เดียรัจฉาน
คำว่า เดียรัจฉาน และ สัตว์เดียรัจฉาน มีความหมายเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย โดยทั่วไปแล้ว คำว่า เดียรัจฉาน และ สัตว์เดียรัจฉาน มีความหมายเหมือนกันครับ
คือ เป็นสัตว์อบายภูมิที่เป็น หมู่สัตว์ มีนก เสือ สุนัข เป็นต้น ที่เราห็นกันอยู่อันเกิดจาก
ผลของอกุศลกรรม มากไปด้วยความไม่รู้ครับ ดังนั้นทั้งสองคำ ก็มีควาหมมายหมือนกัน
บางครั้งก็ใช้คำว่า สัตว์เดรัจฉาน ก็เป็นอันเข้าใจตรงกัน มีความหมายเหมือนกันครับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
บทว่า นรก หรือ กำเนิดเดียรัจฉาน มีอธิบายว่า หากว่าความเห็นผิดนั้น
สมบูรณ์ คือ เป็นความแน่นอน ย่อมเกิดในนรก โดยส่วนเดียว หากยังไม่
แน่นอน ย่อมเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
อีกนัยหนึ่ง เมื่อใช้คำว่า เดียรัจฉาน อาจใช้กับคำพูที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือ วิชา การ
ศึกษาที่ไม่เป็นประโยชน์ที่เรียกว่า เดียรัจฉานกถา ดิรัจฉานกถา คำพูดที่กั้นสวรรค์และ
นิพพาน รวมทั้ง เดรัจฉานวิชา วิชาที่กั้นสวรร๕ืและนิพพาน ที่ไม่มีประโยชน์นั่นเอง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 132
บทว่า มจฺฉิภาสญฺเฑ คือในราวป่าอันมีชื่ออย่างนี้. บทว่า
อยมนฺตรากถา อุทปาทิ ความว่า พระเถระเก่าย่อมไม่สนทนากันถึง
เดียรัจฉานกถา เมื่อตั้งปัญหาขึ้นในที่นั่งแล้ว พวกไม่รู้ ก็ย่อมถาม พวกที่รู้
ก็ย่อมตอบด้วยเหตุนั้น การสนทนานี้ จึงเกิดขึ้นแล้วแก่พระเถระเหล่านั้น.
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 217
อรรถกถาปฐมวัตถุกถาสูตรที่ ๙
บทว่า ติรจฺฉานกถ ได้แก่ เรื่องที่ขัดขวางทางสวรรค์และนิพานเพราะเป็นเรื่องที่
ไม่นำสัตว์ออกทุกข์.
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เรียนถามความเห็นที่ 1
ในพระไตรปิฎก มักมีเรื่องราวเกียวกับ นาค เช่น นาคปรก, กาฬนาคราช และมีฤทธิฺ์ด้วย
อยากทราบว่า ตกลงว่า เป็นอะไร อยู่ในภูมิไหน
เรียนความเห็นที่ 2 ครับ
นาคราช เป็นสัตว์เดรัจฉานครับ เป็นอบายภูมิ แต่มีฤทธิ์ เมื่อเป็นสัตว์เดรัจฉาน นาคราช
จึงไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่นาคราชบางตนสนใจธรรม ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะก็มี
เรียนถามความเห็นที่ 3
คำถามอาจจะไร้สาระนะคะ แต่ก็มีความสงสัยจริงๆ แต่ก่อนดิฉันเข้าใจว่า ผู้ที่มีฤทธิ์ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพที่เป็นสัตว์ ดิฉันก็มีความเข้าใจว่าเป็นเทพ เข้าใจเช่นนั้นมาตลอด ทำให้คิดเอาเองว่า ในสมัยพุทธกาล หรือในสมัยทีพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ สัตว์เดรัจฉานคงจะมีฤทธิ์ แต่ในยุคนี้ สัตว์เดรัจฉาน ก็คือ สัตว์สี่เท้า สัตว์สองเท้า สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและแมลงชนิดต่างๆ เท่านั้น และไม่สามารถเข้าใจธรรมด้วย กรุณาอธิบายและให้ความเห็นด้วยค่ะ
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นยุคโน้น หรือ ยุคสมัยนี้ สัตว์เดรัจฉาน มีหลายประเภท มีฤทธิ์ หรือ
ไม่มี ฤทธิ์ ก็ไม่สามารถบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ได้ เพราะปฏิสนธิเป็น
อเหตุกะอกุศลวิบาก เป็นผลของกรรม มีวิบากเป็นเครื่องกั้นค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สัตว์ดิรัจฉาน เดียรัจฉาน,เดรัจฉาน ก็ใช้ ทั้ง ๓ คำนี้ มีความหมายเหมือนกันโดยศัพท์ภาษาบาลี มาจาคำว่า ติรจฺฉาน หมายถึง สัตว์ที่เป็นไปในทางขวาง ซึ่งได้แก่ขวางต่อการบรรลุมรรค ผล นิพพาน [ดังความคิดเห็นที่ ๕ได้แสดงไว้] เพราะในชาติที่เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิสนธิด้วยด้วยผลของอกุศลกรรม ไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วย ไม่มีอโภละ อโทสะ และ อโมหะ เกิดร่วมด้วย จึงไม่สามารถรู้แจ้งอริย-สัจจธรรมได้เลย แต่ความรู้ความเข้าใจ รวมถึงกุศลธรรมประการต่างๆ ที่เคยได้สะสมมาในอดีต ไม่สูญหายไปไหน ยังสืบต่ออยู่ในจิตทุกขณะ และที่สำคัญสัตว์ดิรัจฉาน ก็มีกุศลจิตเกิดได้ ตามสมควร เช่น ม้ากัณฐกะ ซึ่งเป็นม้าทรงของพระโพธิสัตว์ในวันที่พระองค์เสด็จออกผนวช มีกุศลจิตเกิด แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมในชาตินั้นได้ เมื่อจุติเคลื่อนจากความเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ไปเกิดป็นกัณฐกเทพบุตร ลงมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ฟังธรรม แล้วบรรลุเป็นพระโสดาบัน การเกิดเป็น สัตว์ดิรัจฉาน เป็นด้วยผลของอกุศลกรรม ในชาตินี้แต่ละคนก็ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานในอบายภูมิ แต่ภพภูมิข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ไม่สามารถบอกได้ ทางที่ดีที่สุด คือ ไม่ประมาทในชีวิต ไม่กระทำอกุศลกรรมอย่างเด็ดขาด พร้อมทั้งสะสมกุศลประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูก ต่อไป เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไปเกิดในอบายภูมิ ด้วยผลของกุศลกรรม เป็นไปไม่ได้เลย เพราะกุศล ให้ผลเป็นสุข ให้เกิดในสุคติภูมิ เท่านั้น แต่อกุศลกรรม เพียงอย่างเดียว ที่จะเป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายภูมิ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
อาจจะสงสัยว่าทำไม สัตว์เดรัจฉานจึงมีฤทธิ์แต่ยุคสมัยนี้ไม่มี ในความเป็นจริง ที่สัตว์
เดรัจฉาน มีฤทธิ์มีอานุภาพ มีทรัพย์สมบัติ ต้องเข้าใจครับว่า ต้องเป็นผลของบุญที่ทำ
มา อุปถัมภ์ ทำให้แม้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็มีทรัพย์สมบัติมาก มีฤทธิ์มากเพราะผลบุญ
อื่นอุปถัมภ์นั่นเองครับ ดังเช่น เราเห็นสัตว์หลายตัว สบายกว่ามนุษย์ก็เพราะบุญเก่าใน
อดีตอุปถัมภ์นั่นเองครับ ซึ่งการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นผลของกรรมไม่ดีให้ผล แต่
การมีทรัพย์มาก มีฤทธิ์เป็นผลของอีกกรรมหนึ่ง คือ กรรมดีให้ผลครับ คนละกรรมกันนั่น
เองครับ ดังนั้นในปัจจุบัน ก็มีสัตว์ที่มีฤทธิ์ แต่เราไม่รู้ เราไม่เห็น เพราะว่ายุคสมัยนี้ ไม่
ใช่กาลสมบัติ คือ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น จึงไม่สมควรเลย หรือ ไม่ใช่โอกาสที่สัตว์มีฤทธิ์
จะแสดงฤทธิ์อะไรครับ เพราะก็จะทำให้สัตว์โลกที่มากไปด้วยความไม่รู้ในยุคปัจจุบัน
แตกตื่นและยึดถือในฤทธิ์อันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สาระของพระธรรมวินัยนี้ครับ ขออนุโมทนา