อุเบกขาบารมีของพระนารทะ

 
nong
วันที่  14 ต.ค. 2555
หมายเลข  21890
อ่าน  7,674

ในพระสูตรพุทธวงศ์ เรื่องนารทชาดก พระนารทะสอนพระราชาให้คบมิตรดี ที่มีสัมมาทิฏฐิ ทำแต่ความดี เชื่อในผลบุญและบาป ขอเรียนถามว่าเกี่ยวโยงกับบำเพ็ญอุเบกขาบารมีของท่านอย่างไรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จากเรื่อง มหานารทกัสสปชาดกนั้น แสดงถึง อดีตชาติของพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งพระเจ้าวิเทหราชได้ฟังคำของเหล่าพวกที่เห็นผิด จึงเลิกทำบุญ และทำบาป มีความเห็นผิด พระราชธิดา ผู้มีความเห็นถูก จึงกล่าวธรรมแนะนำ พระราชบิดา และคราวนั้น นารทมหาพรหม ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เห็นพระราชาเป็นผู้มีความเห็นผิด จึงกล่าวธรรมแสดงธรรมให้พระราชาเกิดความเห็นถูกในขณะนั้น ซึ่ง ในชาดกแต่ะเรื่องนั้น ในการกระทำของพระโพธิสัตว์ ก็มีทั้งบารมี ๑๐ ประการ เพียงแต่ว่า ชาตินั้น พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงชาดกเรื่องนั้น เน้น บารมีเรื่องอะไร สำหรับ อุเบกขาบารมี คือ ความเป็นผู้วางเฉยด้วยปัญญา อันหมายถึง วางเฉยที่เป็นกุศลจิต ไม่หวั่นไหว เพราะ มีปัญญา ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นต้น เพราะฉะนั้น การวางเฉยด้วยความไม่รู้ ไม่ใช่อุเบกขาบารมี แต่การวางเฉยด้วยจิตที่ไม่เป็นอกุศล ไม่หวั่นไหว ด้วยปัญญา เป็นอุเบกขาบารมี เพราะฉะนั้น ท่านนารทพรหม มีการวางเฉยด้วยปัญญา ที่ไม่หวั่นไหวในการกระทำที่ไม่ดีของพวกที่มีความเห็นผิดทั้งหลายที่ทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน เพราะ นารทพรหมโพธิสัตว์ ย่อมเป็นผู้ดูแลสัตว์โลก นึกถึงประโยชน์ความสุขของผู้อื่นเสมอ หากไม่มีปัญญา ก็ย่อมไม่เกิดอุเบกขาบารมี ที่จะวางเฉย แต่เกิดความไม่ชอบ และใช้อำนาจของตน ทำร้ายผู้ที่ทำผิดได้ นี่ประการหนึ่ง จึงเป็นอุเบกขาบารมีไม่หวั่นไหวในความผิดของผู้อื่นที่กระทำ ครับ ซึ่ง ในชาดกหลายชาดก เทวดา เห็นการกระทำที่ไม่ดีของผู้อื่น ในโลกมนุษย์ ก็โกรธ บันดาลฝนไฟ เป็นต้น ทำลายมนุษย์ทั้งหลาย นี่คือผลของการไม่มีอุเบกขาบารมี ซึ่งมีเรื่องอย่างนี้หลายชาดกทีเดียว ครับ

อีกประการหนึ่ง พระโพธิสัตว์ นารท ย่อมไม่ยินดี ยินร้าย คือ ไม่ยินดี ลำเอียง แม้แต่ ตัวของพระราชา และ พระราชธิดา รวมทั้งผู้ที่มีความเห็นผิด ย่อมมีจิตเสมอกัน ในบุคคลทั้งหลาย ครับ นี่คือ อุเบกขาบารมีของ นารทกัสสปะ โพธิสัตว์

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 14 ต.ค. 2555

ขอบพระคุณมากค่ะ มีเพื่อนที่พึ่งเริ่มฟังซีดีธรรมะ เรื่องพุทธวงศ์ และสนใจสอบถามมาดังข้างต้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 14 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระโพธิสัตว์ เป็นผู้ที่สะสมบารมีเพื่อที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตของพระองค์ นั้น บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นตามกำลังของพระองค์เท่าที่จะเป็นไปได้ เป็นผู้มั่นคงในการที่จะสะสมสิ่งที่ดี เป็นผู้ไม่ทอดธุระในการที่จะช่วยเหลือผู้อื่น จากมหานารทกัสสปชาดก นี้แสดงก็แสดงให้เห็นชัดถึงความเป็นผู้มีจิตมั่นคงของพระโพธิสัตว์ในการที่จะปลดเปลื้องให้ผู้อื่นละทิ้งความเห็นที่ผิด ไม่ทอดธุระในการช่วยเหลือ เพราะอุเบกขา ไม่ใช่การอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำอะไร แต่พระองค์ก็ทรงช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างแท้จริง จนในที่สุดพระเจ้าอังคติราช (ในชาติสุดท้ายได้เป็นพระอุรุเวลกัสสปะ พระอรหันต์รูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น หนึ่งในชฏิล ๓ พี่น้อง) ได้ละความเห็นผิด ครับ

...ขอบพระคุณ อ. ผเดิม และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 14 ต.ค. 2555

อุเบกขาบารมี คือ ความไม่หวั่นไหวในความสุขและความทุกข์ของผู้อื่น เป็นความวางเฉยที่ประกอบด้วยปัญญา เช่น พระโพธิสัตว์โดนเด็กแกล้ง และ มีคนชม ก็ไม่หวั่นไหวทั้งคนชมและการแกล้ง ต่างมีจิตเสมอกัน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 15 ต.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.คำปั่น, อ.ผเดิม และทุกๆ ท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 15 ต.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Thanapolb
วันที่ 6 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อุเบกขาของปุถุชน ย่อมต่างจากอุเบกขาของพระโพธิสัตว์ และยิ่งต่างจากอุเบกขาของพระอริยบุคคลมากทีเดียว

อยากเรียนถามด้วยคน อุเบกขาของปุถุชน ที่เกิดกับอกุศล ก็มักจะมีความเห็นผิดเจือด้วยพอสมควร ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมให้เข้าใจ และสติไม่ระลึกในสภาพธรรมะตามความเป็นจริง ใช่ไหมครับ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 8 เม.ย. 2556

เรียนความเห็นทื่ 7 ครับ

อุเบกขา ที่เป็นความรู้สึกเฉยๆ เกิดกับจิตที่เป็นกุศลจิต และ อกุศลจิตทุกประเภท ซึ่ง ปุถุชน ที่มีอกุศลเกิดมาก ซึ่งมีความรู้สึกเฉยๆ เกิดร่วมด้วย ไม่จำเป็นจะต้องมีความเห็นผิด เกิดร่วมด้วยบ่อยๆ ครับ เพราะ ความเห็นผิดเกิดร่วมกับ โลภะ ที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง แต่ ในชีวิตประจำวัน โดยมาก เกิดโลภะ ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวงมากกว่า ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ก.ค. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ