สัญญา ทิฏฐิ วิตก บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ

 
pirmsombat
วันที่  13 มี.ค. 2555
หมายเลข  20760
อ่าน  1,299

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 437

. คิญชกาวสถสูตร

ว่าด้วยสัญญา ทิฏฐิ วิตกเป็นต้น

[๓๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระตำหนัก ที่สร้างด้วยอิฐ ใกล้หมู่บ้านของพระญาติ. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้ มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ ทิฏฐิบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ วิตกบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ.

[๓๖๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระ กัจจานะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิ ที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธะ ในบุคคลที่มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ ย่อมปรากฏเพราะอาศัยอะไร.

[๓๖๓] พ. ดูก่อนกัจจานะ ธาตุคืออวิชชานี้ เป็นธาตุใหญ่แล ดูก่อนกัจจานะ สัญญาที่เลว ทิฏฐิที่เลว วิตกที่เลว เจตนาที่เลว ความ ปรารถนาที่เลว ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยธาตุที่เลว บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่เลว เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่เลวนั้น ย่อมเลว ดูก่อนกัจจานะ สัญญา ที่ปานกลาง ทิฏฐิที่ปานกลาง วิตกที่ปานกลาง เจตนาที่ปานกลาง ความ ปรารถนาที่ปานกลาง ความตั้งใจที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลาง วาจา ที่ปานกลาง บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลางนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่ปานกลาง เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่ปาน กลางนั้น เป็นปานกลาง

ดูก่อนกัจจานะ สัญญาที่ประณีต ทิฏฐิที่ประณีต วิตกที่ประณีต เจตนาที่ประณีต ความปรารถนาที่ประณีต ความตั้งใจ ที่ประณีต บุคคลที่ประณีต วาจาที่ประณีต บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ ที่ประณีต บุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อม แต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่ประณีต เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมประณีต.

จบคิญชกาวสถสูตรที่ ๓

อรรถกถาคิญชกาวสถสูตรที่

พึงทราบวินิจฉัยใน คิญชกาวสถสูตรที่ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ธาตุํ ภิกฺขเว ท่านแสดงว่า ธาตุคืออัธยาศัยจำเดิมแต่นี้.

บทว่า อุปฺปชฺชติ สญฺญา ความว่าสัญญา ย่อมเกิดขึ้น อัธยาศัย ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิตก ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย. แม้ในที่นี้ พระผู้มี พระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เพื่อให้โอกาสแก่ กัจจานะนั้นด้วยพระดำริว่า กัจจานะจักถามปัญหา ดังนี้.

บทว่า อสมฺมาสมฺพุทเธสุ ได้แก่ ในครูทั้งหก.

บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธา ความว่า เราเป็น พระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ.

บทว่า กึ ปฏิจฺจ ปญฺญายติ กัจจานะถามทิฏฐิที่เกิดขึ้นแก่ครูทั้งหลายว่า เมื่ออะไรมี ทิฏฐิจึงมี จึงถามทิฏฐิแม้ของสาวกเดียรถีย์ ที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระ สัมมาสัมพุทธเหล่านั้น ในบุคคลที่มิใช่พระสัมมาสัมพุทธะ. บัดนี้ เพราะสาวกเดียรถีย์เหล่านั้นมีทิฏฐิ เพราะอาศัยธาตุคือ อวิชชา ก็ธาตุใหญ่ ชื่อว่า ธาตุคืออวิชชา ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงอาศัยธาตุใหญ่ ทรงแสดงความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐินั้น จึงตรัสพระ ดำรัสเป็นต้นว่า มหตี โข เอสา.

บทว่า หีนํ กจฺจาน ธาตุํ ปฏิจฺจ ได้แก่ อาศัยอัธยาศัยเลว.

บทว่า ปณิธิ แปลว่า ความตั้งจิต. ก็ความ ตั้งจิตนี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปรารถนาความเป็นหญิง หรือความ เป็นดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น.

บทว่า หีโน ปุคฺคโล ความว่า ธรรมเลว เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลใดแม้บุคคลนั้น ก็ชื่อว่าเลว.

บทว่า หีนา วาจา ความว่า วาจาใด เป็นวาจาของบุคคลนั้น แม้วาจานั้น ก็จัดว่าเลว.

บทว่า หีนํ อาจิกฺขติ พึงประกอบบททุกบทว่า บุคคล นั้นแม้เมื่อบอก ก็บอกแต่สิ่งที่เลวเท่านั้น แม้เมื่อแสดง ก็แสดงแต่สิ่งที่ เลวเท่านั้น.

บทว่า อุปปตฺติ ได้แก่ อุปบัติ ๒ อย่างคือ การได้เฉพาะ และ การเกิด. การเกิด พึงทราบด้วยอำนาจกุศลที่เลวเป็นต้น การได้เฉพาะ พึงทราบด้วยอำนาจความเลว ๓ หมวด ในขณะจิตตุปบาท.

ถามว่า อย่างไร.

ตอบว่า ก็เพราะเขาเกิดในตระกูลต่ำ ๕ ตระกูล ชื่อว่า การเกิดที่เลว เพราะเกิดในตระกูลแพศย์และศูทร ชื่อว่า ปานกลาง เพราะเกิดใน ตระกูลกษัตริย์และพราหมณ์ ชื่อว่าประณีต. ก็เพราะได้เฉพาะอกุศล จิตตุปบาท ๑๒ ดวง ชื่อว่า การได้ที่เลว เพราะการได้ธรรมที่เป็นไป ในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปานกลาง เพราะได้โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า ประณีต ส่วนในที่นี้ประสงค์เอาการเกิดอย่างเดียว.

จบอรรถกถาคิญชากาวสถสูตรที่ ๓


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
kinder
วันที่ 13 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 14 มี.ค. 2555

ขอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ