พลังจิต

 
วิริยะ
วันที่  12 ม.ค. 2555
หมายเลข  20350
อ่าน  8,281

เรียนถาม

อยากทราบว่า พลังจิตคืออะไร เกี่ยวข้องกับธรรมหรือไม่ อย่างไร

ขอบพระคุณอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พลังจิต โดยทั่วไปของชาวโลก ก็คือ การทำจิตให้มีกำลัง สามารถทำสิ่งต่างๆ โดยอาศับการฝึกอบรมจิต เช่น การทำให้วัตถุเคลื่อนไหว ด้วยการฝึกสมาธิ จดจ้องอยู่กับสิ่งนั้น จึงชื่อว่า ใช้พลังจิต คือ จิตมีพลัง เพราะการฝึกอบรมจิต ทำให้สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องอาศัย ร่างกาย เพียงใช้จิตเท่านั้น

แต่ในสัจจะ ความจริงของพระพุทธศาสนานั้น ก็ต้องพิจารณาไปทีละคำ และความ เกี่ยวพันกันของสภาพธรรมครับ เช่น คำว่า จิต จิตไม่ได้มีพลัง ที่เป็นกระแสแม่เหล็ก ตามที่ชาวโลกเข้าใจกัน แต่ จิต เป็นเพียงสภาพรู้เท่านั้น ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการรู้ รู้ สิ่งต่างๆ และเกิดขึ้นและดับไป มีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น แต่จิต มีหลายประเภท จิตที่ดี ที่ เป็นกุศลก็มี จิตที่ไม่ดี เป็นอกุศลก็มี และแม้จิตที่ดี ก็ยังแบ่งเป็นจิตหลายประเภท เช่น กุศลขั้นต่ำ และกุศลขั้นสูง

ซึ่งเมื่อได้ศึกษาพระธรรมโดยละเอียด ก็จะรู้ว่า เมื่อจิตเกิดขึ้น โดยมากก็มีรูปเกิดขึ้นร่วม ด้วย เป็นจิตตชรูป ดังนั้น รูปที่ดี ประณีตก็ต้องเกิดจากกุศลจิต ยิ่งกุศลจิตที่ดี ประณีต เท่าไหร่ รูปที่ดี ก็ประณีต ก็ดีมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น กุศลบางประการ ที่เป็นกุศลที่มีกำลัง ก็เป็น จิตที่มีกำลัง เป็น มหัคคตจิต คือ จิตที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา ที่เป็นฌานจิต ดังนั้น เมื่อจิตที่อบรมดีแล้ว ด้วยการเจริญสมถภาวนา (ไม่ใช่สมาธิ เพราะสมาธิมี ทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ) ย่อมทำให้จิตมีกำลังด้วยอำนาจของกุศลจิตที่เกิดบ่อยๆ จนได้ฌานและประกอบด้วยปัญญา เมื่อได้ฌานสูงสุดและอบรมคล่องแคล่ว ชำนาญ ย่อมเป็นผู้สามารถทำฤทธิ์ต่างๆ เพราะอาศัยจิตที่มีกำลัง ที่เป็นกุศลนะครับ และประกอบด้วยปัญญาถึงฌานสูงสุด ทำให้เกิดรูปที่ละเอียดที่ดี ทำให้หายตัวได้ เดินผ่านกำแพง ก็ได้ เป็นต้นครับ ดังนั้น จะเรียกว่า พลังจิตก็ได้ ที่เป็น อภิญญาจิต ที่อบรมฌานสูงสุด จนสามารถแสดงฤทธิ์ได้ แต่ต้องเป็นการอบรมสมถภาวนา คือ มีปัญญารู้ว่าจะอบรมกุศล ให้เกิดต่อเนื่องอย่างไร และอบรมจนได้ฌานสูงสุด ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก เพราะต้องเป็น ผู้ที่สะสมปัญญาและอัธยาศัยในด้านนี้จริงๆ

ดังนั้น พลังจิตที่ชาวโลกเข้าใจ จึงไม่ตรง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะไม่เข้าใจว่า จิตเป็นเพียงสภาพรู้ และเข้าใจว่า ต้องทำสมาธิ ฝึกจิต โดยไม่เข้าใจว่า ต้องเป็นการเจริญสมถภาวนา ที่เป็นการเจริญกุศล ประกอบด้วยปัญญา ชื่อว่าเป็นการฝึกจิต จนจิตมีกำลัง มีกำลัง เพราะเป็นกุศล ประกอบ ด้วยปัญญานั่นเองครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 13 ม.ค. 2555

ผู้ที่ "ทำ" มิจฉาสมาธิ ก็สามารถทำให้จิตมีพลังได้ แต่ไม่ใช่จิตที่ดีตามหลักพระพุทธศาสนา อยากทราบว่า จิตที่เกิดจากมิจฉาสมาธิ มีผลอะไรต่อบุคคลผู้นั้น และผู้คนรอบข้าง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 13 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

มิจฉาสมาธิ ในพระไตรปิฎก แสดงครับว่า มิจฉาทิฏฐิ ย่อมนำไปสู่ มิจฉาวิมุติ คือ ไม่มีทางหลุดพ้น เพราะจะทำให้เจริญในอกุศล เพราะตั้งมั่น จดจ่อในสิ่งใด สิ่งหนึ่งด้วยจิตที่เป็นอกุศลธรรม และเมื่อเจริญมิจฉาสมาธิมากๆ ก็เท่ากับเจริญอกุศลมากขึ้นด้วย มีผลต่อผู้ที่ทำ คือ เกิดอกุศลบ่อยๆ และไม่มีทางหลุดพ้นได้เลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 13 ม.ค. 2555

ถ้าไม่กล่าวถึงการหลุดพ้น อยากทราบว่า ในการมีมิจฉาสมาธิ ในเบื้องต้น ก็อาจมีอาการผิดปรกติได้ใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 13 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

แน่นอนครับ เพราะเจริญอกุศลอยู่ เมื่อ อกุศลจิตเกิดขึ้น ก็ต้องมีรูปที่เกิดจากจิตด้วยที่เป็นรูปที่ไม่ดี ย่อมเกิดอาการผิดปกติได้ จากการเจริญมิจฉาสมาธิครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 13 ม.ค. 2555

ในปัจจุบัน มีการบำบัดจิตด้วยวิธีการสะกดจิต สิ่งนั้นเรียกว่ามีพลังจิตหรือไม่ จะอธิบายเช่นไรในทางพุทธศาสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 14 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

การบำบัดด้วยวิธีการสะกดจิต ก็คือ การให้ผู้ป่วย ระลึกนึกถึง ตามคำที่ผู้นั้นพูด และ ก็ให้ผู้ป่วยพูดในสิ่งที่เคยจดจำมา เป็นต้น ซึ่งก็เป็นเพียงการเบี่ยงเบนความคิด แทนที่ จะคิดในเรื่องความป่วยที่ตนเองเป็นอยู่ ซึ่งหากคิดแต่เรื่องความป่วยบ่อยๆ จิตเป็นอกุศล อกุศลเกิดบ่อยขึ้นก็อาจทำให้ป่วยมากขึ้น เพราะรูปที่เกิดจากจิตที่ไม่ดี เกิดขึ้นบ่อยๆ ครับ ก็ทำให้ป่วยมากขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย จดจ่ออยู่ที่อื่น และไม่คิดเรื่อง นั้น ก็อาจทำให้ป่วยน้อยลงได้ แต่ไม่จำเป็นจะต้องหาย ทุกคน

ดังนั้น ความป่วย จะหายได้ ก็เพราะกรรมก็มีที่ทำให้ป่วย หรือ หายโรค ดังนั้น เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่เป็นเพียงการเบี่ยงเบนความคิดเท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ม.ค. 2555

ตามความเห็นที่ 7

ที่ได้กรุณาอธิบายมา ก็ทำให้พอเข้าใจได้ แต่ในปัจจุบันนี้ เรามักพบ เห็นศาสตร์แปลกๆ พิธีกรรมแปลกๆ อาทิ การสวดไล่ผีที่มีผู้คนนั่งอยู่ในวง แล้วจู่ๆ ก็ลุกขึ้นมาเต้น หรือพิธีไหว้ครูซึ่งก็มีผู้ที่ลุกขึ้นมารำฟ้อน หรือจู่ๆ คนปกติๆ ที่มีอาการร้อน และ ต้องกลายเป็นร่างทรงไปในที่สุด หรือ คนที่กำลังคุยอยู่กับเราดีๆ ก็กลายเป็นผู้มีอาการ ผิดปรกติโดยมีการพูดที่เป็นเสียงเล็กๆ เหมือนเป็นเด็ก เหล่านี้ เกี่ยวกับพลังจิต หรือ พลังลึกลับอะไรหรือไม่อย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วมีใครที่จะมีอำนาจหรือพลังที่จะทำให้บุคคลปกติกลายเป็นคนเช่นนั้น หรือมีอาการเช่นนั้น

ดิฉันศึกษาพระพุทธศาสนา ดิฉันก็มีความอุ่นใจว่า ดิฉันเคารพพระพุทธเจ้าและในพระธรรม พระพุทธเจ้าตรัสรู้สิ่งใด ดิฉันก็ศึกษาไปตามกำลัง บางครั้งเกิดความเกียจคร้านขึ้นมาบ้าง เบื่อบ้าง และบ่อยครั้งที่อยากรู้เรื่องราวหาเหตุผลบ้าง อย่างเช่นสิ่งที่ดิฉันกำลังเรียนถามอยู่ในขณะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 14 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

ที่มีอาการผิดปกติต่างๆ ก็ไม่พ้นจากจิตของตนเองที่คิดเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ จึงทำตามจิตที่คิดนึก ว่าเป็นเด็ก เป็นกุมาร เป็นบุคคลต่างๆ ก็เลยทำตามใจที่คิดนึกเท่านั้นเอง ไม่มีใครทำใครได้ นอกจากใจที่เป็นความคิดนึกปรุงแต่งของตนเองเท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เซจาน้อย
วันที่ 14 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
วิริยะ
วันที่ 15 ม.ค. 2555

เรียนถาม

จากความเห็นที่ 9 ท่านกล่าวว่าอาการผิดปรกติต่างๆ เกิดจากจิตคิดนึกและการปรุงแต่ง อยากเรียนถามถึงเหตุผลให้ลึกเข้าไปกว่านั้นว่า จิตคิดนึก และการปรุงแต่งจนกระทั่ง เกิดอาการผิดปรกตินั้น เนื่องด้วยเหตุผลอะไร บุคคลที่มีอาการผิดปรกตินี้ มิใช่คนกลุ่มใหญ่ แต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่ ดิฉันเข้าใจว่า จิตจะคิดและปรุงแต่ง ใครก็ห้ามไม่ได้ แต่ทำไม ถึงได้คิดจนผิดเพี้ยนขนาดนี้ ในทางพุทธศาสนา น่าจะมีคำตอบ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 15 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 11 ครับ

เพราะความไมรู้ ที่เป็นโมหะ ประกอบด้วยอุทัจจะ ความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้เกิดความหลงลืมสติ ทำสิ่งต่างๆ ตามความคิดปรุงแต่ง ว่าตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และฟุ้งซ่านบ่อยๆ ในเรื่องนั้น ก็ทำให้เกิดความผิดปกติ ได้ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วิริยะ
วันที่ 15 ม.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 15 ม.ค. 2555

สังเกตนะคะ เวลาที่มีคนแอบมอง ทั้งๆ ที่กำลังยืนหันหลังอยู่ ยังรู้สึกได้ (ว่าถูกมอง) อืม แบบนี้เรียกว่าจิตมีพลังมั้ยนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
SOAMUSA
วันที่ 18 ม.ค. 2555

กราบอนุโมทนาอาจารย์และทุกท่านค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

พลังจิต คือชื่อเว็บด้วยค่ะ ^_^

พลังจิต มีคำตรงข้ามกันคือ พลังโม้ ใช้สำหรับคนที่อวดว่าได้ฌานแล้วค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
natre
วันที่ 28 ก.ค. 2555

ตามความคิดผม ผมคิดว่าเรื่องพลังจิตที่อาจารย์ paderm ได้ตอบกระทู้ไปนั้นชัดเจนครับ เพราะหากไม่ได้ศืกษาพระธรรมที่ละเอียด คนส่วนมากมักจะเกิดความอยากต่างๆ จากการ ได้ยินได้ฟังเรื่องพลังจิต เช่นเมื่อตนมีพลังจิต จะเหาะได้ ก็อยากจะเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าบอกว่าพลังจิตอีกชนิดหนื่งมีศรัทธา วิริยะ สติ สมธิ ปัญญา (พละ ๕) แล้วจะละซึ่งความไม่รู้ในขณะที่คุณกำลังคิดอยากเหาะได้อนู่นั้น เขาก็จะไม่สนใจในพลังจิตดังกล่าว

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
wannee.s
วันที่ 28 ก.ค. 2555

พลังอะไรก็ไม่เท่ากับพลังของความดีและปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 28 ก.ค. 2555

ถูกต้องค่ะ

ทั้งความดีและปัญญาต้องเกิดร่วมกับจิตด้วย

ถ้าไม่มีจิตก็ไม่มีอะไรเลย เพราะโลกนี้ไม่ปรากฏ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ