จิต เจตสิก กิเลส

 
chonhinfa
วันที่  11 ต.ค. 2549
หมายเลข  2252
อ่าน  1,650

จะพิจารณาแยกแยะ จิต เจตสิก และกิเลส ขณะเกิด และทำงานร่วมกันต่างกันอย่างไรคะจิต นอกจากเป็นตัวรู้แล้ว ทำหน้าที่อะไรอีกคะเจตสิก มีหน้าที่อะไรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 11 ต.ค. 2549

ลักษณะของนามธรรมที่เกิดดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน อัาศัยที่เกิดเดียวกัน คือ จิตและเจตสิกแต่โดยลักษณะของสภาพธรรมทั้งสองมีกิจต่างกัน คือ จิตมีกิจรู้แจ้งอารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ สำหรับเจตสิกมีกิจแตกต่างตามลักษณะของเจตสิกนั้นๆ คือ ผัสสะ มีกิจกระทบอารมณ์ เวทนาทำกิจเสวยอารมณ์ สัญญาทำกิจจำอารมณ์ วิตกทำกิจตรึกหรือจรดในอารมณ์ ปัญญาทำกิจรู้ทั่ว เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 11 ต.ค. 2549

อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 84

พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงจำแนกสังขารขันธ์ ตรัสว่า ชื่อว่าสังขาร เพราะอรรถว่าปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะ ทรงแสดงไว้ด้วยคำว่า จักขุสัมผัสสชาเจตนาดังนี้เป็นต้น ในสุตตันตภาชนีย์ในวิภังคปรณ์ ๒ เพราะเป็นประธานในการปรุงแต่ง ฯ เจตนานั้นมีการมุ่งหวังเป็นลักษณะ พึงเห็นว่า เหมือนลูกมือผู้เป็นหัวหน้าและนายช่างไม้ใหญ่เป็นต้น ยังกิจของตนและกิจของคนอื่นให้สำเร็จฉะนั้น ฯ การแดสงสรูปเอกัคคตา วิตก วิจารและปีติ อย่างแจ่มแจ้ง มาแล้วในหนหลังนั่นแล้ว ฯ ชื่อว่าชีวิต เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องดำรงอยู่แห่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย ฯ ชีวิตนั้นนั่นแล ชื่อว่าเป็นใหญ่ เพราะประกอบด้วยความเป็นใหญ่ในการอนุบาลธรรมที่เกิดร่วมกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าชีวิตนทรีย์ ฯ ชีวิตนทรีย์นั้น มีการอนุบาลเป็นลักษณะ เหมือนน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัวเป็นต้น ฉะนั้น ฯ การกระทำ ชื่อว่าการ ฯ การกระทำไว้ในใจ ชื่อว่ามนสิการ ฯ มนสิการนั้น มีการเหนี่ยวใจในไว้อารมณ์เป็นลักษณะ ฯ วิตก เจตนา และมนสิการเหล่านี้ มีความต่างกันอย่างนี้ คือ วิตกเป็นเหมือนบรรจุสัมปยุตธรรมเหล่านั้นไว้ในอารมณ์นั้น เพราะเป็นสภาพยกธรรมที่เกิดร่วมกันมาวางไว้ที่อารมณ์, เจตนาประกอบไว้ แม้ซึ่งธรรมตามที่เกิดแล้วไว้ในอารมณ์นั้นด้วยตน โดยการยึดถืออารมณ์เป็นเหมือนแม้ทัพ, มนสิการเป็นเหมือนนายสารถีผู้ควบคุมม้าอาชาไนยเพราะประคับประคองสัมปยุตธรรมเหล่านั้น ให้มุ่งหน้าตรงต่ออารมณ์ ฯอาจารย์ทั้งหลายอย่างนี้คือ อันที่จริง บุคคลเชื่อในพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาคทรงแทงตลอดลักษณะแห่งธรรมทั้งหลาย ตามเป็นจริงนั้นๆ โดยสภาพแล้ว ทรงแจกธรรมทั้งหลายนั้นๆ ไว้ แล้วกำหนด ลงไปว่า ธรรมเหล่านี้ มีความแปลกกันอย่างนี้ แล้วพึงกระทำความเพียงพยายามเพื่อบรรลุสภาพแห่งธรรมเหล่านั้นโดยชอบ ด้วยอำนาจการเรียนและการสองถามเป็นต้น ถึงผู้ปฏิบัติผิดในธรรมนั้นๆ จะไม่กลายเป็นคนหลงงมงาย ฯ

เจตสิกมีผัสสะเป็นต้นผิดในธรรมนั้นๆ ทั้งหมด ๘๙ เพราะเกิดขึ้นในจิต ๘๙ เหล่านั้น โดยนิยม เพราะฉะนั้นเจตสิกทั้ง ๗ มีผัสสะเป็นต้น จึงชื่อว่าสรรพจิตสาธารณ์ ฯ ความตกลงใจ ชื่อว่าอธิโมกข์ ฯ ก็อธิโมกข์นั้น มีความตกลงใจเป็นลักษณะ พึงเห็นเหมือนเสาเขื่อน เพราะไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ ฯ ความเป็นแห่งบุคคลผู้กล้าหาญ หรือกรรมของบุคคลผู้กล้าหาญ ชื่อว่าความเพียร อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใด อันบุคคลพึงดำเนินไป คือพึงให้เป็นไปตามวิธี เพราะฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าความเพียร ได้แก่ความอุตสาหะ ฯ อุตสาหะนั้นมีการอุปถัมภ์สหชาต-ธรรมเป็นลักษณะ ฯ จริงอยู่ ด้วยอำนาจวิริยะ ความที่สหชาตธรรมเหล่านั้นเป็นไปย่อหย่อนจึงไม่ได้ ฯ ก็เพราะทำอธิบายอย่างนี้ วิริยะนี้มีความแตกต่างจากวิตกเป็นต้น จึงปรากฏเห็นได้ง่าย ฯ ความพอใจ ชื่อว่าฉันทะ คือความต้องการด้วยอารมณ์ ฉันทะนั้นมีความต้องการจะทำเป็นลักษณะ ฯ จริงอย่างนั้น ฉันทะนี้ท่านกล่าวว่า เหมือนยื่นมือออกไปในการที่ใจรับอามรณ์ ฯ

ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prakaimuk.k
วันที่ 12 ต.ค. 2549

ขออนุโมทนาค่ะ และอยากเรียนถามว่า จะหาซี้อหนังสืออภิธัมมัตถสังคหะ

ได้จากที่ไหนบ้างคะ?

ขอบพระคุณค่ะ....

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 12 ต.ค. 2549

หนังสื่ออภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา รวมทั้งหมด ๙ ปริเฉท อยู่ในเล่มเดียวกัน หาซื้อได้ที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย บางลำภูหน้าวัดบวร

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 29 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ