อินทรีย์สังวรเป็นการรักษาศีล

 
pirmsombat
วันที่  7 ก.ค. 2554
หมายเลข  18698
อ่าน  1,274

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

..........................

ลำดับนั้น เพราะอินทรีย์สังวรเป็นการรักษาศีล หรือเพราะเทศนานี้

ที่พระองค์ทรงแสดงตามลำดับนี้ เป็นที่สบายของเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเริ่มตั้งแต่อินทรีย์สังวรไป

จึงทรงปรารภคำมีอาทิว่า จกฺขูหิ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขูหิ เนว โลลสฺส ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเล

ด้วยจักษุทั้งหลาย คือไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ด้วยอำนาจมีรูปที่

เราไม่เคยดู ควรดูเป็นต้น. บทว่า คามกถาย อาวรเย โสตํ พึงป้องกันหู

จากคามกถา (คำพูดของชาวบ้าน) คือพึงป้องกันหูจากติรัจฉานกถา.

บทว่า จกฺขุโลลิเยน ความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือความเป็นผู้

โลเลด้วยจักษุ ด้วยอำนาจความโลภอันเกิดขึ้นแล้วในจักษุทวาร. บทว่า

อทิฏฺฐํ ทกฺขิตพฺพํ รูปที่เราไม่เคยดู ควรดู คือรูปารมณ์ที่เราไม่เคยดูควร

เพื่อจะดู. บทว่า ทิฏฺฐํ สมติกฺกมิตพฺพํ รูปที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป

คือคือพึงป้องกันหูจากติรัจฉานกถา.

คือรูปารมณ์ที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป. บทว่า อาราเมน อารามํ สู่สวน

แต่สวน คือสู่สวนผลไม้ สวนดอกไม้เป็นต้น แต่สวนมีสวนดอกไม้

เป็นต้น. บทว่า ทีฆจาริกํ คือ เที่ยวไปนาน. บทว่า อนวฏฺฐิตจาริกํ เที่ยวไป

ไม่แน่นอน คือเที่ยวไปโดยไม่ตกลงใจ. บทว่า อนุยุตฺโต โหติ

รูปทสฺสนาย เป็นผู้ขวนขวายเพื่อจะดูรูป คือเป็นผู้ขวนขวายบ่อยๆ

เพื่อจะดูรูปารมณ์. บทว่า อนฺตรฆรํ ปวิฏฺโฐ เข้าไปสู่ละแวกบ้าน คือ

เข้าไปถึงภายในธรณีประตู. บทว่า วีถึ ปฏิปนฺโน เดินไปตามถนน คือ

ก้าวไประหว่างถนน. บทว่า ฆรมุขานิ โอโลเกนฺโต แลดูหน้ามุขเรือน

คือมองดูประตูเรือน. บทว่า อุทฺธํ โอโลเกนฺโต แลดูข้างบน คือแหงน

หน้ามองดูเบื้องบน. บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือ

เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถเห็นรูป ที่เรียกว่าจักษุด้วยอำนาจของ

เหตุ. แต่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า จักษุไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจิต

จิตไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ ย่อมเห็นด้วยจิตอันมีปสาทจักษุกระทบ

อารมณ์ทางทวาร. ก็กถาเช่นนี้ชื่อว่าสสัมภารกถา (กล่าวรวมกัน) ดุจใน

ประโยคมีอาทิว่า ยิงด้วยธนูเพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีว่า เห็นรูป

ด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี เป็นผู้ถือนิมิต คือถือนิมิตหญิง

และชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส มีสุภนิมิตเป็นต้นด้วยอำนาจ

ฉันทราคะ. เพียงเห็นเท่านั้นนิมิตไม่ปรากฏ. บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี

ถืออนุพยัญชนะ คือถืออากาหันต่างด้วยมือ เท้า หัวเราะ ขบขัน พูด

ชำเลืองดูและการเหลียวดูเป็นต้น เรียกว่าอนุพยัญชนะเพราะทำให้ปรากฏ

โดยเป็นเหตุให้กิเลสทั้งหลายปรากฏ. พึงทราบความในบทว่า ยตฺวาธิ-

กรณเมนํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้

พึงครอบงำติดตามบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ด้วยประตูคือสติ ผู้ไม่ปิด

จักษุทวารอันเป็นเหตุแห่งการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ บทว่า ตสฺส สํรราย

น ปฏิปชฺชติ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ คือย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ

ปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ. ท่านกล่าวว่า ภิกษุเป็นอย่างนี้ ชื่อว่า

ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์บ้าง. ในบทนั้น

การสำรวมหรือไม่สำรวม ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์โดยแท้. เพราะสติหรือ

การหลงลืมย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย จักษุประสาท อีกอย่างหนึ่ง เมื่อใด

รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปสองครั้ง

กิริยามโนธาตุยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. แต่นั้นจักษุ-

วิญญาณก็ทำหน้าที่เห็น. แต่นั้นวิปากมโนธาตุ ทำหน้าที่รับ. แต่นั้น

วิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ทำหน้าที่พิจารณา. แต่นั้นกิริยาอเหตุก-

มโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. ในลำดับนั้น

ชวนจิตย่อมแล่นไป. ความไม่สำรวมหรือความสำรวมย่อมไม่มีในสมัย

แห่งภวังคจิตแม้นั้น ย่อมไม่มีในสมัยใดสมัยหนึ่ง บรรดาอาวัชชนจิตเป็น

ต้น. ก็ในขณะชวนจิต หากว่า ความเป็นผู้ทุศีล ความหลงลืม ความไม่รู้

ความไม่อดทน หรือความเกียจคร้านเกิดขึ้น ความไม่สำรวมย่อมมี. ภิกษุ

เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์. เพราะเหตุ

ไร. เพราะเมื่อไม่มีการสำรวมในจักขุนทรีย์มีอยู่ แม้ทวารก็ไม่เป็นอัน

คุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิต มีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง

เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านในนครไม่ปิด แม้จะปิดประตู

เรือนซุ้มและห้องเป็นต้นข้างในก็ตาม ถึงดังนั้นก็ไม่เป็นอันรักษาคุ้มครอง

ทรัพย์ทั้งหมดภายในนครนั่นเอง โจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูนคร พึง

ทำตามความต้องการฉันใด เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เกิดขึ้นในชวนจิต

เมื่อไม่มีการสำรวมนั้น แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถี

จิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 8 ก.ค. 2554

ยาก ลึกซึ้ง แต่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งแก่สติ

ขออนุโมทนาคุณหมอ pirmsombat ที่กรุณานำเรื่อง อินทรีย์สังวรและการรักษาศีล มา

แบ่งปัน ดิฉันมีความสนใจในเรื่องนี้มากๆ ค่ะ....

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ค. 2554

อินทรียสังวรเป็นการรักษาศีลด้วยและมีสมาธิและปัญญาในขณะนั้นด้วยครับ ดังนั้นเมื่อ

เป็นอินทรียสังวร คือ การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่เราที่สำรวม แต่เป็นสติและ

ปัญญาเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรมไม่ใช่เรา ใน 6 ทวาร ใน

ขณะนั้น เป็นการเจริญ สิกขา 3 คือ ศีล สมาธิและปัญญา และเป็นหนทางในการดับกิเลส

ด้วยครับ ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 8 ก.ค. 2554

ขอบคุณและขอนุโมทนาคุณ nong และคุณเผดิมครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ