วัวที่ผูกไว้ในคอก

 
chaweewanksyt
วันที่  14 ก.พ. 2555
หมายเลข  20551
อ่าน  1,127

อยากอ่านพระไตรปิฎก ตอนวัวที่ผูกไว้ในคอก แต่หาไม่เจอ รบกวนด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 14 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สังโยชน์ (หรือ สัญโญชน์) หมายถึง กิเลสที่เป็นเครื่องผูกมัดเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ไม่ให้ออกไปจากวัฏฏะ เป็นนามธรรมฝ่ายที่เป็นอกุศล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงเหล่านี้ ตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษา คือ เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เห็นโทษเห็นภัยของอกุศลที่มีมากเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นผู้ไม่ประมาทในการที่จะได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาจนกว่ากิเลสทั้งปวงจะถูกดับหมดสิ้นไป ซึ่งจะต้องเป็นมรรคจิตแต่ละขั้นเท่านั้นที่จะสามารถดับสังโยชน์ได้ อันเป็นผลมาจากการอบรมเจริญปัญญา นั่นเอง กล่าวคือ

สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม) สีลัพพตปรามาส (การลูบคลำยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด) อิสสา (ความริษยา) และ มัจฉิริยะ (ความตระหนี่) ดับได้ด้วยโสตาปัตติมรรคจิต

กามราคะ (ความติดข้องยินดีพอใจในกาม) ปฏิฆะ (ความโกรธความขุ่นเคืองใจ,โทสะ) ดับได้ด้วยอนาคามิมรรคจิต

รูปราคะ (ความติดข้องในรูปภพ) อรูปราคะ (ความติดข้องในอรูปภพ) ซึ่งเป็นภวราคะ อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่านไม่สงบแห่งจิต) มานะ (ความสำคัญตน) อวิชชา (ความไม่รู้) ดับได้ด้วยอรหัตตมรรคจิต [สังโยชน์จะถูกดับได้อย่างหมดสิ้น เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องถูกกิเลสผูกไว้ในวัฏฏะอีกต่อไป ] ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 15 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาอ.ผเดิม, อ.คำปั่นด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
jaturong
วันที่ 15 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chaweewanksyt
วันที่ 15 เม.ย. 2555

สาธุ

สาธุ

สาธุ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 15 เม.ย. 2555

การเจริญสติปัฏฐาน คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เปรียบเหมือนโคที่ถูกแยกออกเป็นส่วนๆ หาความเป็นโคไม่ได้อีกเลย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 15 เม.ย. 2555

การเจริญสติปัฏฐาน คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เปรียบเหมือนโคที่ถูกแยกออกเป็นส่วนๆ หาความเป็นโคไม่ได้อีกเลย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chaweewanksyt
วันที่ 15 เม.ย. 2555

สาธุ

สาธุ

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ