กิริยาของภิกษุบางกรณี

 
ทรง
วันที่  3 ส.ค. 2554
หมายเลข  18854
อ่าน  6,953

พระยืนกินน้ำ ยืนสูบบุหรี่ จะจัดลงในเสขิยวัตร ข้อที่ว่า ห้ามภิกษุยืนปัสสาวะได้ไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ไม่ได้ครับ เอามาอนุโลม ปนกันไม่ไ่ด้ครับ เพราะพระยืนสืบบุหรี่ หรือ ยืนฉันน้ำ ไม่มีใน

เสขิยวัตร 75 ข้อครับ แต่ก็สามารถเป็นอาบัติในข้อเสขิยวัตร ข้ออื่นได้ครับ เช่น การไม่

สำรวมกาย แขน ขา โคลงตัวในละแวกบ้าน เป็นต้น

ขอแสดงเสขิยวัตร 75 ข้อ อันเป็นการประพฤติที่งามของพระภิกษุ อันเป็นประโยชน์กับ

คฤหัสถ์ด้วยที่สามารถประพฤติปฺฏิบัติตามบางข้อที่เหมาะสมครับ เสขิยวัตร 75 ข้อ

หมวดที่ 1 : สารูป มี ๒๖ ข้อ (ว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศในการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน) ๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล."

๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักห่มเป็นปริมณฑล". ๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักปกปิดกายดีไปในละแวกบ้าน". ๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักปกปิดกายดีนั่งในละแวกบ้าน”. ๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักสำรวมดีไปในละแวกบ้าน". ๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน

๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน." ๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน." ๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า." ๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า." ๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความ หัวเราะลั่น." ๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น." ๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน." ๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน." ๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โยกกายไปในละแวกบ้าน." ๑๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โยกกายนั่งในละแวกบ้าน." ๑๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน." ๑๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน" ๑๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน." ๒๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน." ๒๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำความค้ำไปในละแวกบ้าน." ๒๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำความค้ำนั่งในละแวกบ้าน." ๒๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่คลุม (ศีรษะ) ไปในละแวกบ้าน." ๒๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่คลุม (ศีรษะ) นั่งในละแวกบ้าน." ๒๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความกระโหย่ง." ๒๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความรัดเข่า."

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 3 ส.ค. 2554

หมวดที่ ๒ : โภชนปฏิสังยุต มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร) ๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ."

๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรรับบิณฑบาต." ๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.” ๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ." ๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ." ๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต." ๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง." ๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน." ๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ขยุมลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต." ๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก." ๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน." ๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น." ๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก." ๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม." ๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก." ๑๖. พึงทำศึกษาว่า "เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก.” ๑๗. พึงทำศึกษาว่า "ปากยังมีคำข้าวเราจักไม่พูด." ๑๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเดาะ คำข้าว.” ๑๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว." ๒๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.” ๒๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันสลัดมือ." ๒๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก." ๒๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.” ๒๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ .” ๒๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ ๒๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเลียมือ." ๒๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันขอดบาตร." ๒๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก." ๒๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส." ๓๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน."

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 3 ส.ค. 2554

หมวดที่ ๓ : ธัมมเทสนาปฏิสังยุต มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม) ๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ." ๒.พึงทำศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีไม้พลองในมือ." ๓.พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีศัสตราในมือ." ๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บ ไข้มีอาวุธในมือ." ๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมเขียงเท้า." ๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมรองเท้า." ๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ไปในยาน." ๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้อยู่บนที่นอน." ๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า." ๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ." ๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ." ๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เรานั่งอยู่ที่แผ่นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่ง

บนอาสนะ." ๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เรานั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่ง

บนอาสนะสูง." ๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งอยู่." ๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เราเดินไปข้างหลังจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดิน

ไปข้างหน้า." ๑๖. พึงทำศึกษาว่า "เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไป

อยู่ในทาง."
หมวดที่ ๔ : ปกิณณกะ มี ๓ ข้อ (เป็นหมวดเบ็ดเตล็ด) ๑. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ." ๒. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ

บนของสดเขียว." ๓ พึงทำศึกษาว่าเราไม่อาพาธจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะหรือบ้วนเขฬะในน้ำ.” อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 3 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น กิริยาอาการที่ไม่งาม ไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใสของผู้พบเห็นล้วนไม่ควรทำทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว เพศบรรพชิต เป็นเพศที่จะต้องขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าไมขัดเกลาเลย ไม่ศึกษาพระธรรมวินัย ไม่น้อมประพฤติตามพระธรรมวินัย เลย ย่อมเป็นผู้เสื่อมอย่างยิ่ง คือ เสื่อมจากคุณธรรม เสือมจากคุณความดีประการต่างๆ เสื่อมจากมรรคผลนิพพานด้วย เพราะมีการต้องอาบัติเป็นเครื่องกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า การต้องอาบัติที่เกี่ยวกับอาบัติเล็กน้อย คือ อาบัติทุกกุฎ ถึงแม้ว่าจะไม่หนักเท่ากับอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดความเป็นพระภิกษุทันที ก็ตาม แต่เมื่อดูจากความหมายของคำว่า ทุกกฏแล้ว น่าพิจารณาทีเดียว ว่า หมายถึง การกระทำไม่ดี, การกระทำไม่สมควร, การกระทำผิด เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เป็นการกระทำที่ขัดแยังกับกุศลธรรม เป็นการกระทำทีผิดพลาด

เพราะไม่สามารถดำเนินไปถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้

ดังนั้น ประโยชน์จึงอยู่ที่การศึกษาพระธรรมวินัย แล้วน้อมประพฤติตามในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตและงดเว้นจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม และ สะสมปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกต่อไป ด้วย ไม่ใช่ว่าบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ไม่ได้ศึกษาพระธรรม และไม่ได้ขัดเกลากิเลสของตนเอง เลย อย่างนี้ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งกับเพศบรรพชิต เนื่องจากว่าเป็นโทษแก่ตนเองเท่านั้นจริงๆ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 4 ส.ค. 2554

พระภิกษุที่บวชแล้ว ไม่รักษาพระวินัย มีโทษมาก ทำให้ไปเ้กิดในอบายภูมิ

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ว่า ภิกษุรูปหนึ่งอาบัติ เพราะพรากของเขียว แล้วไม่

ปลงอาบัติ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เวลาใกล้ตายก็เดือดร้อน ไม่มีภิกษุ

ที่่จะให้ปลงอาบัติ ตายไปแล้วก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน นี่ทำให้เห็นโทษของ

การทำผิดพระวินัยไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตามค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ