อรรถกถาอภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘.. ธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนื่อง ๆ ๑๐ ประการ (๒)

 
pirmsombat
วันที่  16 ส.ค. 2555
หมายเลข  21567
อ่าน  1,466

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อรรถกถาอภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘

อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปพฺพชิเตน ได้แก่ ผู้ละฆราวาส การครองเรือนเข้าถึงการ

บวชในพระศาสนา. บทว่า อภิณฺหํ แปลว่า เนืองๆ บ่อยๆ . บทว่า

ปจฺจเวกฺขิตพฺพา แปลว่า พึงสำรวจดู พึงกำหนดดู.

บทว่า เววณฺณิยํ แปลว่า ความมีเพศต่าง ความมีรูปต่างๆ ก็

ความมีเพศต่างนั้นมี ๒ อย่าง คือ ความมีเพศต่างโดยสรีระ ๑ ความ

มีเพศต่างโดยบริขาร ๑ บรรดาความมีเพศต่าง ๒ อย่างนั้น ความมีเพศต่าง

โดยสรีระ พึงทราบได้ด้วยการปลงผมและหนวด. ก็ก่อนบวช แม้นุ่งผ้า

ก็ต้องใช้ผ้าดีเนื้อละเอียด ย้อมสีต่างๆ แม้บริโภคก็ต้องกินรสอร่อยต่างๆ

ใส่ภาชนะทองและเงิน แม้นอนนั่งก็ต้องที่นอนที่นั่งอย่างดีในห้องสง่างาม

แม้ประกอบยาก็ต้องใช้ เนยใส เนยข้น เป็นต้น ตั้งแต่บวชแล้ว จำต้องนุ่งผ้าขาด ผ้าปะ ผ้าย้อมน้ำฝาด จำต้องฉันแต่ข้าวคลุกในบาตรเหล็ก

หรือบาตรดิน จำต้องนอนแต่บนเตียงลาดด้วยหญ้าเป็นต้น ในเสนาสนะ

มีโคนไม้เป็นอาทิ จำต้องนั่งบนท่อนหนึ่งและเสื่อลำแพนเป็นต้น จำต้อง

ประกอบยาด้วยน้ำมูตรเน่าเป็นต้น. พึงทราบความมีเพศต่างโดยบริขาร

ในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็มรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมละโกปะ

ความขัดใจ และมานะความถือตัวเสียได้.

บทว่า ปรปฏิพทฺธา เม ชีวิกา ความว่า บรรพชิตพึงพิจารณา

อย่างนี้ว่า ความเป็นอยู่ด้วยปัจจัย ๔ จำต้องเกี่ยวเนื่องในผู้อื่น อิริยาบถ

ก็สมควร อาชีวะการเลี้ยงชีพก็บริสุทธิ์ ทั้งเป็นอันเคารพยำเกรงบิณฑ-

บาต ชื่อว่าเป็นผู้บริโภคไม่พิจารณาในปัจจัย ๔ ก็หามิได้.

บทว่า อญฺโญ เม อากกฺโป กรณีโย ความว่า บรรพชิตพึงพิจารณา

ว่าอากัปกิริยาเดินอันใดของเหล่าคฤหัสถ์ คือย่างก้าวไม่กำหนด โดยอาการ

ยืดอกคอตั้งอย่างสง่างาม เราพึงทำอากัปกิริยาต่างไปจากอากัปกิริยาของ

คฤหัสถ์นั้น เราพึงมีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ มองชั่วแอก ย่างก้าวกำหนด

แต่น้อย [ไม่ย่างก้าวยาว] พึงเดินไปเหมือนนำเกวียนบรรทุกน้ำไปในที่

ขรุขระ. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมมีอากัปกิริยาสมควร

สิกขา ๓ ย่อมบริบูรณ์.

ศัพย์ว่า กจฺจิ นุ โข รวมนิบาตลงในความกำหนด. บทว่า อตฺตา

ได้แก่ จิต. บทว่า สีลโต น อุปวทติ ได้แก่ ไม่ตำหนิตนเองเพราะศีลเป็น

ปัจจัยอย่างนี้ว่าศีลของเราไม่บริบูรณ์. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้

ย่อมตั้งหิริความละอายขึ้นภายใน. หิรินั้น ก็ให้สำเร็จความสำรวมใน

ทวารทั้ง ๓. ความสำรวมในทวารทั้ง ๓ ย่อมเป็นจตุปาริสุทะศีล บรรพ-

ชิตผู้ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้.บทว่า อนุวิจฺจ วิญฺญ สพฺรหฺมจารี ความว่า เหล่าสพรหมจารีผู้

ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกับผู้เป็นบัณฑิต พิจารณาใคร่ครวญแล้ว. ด้วยว่า

บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาปภายนอก

ย่อมตั้งขึ้น. โอตตัปปะนั้น ย่อมให้สำเร็จความสำรวมในทวารทั้ง ๓.

ดังนั้น จึงควรทราบโดยนัยในลำดับถัดมานั้นแล.

บทว่า นานาภาโว วินาภาโว ความว่า ความเป็นต่างๆ เพราะ

เกิดมา ความพลัดพราก เพราะมรณะ. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่าง

นี้ ชื่อว่าไม่มีอาการคือประมาทในทวารทั้ง ๓. มรณัสสติ ความระลึก

ถึงความตาย ก็เป็นอันตั้งลงด้วยดี.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 17 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 17 ส.ค. 2555

อรรถกถาท่านอธิบายได้ละเอียดลึกซึ้งดีจริงๆ ครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอและทุกๆ ท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kinder
วันที่ 17 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ