เรียนถามข้อสงสัยเพิ่มครับ

 
guy
วันที่  30 ส.ค. 2554
หมายเลข  19608
อ่าน  2,969

อกุศลกรรมที่นำปฏิสนธิเรียงตามความหนักมากไปน้อย เป็นดังนี้ นรก เปรต อสุรกาย

สัตว์เดรัจฉาน ถูกต้องไหมครับ

อ่านหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปของอาจารย์หน้า197 -199 เรียงว่านรก สัตว์เดรัจฉาน

เปรต อสุรกาย ครับ ผมเข้าใจผิดหรือไม่ครับ

โมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิตเป็นอเหตุกเจตสิก คือตัวเองเป็นเหตุแต่ไม่มีเหตุเกิด

ร่วมด้วย (คือไม่มีโลภเจตสิกและโทสเจตสิก) ทั้ง 2ดวงคือโมหมูลจิตที่ประกอบด้วย

วิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ถูกต้องไหมครับ

สัมปโยคคืออะไรครับ แล้วปโยคสมบัติมาจากผลของกุศลกรรมใดบ้างครับ

ช่วยชี้แจงเพิ่มเติมให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอบคุณมากครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากคำถามที่ว่า อกุศลกรรมที่นำปฏิสนธิเรียงตามความหนักมากไปน้อย เป็นดังนี้ นรก เปรต อสุรกาย

สัตว์เดรัจฉาน ถูกต้องไหมครับ อ่านหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป ของอาจารย์หน้า197

-199 เรียงว่า นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ครับ ผมเข้าใจผิดหรือไม่ครับ

-----------------------------------------------------------------

สำหรับการเกดิเป็นสัตว์ อบายภูมินั้นเป็นผลของอกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ให้ผลครับ

ซึ่งอกุศลกรรมที่ทำนั้น ก็มีระดับกำลังของอกุศลกรรมที่แตกต่างกันไป ทำให้เกิดใน

อบายภูมิ 4 แตกต่างกันไปตามระดับอกุศลกรรมครับ ซึ่งภพภูมิในอบายภูมิ ที่ ประกอบ

ด้วย นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกายและเปรต นั้น นรก เป็นภพภูมิที่เกิดจากอกุศลกรรม

ที่มีกำลังกว่า สัตว์เดรัจฉาน เรียงต่อมา ก็คือ เปรต และต่อด้วยอสุรกาย ดังนั้นเมื่อ

เรียงตามความหนักเบาของอกุศลกรรม และความหนักเบาของภพภูมินั้น ก็เป็นดังนี้

ครับ คือ นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรตและอสุรกาย ซึ่งในหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปถูก

ต้องแล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2554

โมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิตเป็นอเหตุกเจตสิก คือตัวเองเป็นเหตุแต่ไม่มีเหตุเกิด

ร่วมด้วย (คือไม่มีโลภเจตสิกและโทสเจตสิก) ทั้ง 2ดวงคือโมหมูลจิตที่ประกอบด้วย

วิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ถูกต้องไหมครับ

โมหมูลจิต

โมห (ความหลง , สภาพที่ไม่รู้ความจริง) + มูล (รากเหง้า) + จิตฺต (จิต)

จิตที่มีโมหเจตสิกเป็นมูล หมายถึง จิตที่มีความหลงลืม หรือไม่รู้สภาพธรรมตาม

ความเป็นจริง เป็นไปในอาการหลายอย่าง เช่น ขณะที่คิดไม่ออก หลงลืม ตื่นอยู่

แต่อารมณ์ไม่ปรากฏ หรือขณะที่สงสัยเพราะไม่รู้ความจริง โมหมูลจิตมี ๒ ดวง

แตกต่างกันที่สัมปยุตต์ คือ

๑. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ .

โมหมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ประกอบด้วยความสงสัยลังเลใจ

๒. อุเปกฺขาสหคต อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ .

โมหมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน

ในอารมณ์

โมหมูลจิต เป็นสเหตุกจิต ที่ประกอบด้วยเหตุเดียว คือ โมหเหตุ (โมหเจตสิก)

โมหเจตสิก ที่เกิดกับโลภเจตสิกในโลภมูลจิตเป็นสเหตุกะ เพราะมีโลภ

เจตสิกซึ่งเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย

โมหเจตสิก ที่เกิดกับโทสเจตสิกในโทสมูลจิตเป็นสเหตุกะ เพราะมีโทส

เจตสิกเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย

คำถามที่ถามว่า

โมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิตเป็นอเหตุกเจตสิก คือตัวเองเป็นเหตุแต่ไม่มีเหตุเกิด

ร่วมด้วย (คือไม่มีโลภเจตสิกและโทสเจตสิก) ทั้ง 2ดวงคือโมหมูลจิตที่ประกอบด้วย

วิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ถูกต้องไหมครับ

ถูกต้องแล้วครับ โมหเจตสิกทีเ่กิดกับโมหมูลจิต 2 ดวงเป็นอเหตุก คือไม่ประกอบด้วย

เหตุ 6 ซึ่งเหตุ 6 คือ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโมหะ อโทสเจตสิก ซึ่งมโหะเจตสิก

เป็นเหตุก็จริง แต่เมื่อเราพูดถึง โมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิต ก็จะไม่นับตัวมันเอง

ครับ (โมหเจตสิก) จะต้องดูว่ามีเหตุอื่น อีก 5 ประเภทที่เหลือเกิดร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งใน

ความจริง ไม่มีเหตุ อีก 5 ประการเิกิดร่วมด้วยครับ

โมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิต ทั้ง 2 ดวง เป็นอเหตุกะ เพราะไม่มีโลภเจตสิกและโทส

เจตสิก และอโลภะ อโทสะ อโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2554

จากคำถามที่ว่าสัมปโยคคืออะไรครับ แล้วปโยคสมบัติมาจากผลของกุศลกรรมใดบ้างครับ

ช่วยชี้แจงเพิ่มเติมให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอบคุณมากครับ----------------------------------------------------------------

สัมปโยคคืออะไรครับ

สัมปโยค แปลว่า ประกอบพร้อม ในที่นี้หมายความว่า เจตสิกแต่ละประเภทนั้น ประเภท

หนึ่งๆ ประกอบกับจิตได้กี่ประเภท คือจิตใดบ้าง เฉพาะในจิตตุปปาทะ (จิตที่เกิดขึ้น)

ยกตัวอย่างเช่น สัพพจิตตสาธารณเจตสิก7 ดวง คือ ผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก

สัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก ชีวิตินทริยเจตสิก มนสิการเจตสิก

เจตสิก 7 ดวงนี้เกดิกับจิตทุกประเภท เพราะฉะนั้น เจตสิก 7 ดวงนี้ สัพพจิตตสาธารณ

เจตสิก เป็น สัมปโยคะ คือ ประกอบพร้อมกับจิตทุกๆ ประเภทครับ

คำว่าสัมปโยคะ คือ ประกอบพร้อม ที่กล่าวแล้ว ที่ใช้สำหรับ การประกอบพร้อม

ระหว่าง เจตสิก กับจิตที่เกิดพร้อมกัน เกิดร่วมกัน นี่คือ ความหมายหนึ่ง

แล้วสัมปโยคะ ยังใช้ในกรณีอื่นๆ อีกก็ได้ ในความหมายของการประกอบพร้อม เช่น เมื่อ

มีการเจรจาโต้ตอบกัน การพูดนั้น การสนทนานั้นเรียกว่า สัมปโยคะ คือ มีการประกอบ

พร้อมกันแล้ว คือ มีการพูดคุยสนทนากันนั่นเองครับ แต่โดยมาก สัมปโยคะ ใช้กับ

สภาพธรรมที่เป็นนามธรรม ที่เป็น จิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกัน อันหมายถึง เจตสิกที

เกิดพร้อม ประกอบพร้อมกับจิตนั่นเอง ตามที่กล่าวแล้วครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ปโยคสมบัติมาจากผลของกุศลกรรมใดบ้างครับ

ปโยคสมบัติ คือ ความเพียรที่ถูกต้อง อันจะเป็นการนำผลให้กุศลกรรมในอดีต ให้ผล

ในปัจจุบันได้เพราะมีความเพียรที่ดี ที่ถูกต้องครับ ซึ่งในพระอภิธรรมได้แสดงไว้ครับ

ตามคำถามที่ผู้ถาม ถามว่าปโยคสมบัติมาจากผลของกุศลกรรมใดบ้างครับ

ในพระไตรปิฎกแสดงว่า กุศลกรรมทีเป็นกายสุจริต วีจีสุจริตและมโนสุจริต มีการงด

เว้นฆ่าสัตว์ เป็นต้น โดยทั่วไปก็คือ กุศลกรรมทุกๆ ประการนั่นแหละครับ เป็นปโยค-

สมบัติ เพราะความเพียรที่ชอบ องค์ธรรมคือ วิริยเจตสิกทีเกิดกับกุศลกรรมนั่นเองครับ

ทีเป็นความเพียรที่ชอบ ที่ถูกต้อง ดังข้อความในพระไตรปิฎกในเรื่องนี้ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ปโยคสมบัติและปโยควิบัติ [วิภังค์]

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 30 ส.ค. 2554

สัมปโยค มีหลายนัย มีหลายความหมาย อีกความหมายหนึ่ง คือ การประสพ

เช่นข้อความที่ปรากฏในบทธรรมจักร คือการประสพกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์

(อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข) ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 30 ส.ค. 2554

ปโยคสมบัติ เป็นอุปนิส้ัยในการสะสมกุศล เป็นความถึงพร้อมด้วยความเพียร หรือ

ขยันในการทำความดี เช่น ขยันฟังธรรม ให้ทาน ช่วยเหลือผู้อืืนเป็นต้น โอกาส

ที่กุศลจะให้ผลก็มีมาก ซึงแตกต่างจากคนที่มีปโยควิบัติ ไม่ขยันในการเจริญกุศล

แต่ขยันในการทำอกุศลกรรม เช่น เป็นโจร ฆ่าสัตว์ เป็นต้น เป็นเหตุให้อกุศล-

กรรมให้ผลได้มากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 30 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น -การเกิดในอบายภูมิ คือ เกิดเป็นสัตว์นรก เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย ล้วนเป็นผลของกุศลกรรม ทั้งสิ้น และิจิตที่เกิดขึ้นทำกิจปฏิสนธิในอบายภูมิ มี ๑ ดวงเท่านั้น คือ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก เหตุย่อมสมควรแก่ผล อย่างแท้จริง เมื่อกระทำอกุศลกรรมไว้ ถึงคราวที่อกุศลกรรมจะให้ผล ก็ำทำให้เกิดเป็นสัตว์ในอบายภูมิได้ ถึงแม้ว่าในชาิตินี้ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดในสุคติภูมิอันเป็นผลของกุศลกรรม แต่ถ้าประมาทมัวเมากระทำแต่อกุศลกรรม ไม่สะสมความดีในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ย่อมจะเป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายภูมิได้โดยง่าย ไปง่ายมากคือ ไปเกิดในอบายภูมิ ส่วนที่ไปยาก คือ การได้ไปเกิดมาเป็นมนุษย์และเกิดเป็นเทวดา

-จากประเด็นที่ว่า "โมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิตเป็นอเหตุกเจตสิก คือตัวเองเป็นเหตุแต่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย (คือไม่มีโลภเจตสิกและโทสเจตสิก) ทั้ง ๒ ดวงคือโมหมูลจิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ถูกต้องไหมครับ" สรุปได้ว่า เวลาที่กล่าวถึง สเหตุกะ (มีเหตุเกิดร่วมด้วย) กับ อเหตุกะ (ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) นั้น ย่อมหมายถึง ทั้งจิต และ เจตสิก แต่เวลาที่แสดงโดยแยกเป็นแต่ละอย่างๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น นั่นเอง กล่าวคือ จิตใดก็ตามที่มีเหตุ (โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ และ อโมหะ) เกิดร่วมด้วย จิตนั้น เรียกว่า สเหตุกะ จิตใดก็ตาม ที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย จิตนั้น เรียกว่า อเหตุกะ เจตสิกใดก็ตาม ที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เจตสิก นั้น เรียกว่า สเหตุกะ เจตสิกใดก็ตาม ที่ไม่เกิดร่วมกับเหตุใดๆ เลย เจตสิกนั้น เรียกว่า อเหตุกะ ดังนั้น โมหมูลจิต (จิตที่มีโมหะเป็นมูล) กล่าวถึง จิต มีเหตุเดียวเกิดร่วมด้วย คือ โมหเหตุ ไ่ม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ เกิดร่วมด้วย ดังนั้น เมื่่อกล่าวว่า โมหเจตสิก (กล่าวถึงเจตสิก) ที่เกิดร่วมกับโมหมูลจิต ทั้ง ๒ ดวง เป็น อเหตุกะ จึงถูกต้อง เพราะเหตุวา โมหเจตสิก ในโมหมูลจิต ไม่ได้เกิดร่วมกับเหตุอื่นใดๆ เลย ถ้าจะถามเพื่อให้พิจารณา เพิ่มเติม ว่า วิจิกิจฉาเจตสิก กับ อุทธัจจเจตสิก ที่เกิดร่วมกับโมหมูลจิต เป็นสเหตุกะ หรือ อเหตุกะ? [คำตอบ คือ เป็นสเหตุกะ เพราะเกิดร่วมกับเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ นั่นเอง ครับ] -จากประเด็นเรื่องสัมปโยคะ สรุป ได้ว่า สัมปโยคะ โดยศัพท์หมายถึงการประกอบพร้อม เป็นการแสดงถึงสภาพธรรมที่มีจริงอย่างหนึ่ง คือ เจตสิก ทั้งหลาย ที่จะต้องประกอบพร้อมกับจิต ว่า เจตสิก แต่ละดวงๆ นั้น เกิดกับจิตประเภทใด ได้บ้าง ตามความเป็นจริง เช่น ผัสสเจตสิก เกิดกับจิตได้ทุกประเภท สัทธาเจตสิก เกิดร่วมกับจิตที่ดีงาม ทุกประเภท โทสเจตสิก เกิดร่วมกับโทสมูลจิต ๒ ประเภทเท่านั้น ปัญญาเจตสิก เกิดร่วมกับจิตที่ดีงามประเภทที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย เท่านั้น เป็นต้น -ส่วน ปโยคสมบัติ โดยความหมายแล้ว หมายถึงความถึงพร้อมด้วยความเพียรในการประกอบซึ่งกุศลกรรมประการต่างๆ เป็นการสะสมเหตุที่ดี ซึ่งผู้ที่สะสมความดีอยูเนืองๆ งดเว้นจากทุจริตกรรมประการต่างๆ ย่อมเกื้อกูลต่อการที่จะทำให้กุศลกรรมให้ผลได้มาก ส่วน ปโยควิบัติ หมายถึง ไม่ได้มีความเพียรในการประสมกุศล แต่เพียรในทางอกุศล ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้อกุศลกรรมให้ผล ได้มาก เพราะการที่กรรมจะให้ผล ย่อมขึ้นอยู่กับ ปโยคสมบัติ - ปโยควิบัติ ด้วย การสนทนาธรรม อันเป็นการกล่าวด้วยดีซึ่งธรรม ตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นมงคลอันประเสริฐ เพราะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก อย่างแท้จริง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
guy
วันที่ 31 ส.ค. 2554

เรียนถามว่าทำไมสัตว์เดรัจฉานถึงมีอกุศลหนักกว่าครับ หลายชนิดกินแต่พืช บางชนิด

บางตัวยังมีกุศลให้มีอาหาร มีที่อยู่อาศัยที่ดี พวกเปรต อสุรกาย ยังต้องอดอยากไม่มีเครื่อง

นุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้อีกหน่อยครับจะได้เข้าใจ เหตุผลที่เรียงลำดับ

แบบนี้ ในหนังสืออาจารย์ท่านบอกแต่ว่าอกุศลกรรมที่เบากว่านรกจะไปปฏิสินธิเป็นสัตว์

เดรัจฉานเท่านั้น ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 31 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 7 ครับ ข้อความในพระไตรปิฎกแสดงไว้ครับว่า ผู้ที่มีความเห็นผิดมาก ย่อมไปเกิดในรก ส่วน

ผู้ที่มีความเห็นผิดแต่ไม่มีกำลังมาก จะไปเกิดในสัตว์เดรัจฉาน สำหรับภพภูมิ นรก

และสัตว์เดรัจฉาน ไม่สามารถเปลี่ยนภพภูมิได้ทันที จนกว่าจะสิ้นกรรมนั้น ส่วนพวก

เปรต หรืออสุรกายที่บางพวกก็คือเปรตนั่นเอง สามารถเปลี่ยนภพภูมิได้ เมื่อญาติอุทิศ

ส่วนกุศลให้ ก็ไปเกิดเป็นเทวดาได้ทันทีครับ และอีกอย่างหนึ่ง สัตว์เดรัจฉาน เป็นภพ

ภูมิที่เต็มไปด้วยความไม่รู้ แม้จะเกิดมาสุขสบาย แต่เป็นผลของกรรมดีในอดีตที่ทำไว้

ไม่ใช่ผลของกรรมไม่ดีที่ให้ผลมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานเป็นภพภูมิเต็ม

ไปด้วยความไม่รู้ ความหลง ต่างจากพวกเปรตที่สามารถรู้เรื่องและอนุโมทนาบุญและ

พ้นจากความเป็นเปรตได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
guy
วันที่ 1 ก.ย. 2554

เรียนถามเรื่อง นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษเป็นอกุศลที่หนักกว่าทำอนันตริยกรรมใช่ไหมครับ

เป็นเพราะมีทิฏฐิที่ผิดมากและเหนียวแน่นมากใช่ไหมครับ ช่วยอธิบายด้วยครับ

นิยตมิจฉาทิฏฐิต่างจากทิฏฐิ62ในด้านไหนครับ

สีลัพพตปรามาศ จะรวมถึงการสวดมนต์อ้อนวอนขอให้ได้สิ่งที่ปรารถนาด้วยไหม

ครับแล้วบางท่านที่เชื่อเครื่องรางของขลังจะรวมด้วยไหมครับ อย่างบางท่านบูชาสิ่งนี้

หรือมีของแบบนี้จะทำให้ค้าขายดีมีโชคลาภ

ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 1 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 9 ครับ

เรียนถามเรื่อง นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษเป็นอกุศลที่หนักกว่าทำอนันตริยกรรมใช่ไหม

ครับ เป็นเพราะมีทิฏฐิที่ผิดมากและเหนียวแน่นมากใช่ไหมครับ ช่วยอธิบายด้วยครับ

--------------------------------------------------------------

ความเห็นผิดที่ดิ่ง ที่เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษมากกว่าอนันติยกรรมเพราะว่า อนันตริ

ยกรรมให้ผลชาติเดียว ตกนรก 1 กัป แต่หลังจากนั้นก็สามารถบรรลุธรรม พ้นจากวัฏฏะ

ได้ครับ มีพระเทวทัต เป็นต้นครับ ส่วนผู้ที่เห็นผิดดิ่ง ไม่สามารถอบรมปัญญาได้เพราะ

เห็นผิดและก็ไม่สามารถพ้นจากวัฏฏะได้เลย เพราะฉะนั้นก็ต้องมีการทำบาปมากมาย

และทำอนันตริยกรรมมากมาย เพราะไม่มีทางพ้นจากวัฏฏะได้ครับ ความเห็นผิดที่ดิ่งจึง

มีโทษมากครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

นิยตมิจฉาทิฏฐิต่างจากทิฏฐิ62ในด้านไหนครับ

ความเห็นนิดที่ดิ่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งในความเห็นผิด 62 ประการครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สีลัพพตปรามาศ จะรวมถึงการสวดมนต์อ้อนวอนขอให้ได้สิ่งที่ปรารถนาด้วยไหม

ครับแล้วบางท่านที่ เชื่อเครื่องรางของขลังจะรวมด้วยไหมครับ อย่างบางท่านบูชาสิ่งนี้

หรือมีของแบบนี้จะทำให้ค้าขายดีมีโชคลาภ

----------------------------------------------------------------

ถูกต้องครับ รวมถึงข้อปฏิบัติทีผิด เห็นผิดด้วยครับ เช่น การสวดอ้อนวอนคิดว่าเป็น

หนทางที่จะได้สิ่งต่างๆ เป็นต้น ตามที่ผู้ถามได้ถามมาครับ รวมถึงสำคัญว่าบูชาบางสิ่ง

ก็จะได้ นั่นก็ไม่ถูกต้องครับ ก็รวมอยู่ด้วยได้ครับ เพราะเป็นวัตร ข้อปฏิบัติที่ผิดครับ ขอ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
guy
วันที่ 2 ก.ย. 2554

ขอบคุณทุกท่านมากครับที่ช่วยให้ความกระจ่าง ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ