เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเรา จึงไม่มี

 
pirmsombat
วันที่  26 ต.ค. 2555
หมายเลข  21965
อ่าน  1,191

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน และความยึดถือ

มีมาแต่อะไร เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี

เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.

[๔๙๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)

ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัย นามและรูป

ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน

เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี

เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.

[๔๙๓] คำว่า ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความว่า

จักษุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป ประชุมธรรม ๓ ประการ

คือจักษุ รูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นจักษุสัมผัส

เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. โสตวิญญาณ

เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ประชุมธรรม ๓ ประการ คือหู เสียงใน

ส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นโสตสัมผัส เป็นผัสสะ

ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป แม้อย่างนี้. ฆานวิญญาณเกิดขึ้น

เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ประชุมธรรม ๓ ประการ คือจมูก กลิ่นใน

ส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นฆานสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะ

เกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยลิ้นและรส ประชุมธรรม ๓ ประการ คือลิ้น รสในส่วนรูป และ

สัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นชิวหาสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายเละโผฏ-

ฐัพพะ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือกาย โผฏฐัพพะในส่วนรูป และ

สัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นกายสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ

ธรรมารมณ์ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือวัตถุ รูป ในส่วนรูป ธรรม

ทั้งหลายที่มีรูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นมโนสัมผัส

เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้.

ว่าด้วย

ความยึดถือมี ความปรารถนาเป็นต้นเหตุ

[๔๙๔] คำว่า ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า

ตัณหา เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สราคะ ฯลฯ อภิชฌา

โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่าความยึดถือ ได้แก่ความยึดถือ ๒ ประการ คือความ

ยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือ

ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความยึดถือมีความ

ปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า ความยึดถือทั้งหลาย มีความปรารถนา

เป็นเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นการณะ

มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ความยึดถือมี ความปรารถนาเป็นนิทาน.

[๔๙๕] คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึง

ไม่มี ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ

ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ได้แก่ความ

ถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความถือว่าของเราด้วยตัณหา. ความถือว่า

ของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯ ลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯ ลฯ

นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี

ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ไม่ปรากฏ

ไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเราจึงไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ

ความถือว่าของเราเหล่านั้น อันพระสมณะละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว

ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
อารทธวิริโย
วันที่ 26 ต.ค. 2555

ขออนุญาตเพิ่มเติมน่ะ เพราะมีข้อความที่ละเอาไว้

ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา เป็นไฉน?

วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก

กำหนดถือเอายึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด

ย่อมยึดถือว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น

ว่าสิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา

สิ่งของของเรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค

ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น

ชนบท ฉางข้าว คลัง เป็นของของเรา

ย่อมยึดถือว่าเป็นของเราแม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา

ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา.

ความยืดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ เป็นไฉน?

สักกายทิฏฐิมีวัตถุ๒๐

มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐

อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐

ความไปคือทิฏฐิรกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ

เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ

เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยืดมั่น

ความยึดถือทางชั่ว ทางผิด ความผิด ลัทธิเดียรถีย์

ความถือโดยแสวงผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด

ความถือในสิ่งที่ไม่แน่นอนว่าแน่นอนจนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่า

ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pirmsombat
วันที่ 27 ต.ค. 2555

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ขอบคุณและอนุโมทนา ครับ

พร้อมกับ

ขอบคุณและอนุโมทนาทุกท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 27 ต.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kinder
วันที่ 28 ต.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
rrebs10576
วันที่ 29 ต.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ