อรรถกถา มาฆสูตร

 
มศพ.
วันที่  10 มี.ค. 2556
หมายเลข  22596
อ่าน  1,308

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 461

อรรถกถามาฆสูตรที่ ๕

มาฆสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

ตอบว่า เหตุที่เกิดนี้ท่านกล่าวไว้แล้วในนิทานแห่งมาฆสูตรนั้น.

มีเรื่องย่อว่า มาฆมาณพนี้เป็นทายก เป็นทานบดี. เขาได้มีความวิตก

ว่าทานที่ให้แก่คนกำพร้าและคนเดินทางที่มาถึงจะเป็นทานมีผลมากหรือไม่หนอ

เราจักทูลถามความนี้กะพระสมณโคดม ข่าวว่าพระสมณโคดมทรงทราบ อดีต

อนาคต และปัจจุบัน เขาจึงเข้าไปถามพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงพยากรณ์สมควรแก่คำถามของเขา พระสูตรนี้รวบรวมคำของสามท่าน

คือ ของพระสังคีติกาจารย์ ของพราหมณ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเรียกว่า

มาฆสูตร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ราชคเห คือในนครมีชื่ออย่างนั้น. นครนั้น

เรียกว่าราชคฤห์เพราะถูกพระเจ้ามันธาตุ และหาโควินทะยึดครองไว้ แม้

อาจารย์พวกอื่นก็พรรณนาไว้ในทำนองนี้. พรรณนาไว้อย่างไร. นี้เป็นชื่อของ

นครนั้น. ก็นครนี้นั้นเป็นนครครั้งพุทธกาล และครั้งจักรพรรดิกาล. ในกาล

ที่เหลือเป็นนครว่างเปล่าถูกยักษ์ครอง เป็นป่าอันเป็นที่อยู่ของยักษ์เหล่านั้น.

พระอานนท์แสดงถึงโคจรคามอย่างนี้แล้วจึงกล่าวถึงที่ประทับว่า คิชฺฌกูเกฏ

ปพฺพเต ณ ภูเขาคิชฌกูฎ. พึงทราบว่าแร้งอาศัยอยู่บนยอดภูเขานั้น หรือ

ยอดภูเขานั้นคล้ายแร้ง ฉะนั้น จึงเรียกภูเขานั้นว่า คิชฌกูฎ ดังนี้,

บทว่า มาโฆ ในบทนี้ว่า อถ โข ฯเปฯ อโวจ นี้ เป็นชื่อของพรา-

หมณ์นั้น ท่านเรียกว่ามาณพ เพราะเป็นผู้อาศัยอยู่ภายในสำนัก. แต่โดยชาติเป็น

ผู้ใหญ่. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่าเป็นผู้ใหญ่ด้วยการประพฤติชอบมาก่อน.

เหมือนปิงคิยมาณพ ด้วยว่าปิงคิยะนั้นแม้มีอายุ ๑๒๐ ปี ด้วยการประพฤติชอบ

มาก่อนก็ยังเรียกว่ามาณพอยู่นั่นเอง. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ทายโก ทานปติ ในบทว่า อห หิ โภ ฯเปฯ ปสวามิ

นี้ ได้แก่ เป็นทั้งทายกและเป็นทั้งทานบดี. ก็ผู้ใดถูกเขาชักชวนให้ให้ของ

ของผู้อื่น ผู้นั้นก็เป็นทายกแต่ไม่เป็นทานบดี เพราะไม่เป็นใหญ่ในทานนั้น.

แต่มาฆมาณพนี้ให้ของของตนเท่านั้น ด้วยเหตุนั้นมาฆมาณพจึงกล่าวว่า ข้า

พระองค์เป็นทั้งทายก เป็นทั้งทานบดี. นี้เป็นอธิบายในบทนั้น. ควรจะกล่าว

โดยนัยมีอาทิว่า ผู้ที่ถูกความตระหนี่ครอบงำ ในระหว่างๆ เป็นทายก ผู้ไม่

ถูกครองงำเป็นทานบดี. บทว่า วทญฺญู คือข้าพระองค์รู้คำของผู้ขอ เพียงเขา

พูดเท่านั้นก็รู้ว่าผู้นี้ควรแก่สิ่งนี้ ผู้นี้ควรให้สิ่งนี้ด้วยการรับรองความเป็นบุรุษ

วิเศษ หรือด้วยการรับว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก. บทว่า ยาจโยโค คือควร

เพื่อจะขอ. มาฆมาณพกล่าวว่าผู้ใดเห็นยาจกแล้วทำหน้าสยิ้วย่อมกล่าวคำหยาบ

เป็นต้น ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ควรเพื่อขอ แต่ข้าพระองค์นี้ได้เป็นเช่นนั้น. บทว่า

ธมฺเมน ความว่า เว้นการลัก การฉ้อโกง และการลวงเป็นต้น เพื่อภิกษาจาร

เพื่อขอ. ก็การขอของพราหมณ์และธรรมของพราหมณ์ผู้ขอด้วยการแสวงหา

โภคทรัพย์ โภคทรัพย์ทีผู้ประสงค์จะอนุเคราะห์ให้แก่พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า

ได้มาแล้วโดยธรรมและบรรลุแล้วโดยธรรม ก็มาฆมาณพนั้นแสวงหาอย่างนั้น

ได้แล้ว. ด้วยเหตุนั้นมาฆมาณพจึงกล่าวว่า ธมฺเมน โภเค ปริเยสามิ ฯเปฯ

ธมฺมาธิคเตหิ ข้าพระองค์แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม ครั้นแสวงหาได้แล้ว

ย่อมนำโภคทรัพย์ที่ตนได้มาโดยธรรมถวายแก่ปฏิคาหก ดังนี้. บทว่า ภิยฺโยปิ

ททามิ ความว่า มาฆมาณพชี้แจงว่า ข้าพระองค์ถวายยิ่งกว่านั้นบ้าง ไม่มี

จำกัด ข้าพระองค์จะถวายตามจำนวนโภคทรัพย์ที่ได้มา. บทว่า ตคฺฆ เป็น

นิบาตลงในคำส่วนเดียว. จริงอยู่ทานอันพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจก-

พุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายสรรเสริญแล้วโดยส่วนเดียวเท่านั้น แม้โดยที่สุดให้

แก่ดิรัจฉาน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สพฺพตฺถ วณฺณิต ทาน น ทาน

ครหิต กวฺจิ ความว่า ทานท่านสรรเสริญในที่ทั้งปวง ทานท่านไม่ติเตียนใน

ที่ไหนๆ . เพราะฉะนั้นแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรรเสริญทานนั้นโดย

ส่วนเดียวจึงตรัสว่า ตคฺฆ ตฺว มาณว ฯเปฯ ปสวสิ ความว่า ดูก่อนมาณพ

ผู้ใดแลเป็นทายก เป็นทานบดี รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ควรแก่การขอ ย่อม

แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม ครั้นได้โภคทรัพย์โดยธรรมแล้วย่อมนำโภค-

ทรัพย์ที่ตนได้มาโดยธรรมถวายแก่ปฏิคาหก ๑ องค์บ้าง ฯลฯ ๑๐๐ องค์บ้าง

ยิ่งกว่านั้นบ้าง ผู้นั้นย่อมประสบบุญมาก. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พหุ โส ปุญฺ ปวสติ ผู้นั้นย่อม

ประสบบุญมาก ดังนี้ พราหมณ์ประสงค์จะฟังทักษิณาวิสุทธิ (ความหมดจด

แห่งทักษิณา) จากทักขิไณยบุคคล จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้นไป ด้วย

เหตุนั้นพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อถโข มาโฆ มาณโว ภควนฺต

คาถาย อชฺฌภาสิ ครั้งนั้นแล มาฆมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคาถา. บทนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วโดยความนั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาต้นว่า ปุจฺฉามห ข้าพระองค์ขอทูลถาม.

บทว่า วทญฺญุ ได้แก่ผู้รู้ถ้อยคำ. ท่านอธิบายว่า รู้ความประสงค์ของคำที่สัตว์

ทั้งหลายพูดทุกอย่าง. บทว่า สุชฺเฌ ได้แก่ พึงบริสุทธิ์ คือพึงมีผลมากด้วยอำนาจ

ทักขิไณยบุคคล. แต่ในบทนี้โยชนาแก้ว่า มาฆมาณพกราบทูลว่า ผู้ใดเป็น

คฤหัสถ์ควรแก่การขอ เป็นทานบดี มีความต้องการบุญให้ข้าวน้ำบูชาแก่ชนเหล่า

อื่น ไม่ใส่เพียงเครื่องบูชาในไฟ แต่มุ่งบุญเท่านั้น ไม่มุ่งการตอบแทนกิตติศัพท์

อันงามเป็นต้น การบูชาของผู้นั้นผู้บูชาอย่างเห็นปานนี้จะพึงบริสุทธิ์ได้อย่างไร.

บทว่า อาราธเย ทกฺขิเณยฺเยหิ ตาทิ ผู้เช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีได้

ความว่า ผู้ควรแก่การขอเช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีพอใจบริสุทธิ์ใจ พึง

ทำการบูชาให้มีผลมากไม่ใช่อย่างอื่น. ด้วยบทนี้เป็นอันพยากรณ์ บทว่า การ

บูชาของผู้บูชานี้พึงบริสุทธิ์ได้อย่างไร. ในบทว่า อกฺขาหิ เม ภควา ทกฺขิ-

เณยฺเย นี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงบอกทักขิไณยบุคคลแก่ข้าพระองค์

เถิดนี้ พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ผู้ใดควรแก่การขอให้อยู่ย่อมบูชาแก่คนอื่น

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงบอกทักขิไณยบุคคลของผู้นั้นแก่ข้าพระองค์

เถิด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศทักขิไณยบุคคลแก่

มาฆมาณพนั้นโดยนัยหลายประการ ได้ตรัสพระคาถามีอาทิว่า เย เว อลคฺคา

ชนเหล่าใดแลไม่เกี่ยวข้อง ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อลคฺคา คือไม่เกี่ยวข้องด้วยเครื่องเกียวข้องมี

ราคะเป็นต้น. บทว่า เกวลิโน คือมีกิจที่ต้องทำเสร็จแล้ว. บทว่า ยตตฺตา คือ

มีจิตคุ้มครองแล้ว ฝึกฝนแล้วด้วยการฝึกอย่างยอดเยี่ยม พ้นเด็ดขาดแล้วด้วย

ปัญญาเจโตวิมุตติ. ไม่มีความทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์ในวัฏฏะต่อไป ไม่มีความ

หวังเพราะไม่มีทุกข์ในปัจจุบัน. พึงทราบว่า ท่านกล่าวคาถาที่สองแห่งคาถานี้

โดยวิธีที่จะประกาศอานุภาพของภาวนา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบ

ด้วยการประกอบการภาวนาเนืองๆ อยู่ แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่าง

นี้ว่า ไฉนหนอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ยึดมั่น ดังนี้ก็จริง ถึง

ดังนั้น จิตของภิกษุนั้นก็ย่อมพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น นี้เป็นสูตรตัวอย่าง

ในบทนี้.

บทว่า ราคญฺจ ฯเปฯ เยสุ น มายา ฯเปฯ น ตณฺหาสุ อุปาติปนฺ

นา ชนเหล่าใดละราคะโทสะและโมหะได้แล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม-

จรรย์ ฯลฯ ชนเหล่าใดไม่น้อมไปในตัณหาทั้งหลาย ความว่า เป็นผู้ไม่น้อมไป

ในกามตัณหาเป็นต้น. บทว่า วิตเรยฺย แปลว่า ข้ามแล้ว. บทว่า ตณฺหา ได้แก่

ตัณหา ๖ อย่าง มีรูปตัณหาเป็นต้น. บทว่า ภวาภวาย ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ

หรืออุจเฉททิฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อความไม่มีแห่งภพชื่อว่า ภวาภวาย. ท่าน

อธิบายว่า เพื่อเกิดในภพใหม่. ก็บทว่า อิธ วา หุร วา ในโลกนี้หรือในโลก

อื่น นี้เป็นคำพิสดารของบทนี้ว่า กุหิญฺจิ โลเก ในโลกไหน. บทว่า เย

วีตราคา ฯเปฯ สมิตาวิโน ชนเหล่าใดปราสจากกำหนัด มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว

ฯลฯ ชนเหล่าใดมีกิเลสสงบแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้สงบ คือมีกิเลสสงบแล้ว.

อนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด เป็นผู้ไม่โกรธเพราะมีกิเลสสงบแล้ว.

บทว่า อิธ วิปฺปหาย ท่านอธิบายว่า เพราะละขันธ์อันเป็นไปในโลกนี้แล้ว

จากนั้นก็ไม่มีการไปสู่โลกใดอีก. ต่อจากนี้ไป อาจารย์บางพวกกล่าวคาถานี้ว่า

เย กาเม หิตฺวา อคหา จรนฺติ

สุสยตตฺตา ตสรว อุชฺชุ.

ชนเหล่าใดละกามได้แล้วไม่ยืดถือ

อะไรเที่ยวไป มีตนสำรวมดีแล้ว เหมือน

กระสวยที่พุ่งตรงไปฉะนั้น.

บทว่า ชเหตฺวา แปลว่า ละแล้ว. บาลีว่า ชหิตฺวา บ้าง. ความก็

อย่างเดียวกัน . บทว่า อตฺตทีปา ท่านกล่าวถึงพระขีณาสพทำที่พึ่งของตนเที่ยว

ไปในคุณของตน. อักษรในบทว่า เย เหตฺถ เป็นนิบาตในอรรถเพียงทำ

บทให้เต็ม. ข้อนี้มีอธิบายว่า ชนเหล่าใดรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์และอายตนะ

เป็นต้นตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธ์และนี้คืออายตนะ เมื่อรู้สภาวะตามความ

เป็นจริงด้วยสามารถแห่งความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า อยมนฺ-

ติมา นตฺถิ ปุนพฺภโว ชาตินี้มีในที่สุด ภพใหม่ไม่มีดังนี้ อธิบายว่า ชาติ

ของเราทั้งหลายนี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี. บทว่า โย เวทคู ชนใดเป็น

ผู้ถึงเวท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถานี้หมายถึงพระองค์ในบัดนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สตีมา มีสติ คือประกอบด้วยสติอันเป็นวิหาร-

ธรรมเนืองนิตย์ ๖ อย่าง. บทว่า สนฺโพธิปตฺโต คือบรรลุสัพพัญญุตญาณ.

บทว่า สรณ พหุนฺน คือเป็นที่พึ่งของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก

ให้พ้นจากความกลัวและการเบียดเบียน.

พราหมณ์ครั้นได้ฟังทักขิไณยบุคคลอย่างนี้แล้วชอบใจ กราบทูลว่า

อทฺธา อโมฆา คำถามของข้าพระองค์ไม่เปล่าประโยชน์แน่นอน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวญฺเหตฺถ ชานาสิ ยถา ตถา อิท พระ-

องค์ทรงทราบไญยธรรมนี้ในโลกนี้อย่างถ่องแท้ ความว่า จริงอยู่พระองค์ทรง

ทราบไญยธรรมนี้ทั้งหมดในโลกนี้อย่างถ่องแท้ คือทรงทราบตามความเป็น

จริง. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ทรงทราบไญยธรรมเป็นเช่นนั้นนั่นเอง.

บทว่า ตถา หิ เต วิทิโต เอส ธมฺโม จริงอย่างนั้นธรรมนี้พระองค์ทรงทราบ

อย่างแจ่มแจ้งแล้ว คือ จริงอย่างนั้นธรรมธาตุนี้พระองค์ทรงแทงตลอดแล้ว

อธิบายว่า พระองค์ทรงทราบธรรมธาตุที่พระองค์ทรงปรารถนาเพราะพระองค์

แทงตลอดแล้ว.

พราหมณ์นั้นเลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอย่างนี้แล้ว ครั้นรู้ความ

สมบูรณ์แห่งยัญ ด้วยความสมบูรณ์แห่งทักขิไณยบุคคลแล้ว ประสงค์จะฟัง

ความสมบูรณ์แห่งยัญอันบริบูรณ์ด้วยองค์ ๖ นั้น ด้วยความสมบูรณ์แห่งทายก

จึงทูลถามปัญหายิ่งขึ้นว่า ยาจโยโค ผู้ควรแก่การขอดังนี้.

ในบทนั้นโยชนาแก้ว่า ผู้ใดเป็นผู้ควรแก่การขอให้ (ข้าวน้ำ) บูชา

แก่เพื่อน. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกความสมบูรณ์แห่งยัญของผู้นั้นแก่

ข้าพระองค์เถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบอกแก่เขาด้วยคาถา

สองคาถา.

ในคาถานั้นโยชนาแก้ว่า ดูก่อนมาฆะ เมื่อท่านจะบูชาก็จงบูชาเถิด

และจงทำจิตให้ผ่องใสในกาลทั้งปวง คือจงทำให้ผ่องใส ในกาลทั้ง ๓.

ท่านกล่าวถึงความสมบูรณ์แห่งยัญไว้ว่า

ปุพฺเพว ทานา สุมโน ทท จิตฺต ปสาทเย

ทตฺวา อตฺตมโน โหติ เอสา ยญฺสฺส สมฺปทา

ก่อนให้ มีใจผ่องใส ขณะให้ จิตก็

ผ่องใส ครั้นให้แล้ว ก็ชื่นใจ นี้คือความ

สมบูรณ์แห่งยัญ.

ยัญจักสมบูรณ์ด้วยความสมบูรณ์แห่งยัญนั้น ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า

พึงทำจิตให้ผ่องใสได้อย่างไร ?

ตอบว่า ด้วยการละโทสะ. ละโทสะได้อย่างไร? ด้วยการยึดยัญเป็น

อารมณ์. อธิบายว่าก็เมื่อบูชายึดยัญเป็นอารมณ์ตั้งอยู่ในยัญนั้นละโทสะเสีย เมื่อ

บูชามีจิตกำจัดความมืดคือโมหะเอาสัมมาทิฏฐิเป็นดวงประทีป มีเมตตาในสัตว์

ทั้งหลายเป็นตัวนำ ยัญคือไทยธรรมนี้เป็นอารมณ์ บุคคลนั้นตั้งมั่นในยัญนี้

ด้วยการยึดเป็นอารมณ์ ย่อมละโลภะ อันมีไทยธรรมเป็นปัจจัย ย่อมละความ

โกรธ อันมีปฏิคาหกเป็นปัจจัย ย่อมละโมหะ อันมีโลภะและโกรธทั้งสองเป็น

เหตุ ดังนั้น ชื่อว่าย่อมละโทษแม้ ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. บุคคลนั้นเป็น

ผู้ปราศจากความกำหนดในโภคทรัพย์อย่างนี้ พึงกำจัดโทษในสัตว์ทั้งหลาย

ละนิวรณ์ ๕ ได้ด้วยการกำจัดโทษนั้นนั่นเอง เจริญเมตตาจิตอันหาประมาณ

มิได้ อันมีประเภทเป็นอุปจาระและอัปปนาโดยลำดับ ด้วยการแผ่ไปยังสัตว์

ไม่มีประมาณ หรือด้วยการแผ่เมตตาไม่มีส่วนเหลือในสัตว์ตัวเดียว เป็นผู้ไม่

ประมาทในอิริยาบถทั้งหมดเนืองๆ ทั้งกลางวันกลางคืนเพื่อความไพบูลย์แห่ง

ภาวหาต่อไป ย่อมแผ่อัปปมัญญาภาวนา อันได้แก่เมตตาฌานนั้นแลไปทั่วทิศ.

ลำดับนั้น พราหมณ์ไม่รู้เมตตานี้ว่า นี้เป็นทางแห่งพรหมโลก ครั้น

สดับเมตตาภาวนาอันเป็นวิสัยในอดีตของคนอย่างเดียว ยิ่งมีความสรรเสริญใน

พระสัพพัญญูในพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้น เพราะตนเองน้อมไปในพรหมโลก

จึงสำคัญว่า การเกิดในพรหมโลกเท่านั้นเป็นความบริสุทธิ์และความพัน เมื่อ

จะทูลถามถึงทางไปพรหมโลกจึงกล่าวคาถาว่า โก สุชฺฌตี ใครย่อมบริสุทธิ์

ดังนี้เป็นต้น.

ก็ในคาถานั้น พราหมณ์กล่าวว่า โก สุชฺฌตี มุญฺจติ ใครย่อมบริสุทธิ์

ใครย่อมหลุดพ้น หมายถึงผู้ทำบุญเพื่อไปพรหมโลก กล่าวว่า พชฺฌตี จ

และยังติดอยู่ หมายถึงผู้ไม่กระทำบุญเพื่อไปพรหมโลก. บทว่า เกนตฺตนา

คือด้วยเหตุอะไร. บทว่า สิกฺขิ พฺรหฺมชฺช ทิฏฺโ ข้าพระองค์ขออ้างเป็น

พราหมณ์วันนี้ ความว่า วันนี้อ้างพรหมเป็นพยาน. บทว่า สจฺจ ได้แก่

พราหมณ์ปรารภความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เสมอด้วยพรหม จึงตั้งคำถาม

ด้วยความเคารพยิ่ง. บทว่า กถ อุปฺปาชฺชติ บุคคลเข้าถึงพรหมได้อย่างไร

พราหมณ์ถามซ้ำอีกด้วยความเคารพยิ่ง. บทว่า ชุติมา ผู้มีความรุ่งเรือง

พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ เพราะภิกษุใดยังฌาน ๓ และ ๔ ให้เกิดด้วย

เมตตา ทำฌานนั้นให้เป็นบาท แล้วเห็นแจ้งย่อมบรรลุพระอรหัต ภิกษุนั้น

ชื่อว่าย่อมบริสุทธิ์ และย่อมหลุดพ้น ทั้งภิกษุเช่นนั้นไม่ไปพรหมโลก แก่ภิกษุ

ใดยังฌาน ๓ และ ๔ ให้เกิดด้วยเมตตา พอใจฌานนั้นโดยนัยเป็นต้นว่า สนฺตา

เอสา สมาปตฺติ สมาบัตินี้มีอยู่ดังนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่ายังติดอยู่ อนึ่งเมื่อฌาน

ยังไม่เสื่อมย่อมไปสู่พรหมโลกด้วยฌานนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

เห็นด้วยกับการไปพรหมโลก จึงไม่ทรงแตะต้องถึงบุคคลผู้บริสุทธิ์ ผู้หลุดพ้น

เมื่อจะทรงแสดงถึงการไปพรหมโลกด้วยฌานนั้นแก่พราหมณ์ผู้ยังติดอยู่ จึงตรัส

คาถานี้ว่า โย ยชติ ผู้ใดย่อมบูชา ดังนี้เป็นต้น โดยนัยอันเป็นที่สบายแก่

พราหมณ์.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ติวิธ ครบ ๓ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายถึงความเลื่อมใสตลอด ๓ กาล. ด้วยบทนั้น แสดงถึงองค์ ๓ ของทายก.

บทว่า อาราธเย ทกฺขิเณยฺเยภิ ตาทิ ผู้เช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลทั้ง

หลายยินดี ความว่า ผู้เช่นนั้นคือบุคคลผู้ยังความถึงพร้อมด้วยยัญ ๓ อย่างให้

สำเร็จ พึงยังความถึงพร้อมด้วย ๓ อย่างให้สำเร็จ คือ ให้สมบูรณ์ด้วยทักขิ-

ไณยบุคคลคือพระขีณาสพ. ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงองค์ ๓ ของปฏิคาหก. บทว่า

เอว ยชิตฺวา สมฺมา ยาจโยโค ครั้นบูชาอย่างนั้นโดยชอบแล้ว ผู้นั้น

เป็นผู้ควรแก่การขอ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพราหมณ์ให้เกิดความ

อุตสาหะว่า เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้ควรแก่การขอ ครั้นบูชายัญอันถึงพร้อมด้วย

องค์ ๖ มีเมตตาฌานเป็นปทัฏฐานโดยชอบแล้วอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

ด้วยเมตตาฌาน อันเข้าไปอาศัยยัญที่ประกอบด้วยองค์ ๖ นั้นแล้ว ทรงยัง

เทศนาให้จบบริบูรณ์. บทที่เหลือในคาถาทั้งหมด มีความง่ายทั้งนั้นแล. อนึ่ง

ต่อจากนี้ไป ก็มีนัยดังกล่าวแล้วในตอนก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถามาฆสูตรที่ ๕ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ