้ถามปัญหานี้ว่า นามและรูปย่อมดับไป ณ

ที่ไหน เราจะบอกปัญหาที่ท่านได้ถามแก่ท่านว่า นามและรูปย่อมดับไปไม่มี

ส่วนเหลือ ณ ที่ใด สติและปัญญานี้ย่อมดับไปพร้อมกันไม่ก่อนไม่หลัง ณ ที่

นั้น เพราะครามดับแห่งวิญญาณนั้นๆ ในเพราะความดับแห่งวิญญาณนี้แล

นามและรูปจึงดับไป ท่านอธิบายว่า การดับนามและรูปนั้นไม่ล่วงพ้นการดับ

แห่งวิญญาณนั้นไปได้เลย.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันประกาศถึงทุกขสัจจะด้วยบทนี้ว่า ทุกฺข-

มสฺส มหพฺภยํ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนี้. ประกาศสมุทยสัจจะด้วยบทนี้ว่า

ยานิ โสตานิ กระแสทั้งหลายเหล่าใดในโลกดังนี้. ประกาศมรรคสัจจะด้วย

บทนี้ว่า ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร กระแสเหล่านี้อันบัณฑิตย่อมปิดกั้นได้ด้วย

ปัญญา. ประกาศนิโรธสัจจะด้วยบทนี้ว่า อเสสํ อุปรุชฺฌติ นามและรูป

ย่อมดับไปไม่เหลือ. อชิตมาณพได้ฟังสัจจะทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว ยังไม่บรรลุ

อริยภูมิ เมื่อจะทูลถามปฏิปทาของพระเสกขะและอเสกขะต่อไปจึงทูลว่า เย จ

สงฺขาตธมฺมาเส ชนเหล่าใดผู้มีธรรมอันพิจารณาเห็นแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สงฺขาตธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่พิจารณาเห็นแล้ว

โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทนี้เป็นชื่อของพระอรหัต. บทว่า เสกฺขา

ได้แก่ พระอริยบุคคลที่เหลือผู้ยังต้องศึกษาศีลเป็นต้น. บทว่า ปุถู มาก ได้แก่

ชน ๗ จำพวก. บทว่า เตสํ เม นิปโก อิริยํ ปุฏฺโฐ ปพฺรูหิ ความว่า

พระองค์ผู้มีปัญญารักษาตนอันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกข้อปฏิบัติ

ของชนเหล่านั้น ผู้เป็นเสกขะและอเสกขะ แก่ข้าพระองค์เถิด.

เพราะพระเสกขะควรละกิเลสทั้งหมด ตั้งต้นแต่กามฉันทนิวรณ์ทีเดียว

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงเสกขปฏิปทาแก่อชิตมาณพนั้นด้วยกึ่ง

คาถาว่า กาเมสุ ในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ ภิกษุไม่พึงกำหนัดยินดีในวัตถุกามทั้งหลาย

ด้วยความใคร่กิเลส ละธรรมทั้งหลายอันทำความขุ่นมัวแก่ใจมีกายทุจริตเป็นต้น

พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว. ก็เพราะพระอเสกขะเป็นผู้ฉลาด เพราะเป็นผู้พิจารณา

สังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นผู้มีสติด้วยการมีสติตามเห็น

ซึ่งกายเป็นต้นในธรรมทั้งปวง และถึงความเป็นภิกษุ เพราะทำลายสักกายทิฏฐิ

เป็นต้นเสียได้ ย่อมเว้นรอบในทุกอิริยาบถ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

แสดงอเสกขปฎิปทา ด้วยกึ่งคาถาว่า กุสโล เป็นผู้ฉลาด ดังนี้เป็นต้น. บทที่

เหลือในบททั้งหมดชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยธรรม

เป็นยอด คือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา อชิตมาณพได้บรรลุพระอรหัตพร้อมกับอันเตวาสิก

๑,๐๐๐ ชนอีก ๑,๐๐๐ เหล่าอื่น ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม. หนังเสือเหลือง ชฎา

และผ้าป่านเป็นต้นของท่านอชิตะพร้อมด้วยอันเตวาสิกได้หายไปพร้อมกับการ

บรรลุพระอรหัต. ท่านทั้งหมด ทรงบาตรและจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผมสอง

องคุลีเป็นเอหิภิกษุ นั่งประนมมือนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอชิตสูตรที่ ๑


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
raynu.p
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 28 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนา อ.คำปั่น ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จิตและเจตสิก
วันที่ 1 ก.ค. 2556

แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งสอนเราทั้งหลายว่า

ทุกข์ ควรกำหนดรู้

สมุทัย ควรละ

นิโรธ ควรกระทำให้แจัง

มรรค ควรเจริญ.

ดังนี้.

ขออนุโมทนา ฯ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ