อเหตุกกุศลวิปากจิต 8 ดวง

 
ลุงหมาน
วันที่  15 ก.ค. 2554
หมายเลข  18748
อ่าน  4,073

อเหตุกกุศลวิปากจิตดวงที่ 7 ชื่อว่าอุเปกขาสันตีรณจิต ที่เป็นผลทำให้ปฏิสนธิในมนุษย์และเทวดาชั้นจาตุมฯ นั้น เป็นบุคคลที่ บ้า ใบ้ บอด หนวก พิการ หรือเป็นเทวดาชั้นต่ำ ที่สงสัย คือจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ แล้วจิตชนิดไหนที่ทำหน้าที่ชวนจิตทำให้สันตีรณจิตนำปฏิสนธิในมนุษย์และในเทวดาชั้นจาตุมฯ ถ้าชวนจิตเป็นวิปปยุตก็เห็นว่ามีเหตุ 2 ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อุเปกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต เป็น จิต ชาติวิบาก ที่เป็นกุศลวิบาก สามารถทำกิจนำปฏิสนธิ ทำให้เกิดเป็น มนุษย์ที่บ้า ใบ้ บอด หนวก หรือ พิการตั้งแต่กำเนิดครับ รวมทั้ง เป็นเทวดาชั้นต่ำ ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่ง อุเปกขาสันตีรณจิต เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเลย คือ ไม่ประกอบด้วย เหตุ 6 ประการที่เป็นเจตสิก คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ โลภะ โทสะ โมหเจตสิก ดังนั้นไม่ประกอบด้วยเหตุ 6 ประการเลย ผู้ถามจึงสงสัยว่า เมื่อไม่มีเหตุ ขณะที่เป็น ชวนจิต เป็นจิตชนิดไหน

ก็ต้องเข้าใจครับว่า อุเปกขาสันตีรณกุศลวิบาก เกิดจาก มหากุศล ที่มีกำลังอ่อน ที่เป็นสสังขาริก ไม่ประกอบด้วยปัญญา หรือ เวทนาเป็นอุเบกขา สรุปก็คือ เกิดจากกุศลกรรมที่ทำนั้นมีกำลังอ่อนมาก แต่ก็เป็นกุศล เมื่อกุศลที่มีกำลังอ่อนให้ผล ก็ทำให้เกิด อุเปกขาสันตีรณกุศลวิบาก เกิดจิตชาติที่เป็นกุศลวิบาก แต่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ไม่มีเหตุที่ดีเกิดร่วมด้วยเลย เพราะว่าเกิดจากกุศลกรรมที่มีกำลังอ่อนมากนั่นเอง เป็นสสังขาริก เป็นต้นครับ ดังนั้น ชวนจิตสุดท้าย 5 ขณะก่อนจะจุติ ก็เป็นกุศลกรรมที่มีกำลังอ่อน เกิดที่ชวนจิตในขณะนั้น เป็นผลให้ เมื่อจุติจิตดับไป ปฏิสนธิจิตเกิดต่อ ก็เป็น อุเปกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต ทำกิจปฏิสนธิเกิดเป็นมนุษย์และเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นมนุษย์บุคคลที่ บ้า ใบ้ บอด หนวก พิการ หรือเป็นเทวดาชั้นต่ำ ดังนั้น ขณะที่ทำชวนจิตสุดท้าย จิตที่เป็นมหากุศลที่มีกำลังอ่อนทำกิจทำชวนะในขณะนั้นครับ ไม่ใช่ อุเปกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต ทำกิจชวนะเพราะอุเปกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต เป็นผลของ มหากุศลที่มีกำลังอ่อนครับ ซึ่งทำกิจปฏิสนธิ ภวังคจิตและจุติในชาติหน้านั่นเองครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chaiyut
วันที่ 15 ก.ค. 2554

การให้ผลของกุศลกรรม มีความประณีตแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยหลายอย่าง กุศลจิตที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็มี, ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็มี, กุศลจิตที่มีกำลังกล้า ไม่ต้องอาศัยการชักจูงก็มี, มีกำลังอ่อน ต้องอาศัยการชักจูง ก็มี , เกิดกับความรู้สึกดีใจก็มี -- ดีใจมาก - น้อยก็ต่างระดับกันไปอีก, เกิดกับความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ก็มี

กุศลกรรมทั้งหลายเกิดจากกุศลจิตเป็นปัจจัย ในชีวิตประจำวัน ขณะที่กุศลเกิด กุศลนั้นก็มีความหลากหลายและความวิจิตรตามการสะสมกุศลในแต่ละบุคคล เมื่อกุศลเหตุที่เป็นปัจจัยในการกระทำกุศลกรรมมีความละเอียดของสภาพจิตในระดับที่ต่างกัน ผลที่เกิดจึงแตกต่างกันไปตามสมควรแก่เหตุนั้นๆ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมะทั้งหลาย เช่น ทรงแสดงกามาวจรกุศล และ ผลของกามาวจรกุศล ตามความเป็นจริง คือเป็นจริงทั่วทุกสากลจักรวาล ที่สำคัญคือทรงแสดงเพื่อให้เห็นถึงความเป็นธรรม กุศลและผลของกุศลทั้งหลายเป็นธรรม ซึ่งไม่เที่ยง เกิดแล้วดับเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา คือไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก คือ อะไร อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก คือ อเหตุกจิตประการหนึ่ง ไม่ประกอบด้วยเหตุใดๆ ทั้งสิ้น เป็นผลของกุศลอย่างอ่อน ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ทำกิจได้หลายกิจ เช่น ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ขึ้นชื่อว่าวิบากแล้ว ต้องเป็นผลของกรรม ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นผลของกรรมประเภทใด ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม ก็ทำให้เกิดในอบายภูมิอย่างเดียว, แต่ถ้าเป็นผลของกุศลกรรม ก็ทำให้เกิดในสุคติภูมิ ตามสมควรแก่กรรม ทั้งที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ หรือ เหตุ ๒ หรือไม่ประกอบด้วยเหตุใดๆ เลย การเกิดเป็นมนุษย์ผู้พิการบ้าบอดหนวกตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดเป็นเทวดาชั้นต้น ซึ่งเป็นเทวดาที่อาศัยอยู่ภาคพื้น เป็นผลของกุศลที่มีกำลังอ่อน เช่น มหากุศลดวงที่ ๘ ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีเวทนาเป็นอุเบกขา เป็นจิตที่มีกำลังอ่อน มหากุศลดวงนี้เวลาจะให้ผล ก็จะไม่ให้ผลเป็นอกุศลวิบากเลย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่กุศลกรรมจะให้ผลเป็นอกุศลวิบาก แต่จะให้ผลเป็นกุศลวิบากประเภทที่เป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก อันเป็นผลมาจากเหตุคือกุศลที่มีกำลังอ่อน ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ผู้พิการบ้าบอดหนวกตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดเป็นเทวดาชั้นต้น ดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดมากทีเดียว เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 15 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ลุงหมาน
วันที่ 16 ก.ค. 2554

กราบขอบคุณทุกคำตอบที่ให้ความกระจ่าง

และขออนุโมทนากุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 16 ก.ค. 2554

อุเปกขาสันตีรณกุศลวิบาก เป็นผลของกุศลที่มีกำลังอ่อนมาก เช่น กุศลขั้นทานเล็กๆ น้อยๆ ให้สักแต่ว่าให้ ให้ด้วยความรำคาญ อย่างมีขอทานมาขอเงิน เราก็รังเกียจเขา และไม่พอใจที่เขามาขอแต่ก็ให้ด้วยความรำคาญ เพื่อเขาจะได้ไปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 16 ก.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ลุงหมาน
วันที่ 17 ก.ค. 2554

ต้องขอรบกวนท่านอีกนะครับ ผมมีความเข้าใจและยังมีความคิดที่ยังวนเวียนอยู่อย่างนี้ว่า สันตีรณกุศลอเหตุกวิบากจิต เป็นจิตที่นำปฏิสนธิในภูมิมนุษย์และเทวดาชั้นจาตุมฯ อันนี้ถือว่าเป็นผล เมื่อมีผลก็ต้องถามหาเหตุ เหตุนั้นก็น่าจะเป็นชวนจิตของทวิเหตุที่เป็นสสังขาริกจิต ดังที่อาจารย์ได้กล่าวไว้นั้น ถ้าจะดูผลนั้นกับเป็นอเหตุกจิตเหมือนกับว่าผลนั้นไม่ได้อาศัยเหตุ และก็ผลนั้นก็ตรงกับคำหลั่งไหลมาจากเหตุ และผลจะมีได้ก็ต้องอาศัยเหตุ ดังนี้

ถ้าจะยกตัวอย่างๆ นี้ผมพอจะมองเห็น คือ อสัญญสัตตาพรหม เขาใช้ชีวิตรูปนำปฏิสนธิ เมื่อมีแต่รูปก็สิ้นสงสัยว่าไม่มีเหตุ (ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ) ผมขอสนทนาแบบน้อมรับขอเพิ่มเติมความรู้ เพื่อขจัดความสงสัย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 17 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

ต้องเข้าใจใหม่ครับว่า กุศลจิตที่เกิดขึ้น จะต้องมีเหตุ อย่างน้อย 2 เหตุ คือ อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ หรือ มี 3 เหตุคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เหตุครับ ปัญหาคือ เมื่อกุศลจิตที่มีอย่างน้อย 2 เหตุ ทำไมให้ผลเป็นไม่มีเหตุ คือ อเหตุกจิตได้ เช่น อุเปกขาสันตีรณกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุครับ เป็นไปได้ครับ ไม่ไ่ด้หมายความว่า เมื่อมหากุศลที่ประกอบด้วยเหตุ 2 แล้ว ผลของกุศลจิตที่ประกอบด้วยเหตุ 2 คือ อโลภะ อโทสะ ผลของกุศลนั้น จะต้องเป็น วิบากที่ประกอบด้วยเหตุเสมอไปนะครับ ไม่จำเป็นเลย เพราะมหากุศล 8 ดวง ก็แบ่งไปตามกำลังของกุศล อันเป็นไปตามเวทนาและเหตุที่เกิดร่วมด้วยและความมีกำลังหรืิอไม่มีกำลัง ดังนั้น เมื่อเป็นกุศลที่มีกำลังอ่อนมาก แต่ก็เป็นกุศล ประกอบด้วย 2 เหตุ ผล ก็สามารถทำให้เป็นผลที่ไม่ประกอบด้วยเหตุได้ครับ

ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น เป็นวิบากใช่ไหมครับ ถ้าเกิดจากกุศลกรรมก็ต้องเป็นวิบากที่ดี ดังนั้น เหตุ คือ กุศลกรรม (ต้องประกอบด้วยเหตุ 2 เป็นอย่างน้อย) เมื่อมีเหตุ 2 ผลของกุศลนั้นที่ประกอบด้วยเหตุ 2 ก็ทำให้เกิด อเหตุกจิตได้ นั่นคือ การเห็น การได้ยิน เป็นต้นครับ ดังนั้น กุศลกรรมที่อย่างน้อยต้องมีเหตุ 2 สามารถให้ผลเป็นอเหตุจิตได้ มี การเห็น ได้ยิน รวมทั้ง อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากที่เป็นอเหตุกจิตได้ด้วยครับ ไม่ใช่ว่า เมื่อกุศลกรรมมีเหตุ 2 ผลจะต้องเป็นจิตที่ประกอบด้วยเหตุเสมอไป สรุปคือ กุศลกรรมที่ประกอบด้วยเหตุ 2 ที่เป็นทวิเหตุ ผลของกุศลกรรมนั้น ทำให้เกิดวิบากที่เป็นเหตุ 2 ก็ได้ คือ ทวิเหตุ หรือ วิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุก็ได้ครับ ส่วนกุศลกรรมที่ประกอบด้วยเหตุ 3 คือ อโลภะ อโืทสะ และอโมหะ สามารถให้ผล เป็นวิบากที่ประกอบด้วยเหตุ 2 คือ ทวิเหตุ และ วิบากที่ป็นเหตุ 3 ที่เป็นติเหตุได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ลุงหมาน
วันที่ 18 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
jadesri
วันที่ 27 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ