กลด

 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่  24 ม.ค. 2555
หมายเลข  20433
อ่าน  3,767

สมัยพุทธกาลพระสงฆ์ใช้ กลด หรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา กล่าวถึงเรื่องกลดไว้น้อยมากครับ

และไม่ทราบว่า กลด สมัยโบราณเป็นอย่างไร หลักฐานไม่ปรากฏชัดว่ามีลักษณะอย่างไร และเมื่อย้อนไปดูคำบาลีเดิม ท่านใช้คำว่า ฉตฺตํ สำนวนที่นิยมแปลกันว่า กลด หรือ ร่ม และในพระวินัยปิฎกบัญญัติ กลด ว่า เป็นลหุภัณฑ์แจกกันได้ แต่ถ้าขนาดใหญ่ เป็นครุภัณฑ์ เป็นเสนาสนะ

อนึ่งพระภิกษุสมัยครั้งพุทธกาลท่านเป็นผู้มีความมักน้อยและสันโดษอย่างยิ่ง การเที่ยวจาริกไป มีบริขารติดตัวเพียง ๘ อย่างเท่านั้น ซึ่งไม่มี กลด รวมอยู่ด้วย แต่กลด หรือ ร่มขนาดใหญ่ ควรจะเป็นของประจำเสนาสนะ ของสงฆ์ ครับ

ข้อความที่กล่าวถึงกลดจากพระบาลีมีตัวอย่างดังนี้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

[๔๙] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนกลด กลดถูกลมหัวด้วนพัด บาตรตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนกลด รูปใดเก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.


พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

ข้อความบางตอนจากอรรถกถา

อนึ่ง ของเช่นนี้ คือ ด้ามมีดที่ทรงอนุญาต ด้ามและปีกกลด ไม้เท้า รองเท้า ไม้สีไฟ กระบอกกรอง กระติกน้ำทรงมะขามป้อม หม้อน้ำทรงมะขามป้อม กระติกน้ำลูกน้ำเต้า หม้อน้ำหนัง หม้อน้ำทรงน้ำเต้า กระติกน้ำทำด้วยเขา จุน้ำไม่เกินบาทหนึ่ง แจกกันได้ทุกอย่าง เขื่องกว่านั้นเป็นครุภัณฑ์.


แม้มีดน้อย ย่อมเป็นเครื่องบริหารกาย ในคราวที่เหลาไม้สีฟันและในคราวที่ทำขาเตียง ตั่ง และคันกลด

วันหนึ่งพระศาสดาทรงเห็นท่านพระเถระ ไม่ได้เสนาสนะนั่งอยู่ในกลดเพราะมาถึงเวลาวิกาลเกินไป วันรุ่งขึ้นจึงให้ประชุมภิกษุสงฆ์แสดงเรื่องช้าง ลิง และนกกระทา แล้วทรงบัญญัติ สิกขาบทว่า ท่านพึงให้เสนาสนะตามลำดับผู้แก่.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง คือ เครื่องนุ่งหุ่ม อาหารบิณฑบาต ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค สำหรับบรรพชิตแล้ว มีบริขารเครื่องใช้ ๘ ประการ คือ อันตรวาสก (ผ้านุ่ง หรือ ผ้าสบง) อุตตราสงค์ (จีวร ผ้าสำหรับห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อน) บาตร มีดโกน เข็ม ประคดเอว และธมกรก (ที่กรองน้ำ) ซึ่งเรียกว่า อัฏฐบริขาร

เวลาที่ท่านเดินทางจาริกไปในที่ต่างๆ บริขารเครื่องใช้ต่างๆ ของท่านก็ไม่เกินไปจากบริขาร ๘ นี้

ในพระไตรปิฎก มีคำว่า "กลด" ซึ่งที่อาจารย์ประเชิญได้ยกมานั้น ชัดเจนมาก นอกจากนั้น ในที่บางแห่ง แม้จะใช้คำว่า "กลด" แต่ก็ไม่ได้หมายถึงการเตรียมสิ่งที่เรียกว่ากลดอันเป็นสิ่งของประจำเสนาสนะติดตัวไปด้วย เพียงแต่ถ้าเป็นในที่แจ้ง ภิกษุก็สามารถกั้นกลดได้ ซึ่งคำว่า กลด ในที่นี้แปลมาจากภาษาบาลีว่า "จีวรกุฏิ" ซึ่งก็คือ การนำจีวรมากั้นเพื่อเป็นที่มุงที่บังเท่านั้น

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

บทว่า อพฺโภกาสํ ได้แก่ ที่ไม่ได้มุงบัง. ก็เมื่อภิกษุประสงค์จะทำกลดอยู่ในที่นี้ก็ได้.

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

บทว่า อพฺโภกกาสํ ได้แก่ ที่ไม่มุงบัง. แต่ภิกษุประสงค์ ก็กั้นกลดอยู่ในที่นั้นได้

..ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์ประเชิญและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งในพระไตรปิฎก ก็มีการแสดงเรื่อง การใช้กลด แต่ไม่มีแสดงว่า ภิกษุทั้งหลาย แบก กลด ไปด้วยครับ อย่างในเรื่องของท่าน พระสารีบุตร ที่ท่านไม่ได้ เสนาสนะ เนื่องด้วย พระฉัพพัคคีย์ จองเสนาสนะ ให้กับพระสนิททั้งหลายจนหมด ท่านพระสารีบุตร ก็ได้ ใช้ กลด อยู่ข้างนอก ซึ่ง ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้มักน้อย สันโดษอย่างยิ่ง ท่านจึงไม่มี บริขารเพิ่มที่เป็นกลด แบกเพิ่มเติมไปด้วยแน่นอนครับ ดังนั้น ท่านจึงใช้ของที่มีอยู่ ทำกลด คือ ทำเป็นที่มุงบัง โดยใช้ ผ้า คือ จีวร มุงบังตลอดทั้งคืน เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงทราบเหตุการณ์ จึงประชุมภิกษุสงฆ์ และก็ให้เคารพ ตามพรรษา ให้เสนาสนะ กับ ผู้ที่มีพรรษาแก่กว่าก่อนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
captpok
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jaturong
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ