วันแห่งความรัก (ตน)

 
kanchana.c
วันที่  19 ก.พ. 2554
หมายเลข  17907
อ่าน  1,989

เดือนนี้มีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันที่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศโอวาทปาติโมกข์ หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา หลังจากทรงตรัสรู้และทรงแสดงธรรมแล้ว ๙ เดือน เพื่อเป็นหลักในการเผยแพร่พระ- พุทธศาสนา และ วันนี้มักจะใกล้กับวันวาเลนไทน์ซึ่งเป็นวันที่ชาวโลกนิยมกันว่า เป็นวัน แห่งความรัก เป็นวันแสดงออกซึ่งความรักที่มีต่อกัน ด้วยการมอบดอกกุหลาบสีแดง หรือช็อตโกแล็ตรูปหัวใจให้แก่กัน ซึ่งเป็นที่นิยมชมชอบของคนทั่วโลก บางท่านก็เลย นำวันมาฆบูชากับวันแห่งความรักมาเชื่อมโยงกัน แต่ที่จริงแล้วไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย วันนี้ (เสาร์ที่ ๑๙ ก.พ. ๕๓) ทางมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ได้นำพระสูตรเรื่อง ปิยสูตร (ว่าด้วยผู้ไม่รักตนและผู้รักตน) มาสนทนา (คือ มาสาธยาย หมายถึง ทบทวนด้วยการอ่านและซักถาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นด้วยภาษาไทย เพราะถ้า กล่าวเป็นภาษาบาลี ที่มักเข้าใจว่า เป็นการสวดมนต์นั้น ไม่เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกัน บาง ท่านก็เลยเข้าใจว่า ที่มูลนิธิฯ ไม่มีการสวดมนต์ แต่ที่จริงแล้ว มีการสาธยาย คือ ทบทวนคำสอนที่เป็นพระสูตรต่างๆ นั้นเป็นภาษาไทย เพื่อให้ถึงจุดประสงค์ที่สำคัญใน การศึกษาพระธรรม คือ เข้าใจคำสอนมากยิ่งขึ้น)

ท่านอาจารย์สรุปว่า ผู้รักตน ย่อมไม่ทำอกุศลกรรม เพราะจะได้รับผลเป็นอกุศลวิบาก ในภายหน้า ขณะที่ทำร้ายผู้อื่น คือ ทำร้ายตัวเอง ผู้ที่ยังเห็นว่าเป็นตัวตนอยู่ ยังชื่อว่า ไม่รักตน และ ที่สำคัญที่สุด คือ ทุกวันควรเป็นวันที่เข้าใจพระธรรม ถ้าเป็นอย่างนั้น จึงจะชื่อว่า รักตน อย่างแท้จริง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 19 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ทุกวันควรเป็นวันที่เข้าใจพระธรรม"

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ. กาญจนา และ ทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
bsomsuda
วันที่ 19 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณค่ะพี่แดง และขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 19 ก.พ. 2554

"...ทุกวันควรเป็นวันที่เข้าใจพระธรรม..."

วลีสั้นๆ ซึ่งควรอย่างยิ่งที่จะฝังไว้ในใจ

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่แดงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chaiyut
วันที่ 20 ก.พ. 2554

ได้ฟังข่าวทางสื่อมาครับว่า ทางโลกพยายามจัดให้ "วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรักทางพระพุทธศาสนา" แต่สำหรับผู้ที่ศึกษาพระธรรมและได้เข้าใจพระธรรมด้วยความปีติซาบซึ้งในรสพระธรรมจริงๆ ย่อมไม่อาจจะที่จะลดระดับความสำคัญของพระรัตน-ตรัยลงไปให้ทัดเทียมกับเรื่องประเพณีความรักของชาวโลกได้ เพราะความยำเกรงที่มี และด้วยเคารพนอบน้อมอย่างสูงสุดในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ครับ

ในส่วนของธรรมที่ท่านอาจารย์แสดง ผมชอบประโยคนี้ครับ

" ผู้ที่ยังเห็นว่าเป็นตัวตนอยู่ ยังชื่อว่า ไม่รักตน "

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.กาญจนา ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 21 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
choonj
วันที่ 21 ก.พ. 2554

วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วเก้าเดีอน เป็นวันที่พระพุทธเจ้า แสดงหัวใจของพระพุทธศาสนาคือ โอวาทปาติโมกข์ คือ การไม่ ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตให้ผ่องใส นี่เป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นวันที่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกัน โดยไม่ได้นัดหมาย จะสังเกตุได้ว่า แค่เก้าเดีอนเท่านั้นมีพระอรหันต์แล้ว ๑,๒๕๐ รูป คือ คนในยุคนั้นมี ปัญญามากเลยทีเดียว ถ้าเป็นยุคนี้แล้วคงลืมได้เลย

โอวาทปาติโมกข์ ปิยสูตรว่าด้วยรักตนไม่รักตน และ วันวาเลนไทน์วันแห่งความ รัก มีอะไรที่เหมือนกันอยู่คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การไม่รักตน และความรัก การไม่ทำบาปทั้งปวง อธิบายว่า อกุศลทำให้เดือดร้อน การไม่รักตน อธิบายว่า อกุศลทำให้เดือดร้อน ความรักก็ อธิบายว่า อกุศลทำให้เดือดร้อน

วันวาเลนไทน์ ก็มีความรักอย่างเดียว ปิยสูตรมี รักตนด้วยไม่รักตนด้วย แต่โอวาท ปาติโมกข์มีการชำระจิตให้ผ่องใส เป็นการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง จึงไม่ใช่ตามวันวาเลนไทน์แต่วันวาเลนไทน์ตามวันมาฆบูชา....ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tiwa
วันที่ 21 ก.พ. 2554

กว่าจะเห็นถูกว่า ไม่มีตัวตน ก็คงอีกยาวไกลนัก หากวันนี้เพียง ฟัง "เพื่อละความไม่รู้" สงสัยค่ะว่า แล้ว ทำไมถึง "......ยังชื่อว่าไม่ รักตน" ตนที่ว่านี้ เป็นตัวตนหรือเปล่าคะ กำลังฟังและศึกษาเพื่อละความไม่รู้ค่ะ

กราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
choonj
วันที่ 22 ก.พ. 2554

"ไม่รักตน" ในปิยสูตรต้องเข้าใจเป็นสองความหมาย คำว่า ปิย นี้มีความหมายทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ดังนั้น รักตน อธิบายว่าเป็นกุศล และไม่รักตนเป็นอกุศล ความหมาย คือ เมื่อเป็นอกุศล ทุจริตทางกาย วาจา ใจแล้ว ย่อมได้รับผลที่ไม่ดี เป็นวิบาก ย่อมได้รับทุกข์ กระทำตนให้ลำบาก คือไม่รักตน ส่วนรักตนความหมายก็ตรงกันข้าม...ฯ พระสูตรแต่ละพระสูตร มีความหมายลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก เป็นสูญญตา ต้องเข้าใจเป็นธรรม ผู้ศึกษาเมื่อไม่มนสิการก็จะเข้าใจเป็นเรื่องราว มีตนเป็นที่รัก หรือมีตนไม่เป็นที่รัก ก็จะไม่ได้ตามจุดประสงค์ของพระสูตร...ฯ โอวาทปาติโมกข์ คำว่า ปาติ มีความหมายว่า ตกไปในอกุศล แต่เมื่อเป็นปาติโมกข์ ความหมายคือตกไปพ้นจากอกุศล เป็นกุศล พระสูตรสองพระสูตรนี้จึงมีความหมายคล้ายกันคือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การไม่รักตน ว่าด้วยอกุศล และการยังกุศลให้ถึงพร้อม การรักตน ว่าด้วยกุศล ความเข้าใจก็เป็นอย่างนี้แล....ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 ก.พ. 2554

คำว่ารักเป็นไปได้ทั้งทางกุศลและอกุศล..คำว่ารักทั่วไปที่เป็นความติดข้องเป็นอกุศลเช่นความรักระห่วางหญิงชาย...ไม่เห็นหน้าก็คิดถึง..เลิกเป็นแฟนกันก็เสียใจในทางตรงข้าม..หากเป็นความปรารถนาดีเป็นมิตรเป็นเพื่อนเกื้อกูลให้เกิดกุศลหรือที่เรียกว่าเมตตาเป็นความรักที่ไม่ก่อให้เกิดทุกข์ภายหลัง.หากศึกษาพระธรรมจะสามารถเข้าใจว่ารักที่ควรเป็นคืออย่างไร.รักอย่างไรที่เป็นประโยชน์และรักอย่างไรที่เป็นโทษ. .ถ้าถามว่าในชีวิตรักใครมากที่สุด..?

คำถามนี้เหมือนง่ายแต่มักตอบผิดเพราะคำตอบที่ถูกต้องคือ รักตนเองมากที่สุด...

เชิญคลิกอ่าน...

ไม่มีผู้เป็นที่รักกว่าตน [ราชสูตร]

คำว่าตนโดยปรมัตหมายถึงจิต เชิญคลิกอ่าน

ตั้งตนไว้ชอบ [มังคลัตถทีปนีแปล]

รักอย่างไรเรียกว่ารักเป็นหรือรักแท้และรักอย่างไรเรียกว่ารักไม่เป็น..รักไม่จริงหรือรักเทียม

......คำตอบมีแล้วตามที่เฉลยในกระทู้ข้างบน....

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เซจาน้อย
วันที่ 23 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Pornkamol
วันที่ 15 ก.พ. 2565

สาธุ สาธุ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ก.พ. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ