สถานที่ฝึกสมาธิ

 
เสกขา
วันที่  24 พ.ย. 2555
หมายเลข  22090
อ่าน  10,694

ขอคำแนะนำครับว่า มีสถานที่ไหน ที่เป็นที่ฝึกสมาธิที่เป็นถ้ำแบบเย็นๆ หรือที่เป็นป่าไม้ หรือหมู่แมกไม้ ร่มเย็น ในที่อากาศเย็นๆ กว่ากรุงเทพบ้างครับ ขอแบบไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาวนะครับ แล้วยังอนุญาต ให้กินข้าวได้สามมื้อ ครับ เพราะว่าผมกระเพาะไม่ดี ต้องกินให้ครบครับ

ขอขอบคุณมาล่วงหน้าเลยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต ซึ่งหากศึกษาโดยความละเอียดแล้ว สมาธิ องค์ธรรม คือ เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกที่แสดงถึงลักษณะของความตั้งมั่นในขณะนั้น ซึ่งเอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท ดังนั้น เกิดกับจิตที่เป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ ครับ

เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีสมาธิอยู่แล้ว ไม่ต้องฝึก เพราะ เอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภทและทุกขณะ เป็นขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะนั่นเอง จึงไม่ต้องฝึกก็มีสมาธิชั่วขณะอยู่แล้วครับ และที่สำคัญ เราจะต้องแยก คำว่า สมาธิ กับ การเจริญสมถภาวนา ออกจากกันครับ คือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต ซึ่งตามที่กล่าวแล้ว สมาธิ เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล ดังนั้น จึงมีความตั้งมั่นที่เป็นไปในอกุศลก็มี เรียกว่ามิจฉาสมาธิ และมีความตั้งมั่นที่เป็นไปในกุศลก็มี ที่เรียกว่าสัมมาสมาธิ ครับ ดังนั้น หากกล่าวคำว่า สมาธิ จึงไม่ได้ตัดสินเลยทันทีครับว่า เมื่อมีสมาธิแล้ว จะเป็นสิ่งที่ดีครับ

ดังนั้น การอบรมปัญญาในพระพุทธศาสนา จึงไม่ใช่ด้วยการนั่งสมาธิ แต่อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ปัญญาที่เจริญขึ้นจะปฏิบัติเอง โดยไม่ใช่การนั่งสมาธิ ความสงบจึงไม่ใช่เกิดจากการนั่งสมาธิ แต่ความสงบคือสงบจากกิเลส มีขณะที่เป็นกุศลและขณะที่เข้าใจพระธรรม ครับ

ดังนั้น แทนที่จะหาสถานที่ที่จะให้สงบ เพื่อนั่งทำสมาธิ ก็ควรจะแสวงหาความเข้าใจ คือปัญญา ที่เป็นธรรมที่จะทำให้ถึงการปฏิบัติที่ถูกต้อง และการดับกิเลสอันเกิดจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

จะนั่งสมาธิอีกแล้วครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เสกขา
วันที่ 25 พ.ย. 2555

ขอบคุณคุณ Paderm มากครับ ที่ช่วยเหลือให้มุมมองใหม่ๆ กับผมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kinder
วันที่ 25 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 26 พ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นที่สุด ก็ควรตั้งต้นด้วยความเข้าใจจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมไปตามลำดับ ไม่ควรตั้งต้นด้วยการไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ หรือด้วยความเป็นตัวตน มีความจดจ้องต้องการ เพราะทั้งหมดนั้นเป็นไปกับด้วยความไม่รู้ เมื่อตั้งต้นด้วยความไม่รู้แล้ว ผลก็คือ สะสมความไม่รู้ให้มีมากขึ้น พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องป้องกันความเข้าใจผิดความเห็นผิด เมื่อได้ศึกษาให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ไม่ประมาทในพระธรรมแต่ละคำ แม้แต่คำว่าสมาธิก็ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าได้ศึกษาแล้วจะเข้าใจว่า สมาธิ มีทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Khun
วันที่ 26 พ.ย. 2555

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Patikul
วันที่ 27 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 28 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Graabphra
วันที่ 29 พ.ย. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
jaturong
วันที่ 30 พ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Kalaya
วันที่ 16 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นค่ะ

ข้าพเจ้าเข้าใจผิดมานานค่ะ มิจฉาสมาธิโดยได้ชวนนักเรียนนั่งสมาธิในห้องเรียน คิดว่าเป็นการเกิดสมาธิ พอเข้าใจสัมมาสมาธิคือเอกัคคตาเจตสิก คือลักษณะความตั้งมั่นที่เกิดอยู่แล้วประกอบกับจิตทุกดวง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยคำกล่าวจากท่านอาจารย์และมูลนิธิฯ ก็ขอกราบขอบคุณทุกท่านค่ะ

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 8 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 8 ก.พ. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม ...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 30 เม.ย. 2564

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล โดยเฉพาะการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย

ขอเชิญอ่านพิ่มเติม ...

การทำสมาธิในสำนักปฏิบัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 30 เม.ย. 2564

ข้อความบางตอนจาการสนทนาธรรม...

"มิจฉาสมาธิ" กับ "สัมมาสมาธิ"

ท่านผู้ฟัง เห็นท่านพูดไว้เยอะ เรื่อง "สมาธิ" ในหลายที่

ท่านอาจารย์ ในพระไตรปิฎก มีคำว่า "มิจฉาสมาธิ" กับ "สัมมาสมาธิ" ไม่ควรจะเผิน ไม่ใช่พอได้ยินคำว่า "สมาธิ" ก็ชอบ และอยากจะมีสมาธิ ขณะมีสมาธิ ขณะนั้น จิตมั่นคง ไม่วอกแวก แต่ถ้าไม่มี "ปัญญา" เกิดร่วมด้วย แม้ขณะนั้น ก็ไม่สงบ เพราะว่า จริงๆ แล้ว ขณะที่เราต้องการจะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างเช่น ต้องการอ่านหนังสือ หรือไม่อยากให้ใครรบกวน ขณะนั้น อาจจะเห็น "ลักษณะของสมาธิ" ได้ แต่ว่า ขณะนั้นก็ไม่ใช่กุศลจิต

เพราะฉะนั้น ถ้าศึกษาพระธรรมโดยละเอียด จะต้องรู้ว่า การที่จิตหนึ่งขณะ ซึ่งเป็นธาตุรู้ จะเกิดขึ้นรู้สิ่ง (อารมณ์) เดียว ก็เพราะว่า ขณะนั้น มี "สภาพธรรมที่เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง" ซึ่งเป็น "สภาพธรรมที่มีลักษณะตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้" เพราะฉะนั้น จิตจึงรู้อารมณ์เดียว ทุกขณะ ที่จิตรู้อารมณ์เดียว เรียกว่า "ขณิกสมาธิ" ซึ่งมาจากคำว่า "ขณะ" และ "สมาธิ" มีสมาธิ (เจตสิก) เกิดพร้อมกับจิตทุกขณะ เมื่อจิตเกิดขึ้น จิตต้องรู้อารมณ์ทีละหนึ่งๆ เพราะจิตมีความตั้งมั่นในอารมณ์ทีละหนึ่ง

เพราะฉะนั้น ลักษณะของสมาธิเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกขณะ ไม่ได้ปรากฏว่าเป็นสมาธิอย่างที่เข้าใจกัน แต่ถ้ามีความตั้งมั่นในอารมณ์ใดนานพอสมควร "ลักษณะความตั้งมั่นของอารมณ์นั้น" ก็ปรากฏให้จิตรู้ได้ ที่ใช้คำว่า "สมาธิ" ถ้าไม่ประกอบด้วย "ปัญญา" ก็เป็นอกุศลจิต เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ อาจจะเข้าใจว่า อกุศลจิตเป็นกุศลจิต แต่ถ้ามีปัญญา ก็จะรู้ได้ว่า ขณะที่เป็นอกุศลจิต ไม่ใช่ขณะที่เป็นกุศลจิต โลภะเกิด เป็นอกุศลจิต โทสะเกิด เป็นอกุศลจิต โลภะ และโทสะ เกิดขึ้นเพราะ โมหะ คือ ความไม่รู้ เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่รู้ (ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง) ก็เป็น "ปัจจัย" ที่ทำให้อกุศลจิตเกิดขึ้น.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ