ใช่สติและสมาธิหรือไม่

 
มนัสสกังขา
วันที่  21 ส.ค. 2554
หมายเลข  18997
อ่าน  1,187

ขณะที่โจรกำลังขโมยของ เช่น ตั้งใจงัดตู้เชฟ เป็นต้น ขณะนั้นใช่สติและสมาธิหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สติ เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เป็นโสภณเจตสิก ขณะใดที่จิตที่ดีเกิดขึ้น มีกุศลจิตเกิด

ขึ้น ขณะนั้นจะต้องมีสติ ที่เป็นเจตสิกฝ่ายดีเกิดกับจิตฝ่ายดีทุกประเภท มีกุศลจิต

เป็นต้นครับ เพราะฉะนั้น สติจะไม่เกิดกับอกุศลจิต อกุศลธรรมเลยครับ ไม่ว่ากรณีใดๆ

สติ เป็นสภาพธรรมที่ทำหน้าที่ระลึก ระลึกเป็นไปในกุศล ในขั้นทาน ศีล ภาวนา ระลึก

ที่จะให้ ระลึกที่จะงดเว้นจากการประพฤติผิดทางกายวาจา ระลึกถึงอารมณ์ที่จะทำให้

จิตสงบ มีระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น และระลึกเป็นไปในลักษณะของ

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมมใช่เรา อันเป็นการเจริญวิปัสสนาครับ จะเห็น

ว่า สติเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่จะเกิดกับจิตฝ่ายดีเท่านั้น ไม่เกิดกับอกุศลเลย และ

ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ไม่ว่าประเภทใด ก็ต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอครับ

เพราะฉะนั้น ขณะที่ทำโจรกรรม จิตเป็นอกุศล ขณะที่เป็นอกุศลจิต จะมีสติเจตสิก

ไม่ได้ เพราะสติเจตสิกจะเกิดกับจิตที่เป็นฝ่ายดี มีกุศลจิต เป็นต้นครับ โจรจึงไม่มีสติที่

จะโจรกรรม แต่มีความตั้งมั่น จดจ่อที่เป็นลักษณะของสมาธิ ที่จะกล่าวต่อไปในความ

เห็นต่อไป และมี วิตกเจตสิกที่เป็นสภาพธรรมที่จรดในอารมณ์และตรึกนึกคิดในเรื่อง

ราวของสภาพธรรม ไม่ใช่สติครับ เพราะวิตกเจตสิก ความตรึกนึกคิด สามารถนึกถึง

ด้วยความเป็นอกุศล มีการโจรกรรมได้ เพราะวิตกเจตนสิกเกิดกับจิตที่เป็นกุศลก็ได้

อกุศลก็ได้ครับ แต่ไม่ใช่สติเจตสิกครับในขณะที่โจรกรรม หรือ ขโมย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 21 ส.ค. 2554

สมาธิ เป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่น จดจ่อ องค์ธรรมคือ เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกที

เกิดกับจิตทุกประเภท เพราะฉะนั้น สมาธิจึงเกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับอกุศลจิตก็ได้

ครับ สมาธิ จึงไม่ใช่สภาพธรรมฝ่ายดี (เมื่อเกิดร่วมกับอกุศลจิต) จึงไม่ใช่ว่าเมื่อจิตเป็นสมาธิ คือ ตั้งมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว จะเป็นสิ่งที่ดีครับ เพราะความตั้งมั่น จดจ่อเกิดกับอกุศลจิตได้ครับ สมาธิเจตสิก จึงแบ่งเป็น 2 อย่างคือ สัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ สมาธิที่ชอบ ดี ถูกต้อง เป็นกุศล กับ สมาธิที่ไม่ถูกต้อง ไม่ดี เป็นอกุศล ครับ

สมาธิที่เกิดกับอกุศล ขณะที่โจรกรรมก็มีครับ ขณะที่จดจ่อ ตั้งมั่นที่จะทำ แม้ในขณะ

จิตเดียวที่เกิดขึ้นก็มีลักษณะของสมาธิ คือ ตั้งมั่น ชั่วขณะ ที่เรียกว่า ขณิกสมาธินั่นเอง

เพราะฉะนั้น ขณะที่ขโมย มีสมาธิด้วย มีเป็นสมาธิที่ไม่ถูกต้องเพราะเป็นเอกัคคคตา

เจตสิกทีเกิดกับจิตที่ไม่ดี ที่จะขโมยในขณะนั้น ครับ

ดังนั้น ขณะที่ขโมย โจรกรรม ไม่มีสติ แต่มีสมาธิ มีวิตกที่จรด-นึกคิดที่จะทำในสิ่งที่

ไม่ดีในขณะนั้นครับ และ มีสภาพธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
มนัสสกังขา
วันที่ 21 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 21 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สิ่งสำคัญที่ข้ามไม่ได้เลย คือความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้น ตามความเป็นจริงแล้วสัตว์บุคคล ไม่มี มีแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้น แม้แต่ที่เรียกว่า "โจร"เพราะอะไรจึงเรียกว่าเป็นโจร ก็เพราะสภาพธรรมฝ่ายไม่ดี คือ อกุศลธรรมมีกำลังมาก เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงกระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเบียนผู้อื่นให้เดื่อนร้อน ซึ่งไม่พ้นไปจากอกุศลจิต และ อกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย และเมื่อศึกษาไปตามลำดับก็จะเข้าใจว่า ในขณะที่จิตเป็นอกุศลนั้น จะไม่มีสภาพธรรมฝ่ายดีเกิดร่วมด้วยเลย แม้แต่ประเภทเดียว ขณะที่จิตเป็นอกุศล จะไม่มีศรัทธา จะไม่มีหิริ จะไม่มีโอตตัปปะ เป็นต้น เกิดร่วมด้วย รวมถึงสติ ด้วย เพราะสติ เป็นโสภณเจตสิกที่เกิดร่วมกับโสภณจิต เท่านั้น ดังนั้น ในขณะที่กระทำโจรกรรม เป็นอกุศล ไม่มีสติ เกิดขึ้น แต่จะมีอกุศลธรรมเกิดขึ้น กล่าวคือ อกุศลจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเช่น ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว ความฟ้งซ่าน ความไม่รู้ ความติดข้อง เป็นต้น เกิดขึ้นในขณะนั้น และในขณะนั้น สมาธิ ก็มีด้ว เพราะสมาธิ (เอกัคคตา-เจตสิก) เกิดร่วมกับจิตทุกขณะ แม้แต่ในขณะที่เป็นอกุศล ก็มีสมาธิ ด้วย แต่เป็นอกุศลสมาธิ เพราะเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต นั่นเอง อกุศลกรรม เป็นกรรมที่ไม่ดี เป็นเหตุที่ไม่ดี ให้ผลเป็นทุกข์ เมื่อรักสุขเกลี่ยดทุกข์ ก็จะต้องไม่กระทำอกุศลกรรมอย่างเด็ดขาด ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
มนัสสกังขา
วันที่ 21 ส.ค. 2554

ขอรบกวนถามอีกนิดนะครับ

๑.ลักษณะความแตกต่างระหว่างวิตกเจตสิกกับสติเจตสิกมีข้อสังเกตอย่างไร

๒.สติที่มีปัญญาประกอบและสติที่ไม่มีปัญญาประกอบเป็นอย่างไร ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แสงจันทร์
วันที่ 21 ส.ค. 2554

ที่ท่านว่าสติจะไม่เกิดร่วมกับอกุศล แต่เรามักได้ยินคำว่า มิจฉาสติๆ หมายถึงอะไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Graabphra
วันที่ 21 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 21 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 และ 6

๑.ลักษณะความแตกต่าง ระหว่าง วิตกเจตสิกกับสติเจตสิก มีข้อสังเกตอย่างไร---------------------------------------------------------------------------------------------

วิตกเจตสิก
มีลักษณะจรด หรือตรึก-นึกคิด ส่วน สติ มีลักษณะ ระลึก การจะรู้ สังเกต-รู้ลักษณะของสภาพธรรมทั้งสองอย่าง ต้องเป็น สติปัฏฐาน คือ ปัญญาขั้นสูง ซึ่งรู้-ตรง-ลักษณะของสภาพธรรมครับ ซึ่งเพียงแต่เราเข้าใจจากขั้นการฟัง ว่าเมื่อใดจิตเป็นอกุศล เช่น คิดถึงเรื่องเก่าที่จำได้ ที่เป็นเรื่องที่ไม่เป็นไปในกุศล ขณะนั้นไม่ประกอบด้วยสติ แต่เป็น วิตกเจตสิก ซึ่งนึกคิดถึงเรื่องเก่าๆ และ จิตขณะนั้นเป็นอกุศล ส่วนขณะใด ที่จิตระลึก เป็นไปในกุศล ขณะนั้น จิตประกอบด้วยสติเจตสิก ซึ่งทำหน้าที่ (กิจ) ระลึก คือ ระลึกที่จะให้ (ทาน) เป็นต้น ครับ---------------------------------------------------------------------------------------------

๒. สติที่มีปัญญาประกอบ และสติที่ไม่มีปัญญาประกอบเป็นอย่างไร ครับ---------------------------------------------------------------------------------------------

สติที่ประกอบด้วยปัญญา คือขณะที่ระลึก และมีความเห็นถูก ตรงตามความเป็นจริงเช่น ขณะที่ให้ทาน ประกอบด้วยความเชื่อกรรมและผลของกรรม ขณะนั้น มีสติ และมีปัญญาที่มีความเห็นถูกในเรื่องกรรมและผลของกรรม ส่วนสติที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สติเกิดกับจิตที่เป็นกุศลทุกประเภท ดังนั้น ขณะที่ให้ทาน แต่ไม่มีปัญญาที่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เป็นต้น เช่น ขณะคิดให้ทาน เพราะสงสาร

ขณะนั้นมีสติ แต่ไม่มีปัญญา เป็นต้น ครับ ดังนั้น ต่างกันที่มีความเห็นถูก ตรงตามความเป็นจริงและ ไม่มีความเห็นถูก ตรงตามความเป็นจริง ครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

ที่ท่านว่าสติจะไม่เกิดร่วมกับอกุศล แต่เรามักได้ยินคำว่า มิจฉาสติๆ หมายถึงอะไรครับ----------------------------------------------------------------------------------------------

มิจฉาสติ
พระองค์ตรัสไว้ เพื่อแสดง มิจฉามรรค หนทางที่ผิด ให้บริบูรณ์ด้วย จึงทรงแสดงคำ
ว่า มิจฉาสติไว้ แต่ในความเป็นจริง สติที่ผิดไม่มี และสติที่ระลึกผิดก็ไม่มี ครับ ดังนั้น ทรงแสดง มิจฉาสติ แสดงเพื่อความบริบูรณ์ของมิจฉามรรค และอีกนัยหนึ่ง การนึกถึงที่เป็นไปในอกุศล เช่น นึกถึงญาติ พี่น้อง เป็นมิจฉาสติ ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...สติไม่มีในมิจฉาสติ [ธรรมสังคณี]

ว่าด้วยมิจฉาสติ [มูลปัณณาสก์]

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
มนัสสกังขา
วันที่ 21 ส.ค. 2554

ขอขอบคุณและอนุโมทนา ในความอนุเคราะห์ให้ข้อมูลคำตอบครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วิริยะ
วันที่ 22 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ในวันหนึ่งๆ หลงลืมสติ เพลิดเพลินไปกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตลอดเวลา ตรง

ข้าม ถ้าสติเกิด ระลึกถึงพุทธคุณของพระพุทธเจ้า แม้เพราะเหตุนี้ๆ ฯลฯ แล้ว จิตสงบ

จากกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ ชั่วขณะ ขณะนั้นประกอบด้วยปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pat_jesty
วันที่ 22 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ