ใช้ธรรมะอะไรแก้ปัญหาความขัดแย้งกับผู้ร่วมงาน

 
orawan.c
วันที่  5 ต.ค. 2549
หมายเลข  2234
อ่าน  2,674

ดิฉันมีปัญหากับผู้ร่วมงาน ซึ่งเป็นน้องสาว คือมีการไม่ยอมรับการตัดสินใจของดิฉันและสั่งงานลูกน้องซ้ำซ้อน ปรึกษาหารือเรื่องงานที่ต้องคิดแก้ปัญหาด้วยกันก็คุยกันไม่เคยรู้เรื่อง ต้องเถียงกันทุกที อีกสารพัดปัญหาที่ขัดแย้งกันและพูดกันไม่รู้เรื่องในการทำงานซึ่งต้องทำร่วมกัน จึงอยากขอความอนุเคราะห์จากผู้มีประสบการณ์หรือผู้มีเมตตาจิต ช่วยชี้แนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ขออนุโมทนาล่วงหน้า


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 5 ต.ค. 2549

ปัญหาเรื่องความขัดแย้งกันเกี่ยวกับความคิด และการดำเนินงานกับผู้ร่วมงานย่อมมีได้ เมื่อมีความคิดความเห็นที่ไม่เหมือนกัน เมื่อปัญหาเกิดขึ้น ควรหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกันถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และช่วยกันแก้ปัญหาด้วยขันติและเมตตา คือ ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ แก้ทีละอย่าง ตกลงกันด้วยเหตุผล หรือแบ่งงานกันให้ชัดเจน ว่าแต่ละคนรับผิดชอบเท่าไหร่ เป็นต้น อาจช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หรือสมาชิกท่านอื่นมีวิธีแก้ปัญหาอย่างอื่น ก็ขอเชิญร่วมแสดงความเห็น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
narong.p
วันที่ 5 ต.ค. 2549

ใช้ธรรมอะไรแก้ปัญหาความขัดแย้งกับผู้ร่วมงาน?

จากคำถามแสดงให้เห็นถึงการมี "เรา" ที่จะใช้ธรรมเป็นเพราะความเข้าใจว่าไม่มีเรา ในขั้นการฟังยังเบาบางมากและหลงลืมสติ จึงยังคงมีชีวิตประจำวันด้วยความเป็นเราอย่างหนาแน่น เพราะความจริงคือไม่มีเรา ไม่มีใคร (เจ้าของกระทู้ก็รู้ ในขั้นการฟัง) จึงไม่มีใครที่จะใช้ธรรมได้ การแก้ปัญหา ต้องเข้าใจว่าอะไรมีจริง ขอย้ำว่า ใช้ธรรมไม่ได้ แต่สภาพธรรมมีจริงและเกิดด้วยเหตุปัจจัย และดับไป สืบต่อกันรวดเร็วมาก จนเกิดเป็นเรื่องราว มีเรามีเขาขัดแย้งกัน ตราบใดที่ยังมี เรา มี เขา อยู่ ก็ไม่หมดความขัดแย้ง เพราะสาเหตุของปัญหาคือ กิเลส

ส่วนจะให้เบาบาง ดีขึ้น ก็ขึ้นอยู่ว่า เรามีความเข้าใจมั่นคงเพียงใดในความจริงที่ว่า ทุกอย่างเป็นธรรมะ ก็จะละคลายความติดข้องและความเป็นเราซึ่งจะทำให้ความเห็นแก่ตัวน้อยลง เห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้นเสียสละและเมตตามากขึ้น ก็จะลดความขัดแย้งลงได้ ศึกษาธรรมแล้วก็ทราบดีว่า เป็นการรู้เพื่อ "ละ" ขัดเกลากิเลสตนเองลง ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะคิดไปแก้หรือเปลี่ยนผู้อื่น

ท้ายที่สุดก็คือ เมื่อใดที่ความขัดแย้งยังคงเกิดขึ้น ก็ไม่ควรเป็นทุกข์ เพราะมันเป็นเพียงสภาพธรรมไม่ใช่ เรา ที่ขัดแย้ง ก็คงต้องเก็บเล็กผสมน้อย จากการฟังแล้วฟังอีกต่อไปด้วยความอดทนตามที่ ท่าน อ. สุจินต์ กล่าวเสมอๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 5 ต.ค. 2549
ขอขอบคุณและอนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kanokwan
วันที่ 7 ต.ค. 2549

เรื่องของความขัดแย้งกับผู้ร่วมงาน โดยเฉพาะที่เป็นพี่น้องหรือญาติ เป็นปัญหาที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นสภาพธรรมะที่เกิดขึ้นอยู่เป็นปกติ ตามที่ได้ยินได้ฟังจากหลายๆ ท่าน และที่พบเห็นด้วยตนเอง เนื่องจากว่าความใกล้ชิด ความเคยชิน ประกอบกับความมุ่งมั่นในงานอย่างจริงจัง ทำให้หลงลืมสติได้ง่าย ในขณะที่ได้มีโอกาสฟังธรรมะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจธรรมะที่ถูกต้อง เพื่อสะสมทีละเล็กทีละน้อยตามที่ท่านอาจารย์สุจินต์แนะนำมาโดยตลอดนั้น และได้อ่านเรื่องของกุศลและอกุศล ซึ่งกุศล คือสภาพธรรมะที่ดีงาม ไม่เป็นโทษภัย หากเจริญได้ตลอดเวลาแม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนเป็นอุปนิสัย เป็นกำลัง จะเป็นปัจจัยหนึ่งให้ได้ละคลายการยึดถือตัวตนได้ จึงใช้เป็นหลักใหญ่ในการคิดพิจารณาเมื่อเกิดความขัดแย้งและการพิจารณาจิตในขณะนั้นๆ แทนการพิจารณาบุคคลที่เรากำลังโกรธ (ซึ่งทราบว่าหากเราพิจารณาบุคคลอื่นที่กำลังโกรธนั้น มักจะเป็นอกุศลทั้งนั้น)

แต่สิ่งหนึ่งที่พบเสมอ คือ การที่มักจะพิจารณาผู้อื่น และติติงผู้อื่นมากกว่าการที่จะระลึกถึงความเข้าใจของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น หรือมั่นคงในกุศล และละอกุศล โดยเท่าที่เคยประสบมา ก็คือ ยึดว่านี่เป็นน้องเรา เป็นลูกเรา ซึ่งเรามีความหวังดีมาก ต้องว่ากล่าวแนะนำ หรือคิดว่าความคิดของเราดีกว่า ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งเป็นระยะๆ

ดิฉันมีความเห็นว่า การระลึกเรื่องกุศลและอกุศล คงน่าจะเป็นสิ่งที่ ช่วยทำให้ปัญหาความขัดแย้งในการทำงานค่อยๆ ลดลงได้ แต่ถ้าจะให้หมดไป คงไม่มีใครทราบเพราะแล้วแต่เหตุและปัจจัยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 7 ต.ค. 2549

ขออนุโมทนากับทุกความเห็นที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูล คงน้อมรับมาใช้เท่าที่เป็นไปได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 10 ต.ค. 2549

ปัญหาเรื่องการขัดแย้งมีทุกที่ ไม่ว่าจะที่ทำงาน หรือที่บ้าน ที่สำคัญอยู่ที่คุณธรรมและการให้อภัย เราจะแก้คนอื่นคงจะยากมาก นอกจากให้เขาฟังธรรม เรื่องบารมีธรรม บรรยายโดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

สรุปคือ มีเมตตา และ มีความอดทน เป็นกุศล ไม่ใช่อดกลั้น ที่สำคัญคือให้อภัย

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 10 ต.ค. 2549

ผมเองก็เคยเจอปัญญหาคล้ายๆ กันครับ กับน้องชาย บอกก็แล้ว ปรึกษาก็แล้ว ชี้แจงก็แล้ว สุดท้ายก็ตบโต๊ะแล้วออกคำสั่ง พี่แกยังเฉย สรุปว่า ได้เท่าที่ได้ เท่าไหร่ก็เท่านั้น เพราะแกก็มีทิฏฐิในใจว่าแกถูก เราก็ทิฏฐิว่าเราถูก แม้ว่าเราจะเห็นว่าเราไม่ได้ตัดสินว่าเราเห็นถูก แต่เหตุผลมันถูกก็ตาม ก็ไหนบอกว่าทุกสิ่งอนัตตาไงคุณ?

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 17 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 29 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ