นิทาน

 
samroang69
วันที่  3 พ.ย. 2554
หมายเลข  19961
อ่าน  2,186

ทุกวันนี้คนชอบดูหนังดูละครกันเยอะ การที่พระนั้นได้นำเอาพระสูตรมาเล่าให้ฟังก็เป็นการเล่าเรื่องเหมือนละครด้วยเช่นกันเช่นนิทานชาดกแสดงว่าละครก็เป็นสถาพธรรมที่ควรที่จะศึกษาได้ด้วยเช่นกัน การทำอย่างนี้คนจะติดรูปธรรมกันมากหรือไม่ เช่น เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้ ไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี่้ ควรทำอย่างนี้ควรทำอย่างนั้น เป็นตัวตนเป็นการบังคบให้เชื่อให้ต้องทำตาม จะเป็นการถูกจูงได้ง่ายหรือไม่เพราะขาดการพิจารณาก็อาจจะมีความเข้าใจผิดได้

แล้วจะมีความเห็นถูกได้จากการดูละครหรือไม่ หนังหรือละครก็ดีเรื่องเล่าก็ดี จะเป็นนิทานก็ดีชาดกก็ดี ปัญญาสามารถที่จะเกิดได้จากการฟังเรื่องหรือนิทานเหล่านั้นเองได้หรือไม่ หรือต้องมีการอธิบายเพื่อความเข้าใจทางอภิธรรมด้วยจึงจะมีปัญญาที่สมบูรณ์ และจากการที่มีนิสัยชอบการดูหรือฟังเรื่องเล่าก็เป็นสภาพธรรม คือธรรมชาติเหล่านี้จะมีการแยกแยะได้หรือไม่ว่าอันนี้ถูกอันนี้ผิดโดยการพิจารนาเองจากประสบการณ์หรือการสั่งสมความรู้มาจากประสบการณ์ ละครหรือหนังก็จะมีธรรมะไว้สอนคนดูอยู่ด้วยเช่นกันก็เป็นสภาพธรรมที่อาจจะเอาประสบการณ์มาตัดสินได้ว่าถูกหรือผิด ก็เหมือนกับนิทานชาดกที่มีสภาพเป็นเรื่องที่ไว้สอนให้ได้คิด ถ้าฟังหรือชอบฟังจะมีปัญญาได้เองหรือไม่ และจะมีปัญญาได้แค่ไหน มากหรือน้อยและมีความเข้าใจในระดับที่สูงขึ้นไประดับถึงอริยบุคคลได้ไหม หรือต้องมีความเข้าใจทางอภิธรรมอย่างเดียวเท่านั้น จึงจะเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้อย่างไม่ผิด แล้วสำหรับคนที่ดูละครแล้วเอามาเปรียบกับข้อธรรมจะเกิดประโยชน์หรือไม่ หรือจะเป็นความบันเทิงซะมากกว่าที่จะได้รู้ และเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ที่ชัดเจนยิ่งกว่า แล้วแตกต่างกับนิทานชาดกหรือไม่หรือไม่ต่างกันเลยครับ

รบกวนตอบด้วย ขอบคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ไม่ว่าชาดกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และละครทีวี ต่างก็เป็นเรื่องราวทั้งคู่ แต่มี ความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะแม้เป็นเรื่องราวเหมือนกัน แต่เรื่องราวบางอย่าง ทำให้เกิดกุศลจิตและทำให้เกิดปัญญา และละความไม่รู้และกิเลสประการต่างๆ กับผู้ที่ ได้รับฟัง ที่ได้สะสมความเห็นถูกมา ส่วนเรื่องราวบางอย่าง เป็นเรื่องราวที่ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่เป็นไปเพื่อสละ ละคลายกิเลส และไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม และปัญญาครับ เรื่องราวบางอย่างแสดงโดยพระปัญญาของบพระพุทธเจ้า เรื่องราวบางอย่าง แต่ง โดยปุถุชน จึงมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะสิ่งใดที่พระองค์ได้แสดงไว้ สิ่งนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ คือ ความเจริญขึ้นของกุศลและปัญญา ละกิเลสต่างๆ ส่วน เรื่องที่ปุถุชนแต่ง มีละคร เป็นต้น ไม่เป็นไปเพื่อ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด ละกิเลส เพราะไม่ใช่พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าครับ

จึงไม่ใช่ทุกเรื่องที่ควรแสดงให้บุคคลอื่นฟัง และ ไม่ใช่ทุกเรื่องที่ควรเสพคุ้น หรือ ฟัง เพราะพระองค์ได้แสดงไว้ว่า เรื่องใดที่ฟัง หรือ เสพคุ้นและแสดงแล้ว ทำให้กุศลของ ผู้นั้นเจริญ และ ละกิเลส เรื่องนั้นควรฟัง และเรื่องใดที่แสดงแล้วทำให้ผู้อื่นฟังแล้ว ละ อกุศล กุศลและปัญญาเจริญ ควรแสดงเรื่องนั้น ส่วนเรื่องใดและเรื่องราวใดที่ฟัง หรือ แสดงแล้วทำให้กุศลของผู้นั้นและผู้อื่นเสื่อมไป อกุศลเจริญขึ้น เรื่องราวนั้นไม่ควรฟัง ไม่ควรแสดงครับ

ส่วนสำหรับผู้ที่อบรมปัญญามา ไม่วาจะได้ฟังเรื่องราวอะไร ปัญญาสามารถเกิดได้ เพราะเข้าใจความจริงในเรื่องราวนั้นว่าขณะนั้นมีธรรมที่กำลังปรากฎ เช่น เห็น ได้ยิน คิดนึก ขณะนั้นเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ

พระธรรมของพระพุทธเจ้าจึงเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะเกิดจากปัญญาตรัสรู้ และ สามารถละคลายกิเลส ของหมู่สัตว์ได้ จึงควรแสดงสิ่งที่เป็นสัจจะ ตามที่พระองค์ได้ แสดงไว้ ซึ่งในสมัยพุทธกาล พระองค์ก็ได้แสดงเรื่องชาดก ซึ่งเป็นเรื่อราวที่เป็นสัจจะ ความจริง แสดงถึงข้อคิดที่เป็นไปในการละคลายกิเลสจริงๆ และให้เจริญปัญญา จน สามารถทำให้บุคคลที่ได้ฟัง บรรลุธรรมได้ในขณะนั้นครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 3 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมสนทนา ด้วยครับ

คำว่า นิทาน หรือ นิทานะ ในภาษาบาลี หมายถึง เค้ามูล ต้นเหตุ รวมไปถึงเรื่องที่ เคยเกิดขึ้นแล้ว พระธรรมเทศนาในส่วนของชาดก จะกล่าวว่าเป็นนิทาน ก็ได้ เพราะ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในอดีต ไม่ใช่เรื่องเล่าธรรมดาๆ ทั้งหมดนั้นแสดงถึงอดีตประวัติ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ รวมไปถึงอดีตประวัติของพระ สาวกทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาอย่างแท้จริง จะเห็นได้ ว่าในสมัยพุทธกาลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกชาดกต่างๆ ขึ้นแสดงนั้น ก็มีพระสาวก สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม จากการได้ฟังพระธรรมในส่วนของชาดก มากมาย เพราะ ท่านเหล่านั้นมีความเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ว่าจะเป็นพระสูตร รวมถึงชาดกต่างๆ , พระวินัย พระอภิธรรม ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลสำหรับผู้ที่ได้ศึกษาเป็นอย่าง ยิ่ง ตามกำลังความเข้าใจของแต่ละบุคคล

เป็นความจริงที่ว่า ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคล ก็ย่อมมี โอกาสที่จะเกิดในอบายภูมิได้ ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เพราะเหตุว่าโลภะ โทสะ โมหะ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ วันหนึ่งๆ มีมากมาย เหลือเกิน นี้แหละที่จะเป็นเชื้อที่จะนำไปสู่อบายภูมิได้ เพราะเหตุว่าถ้าอกุศลจิตนั้นมี กำลังมากขึ้นทำให้กระทำอกุศลกรรม ประการต่างๆ ก็ย่อมจะเป็นเหตุให้เกิดใน อบายภูมิได้ ซึ่งจะเป็นผู้ประมาทไม่ได้เลยทีเดียว

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้และทรงแสดงพระธรรมเกื้อกูลแก่สัตว์โลก เพื่อช่วยให้สัตว์ทั้งหลายพ้นจากกองทุกข์ นี้ ดังนั้น ผู้ที่ศึกษา มีความเข้าใจและน้อมประพฤติตามพระธรรมคำสอน ย่อมจะพ้นจากทุกข์ ได้ในที่สุด

จึงควรอย่างยิ่งที่จะได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละน้อย ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
samroang69
วันที่ 4 พ.ย. 2554

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 4 พ.ย. 2554

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 4 พ.ย. 2554

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ

จากสารนุกรม วิกิพีเดีย

นิทาน (บาลี: นิทาน, อังกฤษ: Fable) ในภาษาไทย มีใช้อย่างน้อย ๒ ความหมาย คือ

1. นิทาน เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา กล่าวได้ว่าเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด นิทานอาจมีกำเนิดพร้อมๆ กับครอบครัวของมนุษยชาติ มูลเหตุที่มาแต่เริ่มแรก คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้วเล่าสู่กันฟัง มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งให้พิสดารมากยิ่งขึ้น จนห่างไกลจากเรื่องจริง กลายเป็นนิทานไป การเขียนนิทานในความหมายแรก อาจเป็นการเขียนจากจินตนาการก็ได้

2. นิทาน (บาลี) เป็นเรื่องต้นเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น เจ้าชายสิทธัตถะ ก็จัดเป็นอวิทูเรนิทานของพระพุทธเจ้า เพราะเจ้าชายสิทธัตธะเป็นเรื่องต้นเหตุของเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ถ้าไม่มีเจ้าชายสิทธัตธะที่ออกบวช พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็มีไม่ได้ เป็นต้น

ความหมายอย่างที่สองเป็นความหมายที่ยืมเอาคำในภาษาบาลีในพระพุทธศาสนามาใช้นั่นเอง เพราะนิทานในพระพุทธศาสนาจะกล่าวถึงเรื่องต้นเหตุย้อนหลังไปนานมาก จนบางอย่างที่เคยมีในยุคนั้นๆ ไม่ปรากฏให้คนในยุคนี้ได้พบเห็นอีกแล้ว ท่านจึงอนุโลมเอาศัพท์มาใช้เทียบกับนิยายปรัมปราให้เรียกว่านิทาน ไปด้วย

แต่ความจริงแล้ว คำว่า "นิทาน" ดังเดิมที่มาจากพระพุทธศาสนานั้นจะหมายถึงเรื่องที่เคยมีอยู่จริงๆ เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องแต่งขึ้นแต่ประการใด

จากความหมายข้างต้น เห็นได้ว่า คำว่า "นิทาน" ในยุคปัจจุบัน กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจกันทั่วไปว่า เป็นเรื่องเล่าจากจิตนาการ ไม่ใช่เรื่องจริง เมื่อใช้คำว่า นิทานจากพระสูตรในชาดก จึงทำให้เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องจินตานาการ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มีความคลาดเคลื่อนในการทำความเข้าใจพระธรรมไป

เมื่อมีการนำพระสูตรในชาดกมาถ่ายทอด ทั้งผู้ถ่ายทอดและผู้ฟัง ที่ยังไม่เข้าใจพระธรรมอย่างแท้จริง ก็จะกลายเป็นเรื่องราวต่างๆ ที่พากันเข้าใจไปคนละทิศคนละทาง บ้างก็อ่านเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน บ้างก็อ่านเพื่อความตื่นเต้นมหัศจรรย์ ที่ดีขึ้นมาหน่อยก็อ่านเพื่อสอนใจให้ทำความดี แต่ก็ยังเป็นเรื่องเป็นราวที่นำไปเปรียบเทียบกับนิทานเรื่องราวในหนัง ละคร อื่นๆ ที่มีแง่มุมให้ทำความดีเหมือนๆ กัน

แต่สำหรับผู้ที่เข้าใจก็จะทราบได้ว่า ชาดกเป็นเรื่องที่แสดงสัจจะ แสดงถึงความจริงของกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่แตกต่างไปจากสภาพธรรมที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ เป็นพระธรรมที่ทรงมีพระมหากรุณาแสดงให้สาวกได้เข้าใจถึงความเป็นจริงในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ละคลายอกุศลธรรม ตามที่อาจารย์ผเดิมและอาจารย์คำปั่นได้กรุณาอธิบายข้างต้น

ผู้ศึกษาย่อมต้องศึกษาด้วยความเคารพในชาดก เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมที่พระองค์ทรงเมตตาเกื้อกูลเหล่าสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากสังสารวัฎฎ์ แม้จะยังไม่เข้าใจไปตามลำดับ แต่ก็ย่อมต้องเห็นพระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์ที่ทรงลำบากพากเพียรในพระชาติต่างๆ ก็เพื่อสงเคราะห์เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะมาอ่านกันเล่นๆ เลยครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jaturong
วันที่ 15 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ