ภาระ ๓ อย่าง

 
pirmsombat
วันที่  9 พ.ย. 2554
หมายเลข  19992
อ่าน  2,439

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

.....................

ว่าด้วยภาระ ๓ อย่าง

[๖๙๘] ชื่อว่าภาระ ในคำว่า

มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาด

ได้แก่ภาระ ๓ อย่าง คือ

ขันธภาระ ๑

กิเลสภาระ ๑

อภิสังขารภาระ ๑.

ขันธภาระเป็นไฉน

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่า ขันธภาระ.

กิเลสภาระเป็นไฉน

ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร

ทั้งปวง นี้ชื่อว่า กิเลสภาระ.

อภิสังขารภาระเป็นไฉน

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร

อเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่า อภิสังขารภาระ.

ขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระ

เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้

มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น

ต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อใด เมื่อนั้น มุนีนั้นเรียกว่า เป็นผู้ปลงภาระ

ลงแล้ว มีภาระตกไปแล้ว มีภาระอันปลดแล้ว มีภาระอันปล่อยแล้ว

มีภาระอันวางแล้ว มีภาระระงับแล้ว.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
mahabaramee
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนากุศลจิตทุกดวงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระอรหันต์ ซึงเป็นผู้ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด เป็นผู้ปลงภาระ ทั้ง ๓ อย่างลงได้แล้ว หลังจาที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ชีวิตของท่านก็ต้องดำเนินต่อไป มีสภาพธรรม คือ จิต เจตสิก รูป (ขันธ์) เกิดขึ้นเป็นไป แต่ไม่เป็นไปกับด้วยกิเลส ไม่เป็นที่ตั้งให้กิเลสเกิดขึ้น เพราะดับกิเลสได้หมดสิ้นแล้วไม่เกิดอีกเลย จนกว่าจะปรินิพพาน เมื่อท่านปรินิพพานแล้ว ไม่มีการเกิดขึ้นอีกในสังสารวัฏฏ์ เป็นผู้สิ้นกรรมและผลของกรรมอย่างสิ้นเชิง ไม่มีขันธ์ใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย เป็นผู้สิ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง ครับ ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ อาจารย์คำปั่นและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สมศรี
วันที่ 9 พ.ย. 2554
ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอและอาจารย์คำปั่นครับ ขออนุญาตสอบถามเพิ่มเติม

ว่า เป็นภาระดัวยเหตุใด และ แต่ละอย่างเป็นภาระต่างกันอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

คำว่า ภาระ โดยทั่วไปก็คือ เป็นสิ่งที่ต้องดูแล ไม่พ้นไปจากสิ่งหนึ่ง เป็นภาระกับบุคคลนั้น

ทำให้ไม่พ้นไป เพราะต้องติดกับภาระนั้น ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดง ภาระตามความ

เป็นจริง ว่า สิ่งที่เป็นภาระ มี 3 อย่างคือ

1.ขันธภาระ

2.กิเลสภาระ

3.อภิสังขารภาระ ขันธภาระ หมายถึง สภาพธรรมที่มีจริงที่เป็น จิต เจตสิกและรูป คือ รูป เวทนา สัญญา

สังขารและวิญญาณ ชื่อว่าเป็นภาระ เพราะมีขันธ์ 5 เมื่อกล่าวโดยนัยพระสูตรแล้ว เพราะ

มีร่างกาย มีจิต ก็ต้องให้ทานอาหาร ต้องบริหารร่างกาย อย่างนี้ทุกๆ วัน เป็นภาระไปตลอด

ตราบเท่าที่มีขันธ์ 5 และเมื่อกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริงทีเกิดดับ ก็ต้อง

เป็นภาระ ภาระคือ ไม่ให้ไม่เกิดไม่ได้ แม้จะไม่รู้ว่าเป็นภาระก็ตาม แต่การเกิดขึ้นและดับ

ไปของสภาพธรรม เป็นภาระที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ของการมีสภาพธรรมที่มีขันธ์ 5 ครับ

กิเลสภาระ หมายถึง สภาพธรรมทีเป็นอกุศลธรรมที่เป็นกิเลส ประการต่างๆ มี โลภะ

โทสะ โมหะ เป็นต้น กิเลสประการต่างๆ เหล่านี้ เป็นภาระแน่นอนครับ เพราะมีกิเลส ก็จะ

ต้องทำกิจการงานประการต่างๆ ตามกำลังของกิเลส นี่กล่าวโดยนัยพระสุตร ทำให้มีภาระ

และเมื่อกล่าวโดยละเอียดแล้ว เพราะ กิเลส เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุให้มีการเกิด

เพราะฉะนั้นกิเลส เป็นสภาพธรรมที่ทำให้เกิดภาระ เกิดขันธ์ 5 ครับ กิเลสจึงเป็นภาระและ

ทำให้เกิดภาระด้วยครับ

อภิสังขารภาระ หมายถึง สภาพธรรมที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง คือ เจตนาเจตสิก ที่เป็นไปใน

กุศลกรรม อกุศลกรรม ดังนั้น กุศลกรรมที่ทำ และ อกุศลกรรมที่ทำ เป็นภาระ เพราะทำ

ให้เกิดการเกิดอีกเช่นกัน เกิดสิ่งทีเป็นภาระ คือ ขันธ์ 5 เพราะอาศัยการทำกรรมที่ดีหรือ

ไม่ดี เมื่อกรรมนั้นให้ผลก็นำมาซึ่งปฏิสนธิ นำมาซึ่งการเกิดขึ้นของขันธ์ 5 จึงเป็นเหตุให้

เกิดภาระด้วย และกุศลกรรม อกุศลกรรม ก็เป็นภาระเพราะไม่พ้นจากการเกิดดับ ที่ต้อง

เป็นไปอย่างนั้น จึงเป็นภาระด้วยเช่นกันครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ... ภารสูตร...วันเสาร์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๔

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nong
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เซจาน้อย
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 9 พ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
orawan.c
วันที่ 11 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ