บารมี ๑๐ ปกิณณกกถา [จริยาปิฎก]

 
Khaeota
วันที่  14 มิ.ย. 2553
หมายเลข  16459
อ่าน  1,098

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 618

ข้อความบางตอนจาก

บารมี ๑๐

ในวัตถุเหล่านั้น พระมหาบุรุษ เมื่อจะให้วัตถุภายนอกรู้ด้วยตนเองว่า.... - จะให้วัตถุแก่ผู้มีความต้องการ. - แม้เขาไม่ขอก็ให้. ไม่ต้องพูดถึงขอละ. - มีของให้ จึงให้. - ไม่มีของให้ ย่อมไม่ให้. - ให้สิ่งที่ปรารถนา. เมื่อมีไทยธรรม - ย่อมไม่ให้สิ่งที่ไม่ปรารถนา. - อาศัยอุปการะตอบย่อมให้. - เมื่อไม่มีไทยธรรม ย่อมแบ่งสิ่งที่ปรารถนาให้สมควรแก่การ แจกจ่าย. อนึ่ง - ไม่ให้ศัสตรายาพิษและของเมาเป็นต้น อันจะนำมาซึ่งความ เบียดเบียนผู้อื่น. - แม้ของเล่นอันประกอบด้วยความพินาศ และนำมาซึ่งความ

ประมาท ก็ไม่ให้. อนึ่ง - ไม่ให้ของไม่เป็นที่สบาย มีน้ำดื่มและของบริโภค เป็นต้น หรือของที่เว้นจากการกำหนดแก่ผู้ขอที่เป็นไข้. แต่ให้ของ เป็นที่สบายเท่านั้นอันสมควรแก่ประมาณ. อนึ่ง - คฤหัสถ์ขอก็ให้ของสมควรแก่คฤหัสถ์. บรรพชิตขอก็ให้ของ สมควรแก่บรรพชิต. - ให้ไม่ให้เกิดความเบียดเบียนแก่ใครๆ ในบรรดาบุคคลเหล่า นี้ คือ มารดาบิดา ญาติสาโลหิต มิตรอำมาตย์ บุตร ภรรยา ทาสและกรรมกร. อนึ่ง - รู้ไทยธรรมดีมาก ไม่ให้ของเศร้าหมอง. อนึ่ง - ไม่ให้อาศัยลาภสักการะความสรรเสริญ. - ไม่ให้อาศัยการตอบแทน. - ไม่ให้หวังผลเว้นแต่สัมมาสัมโพธิญาณ. - ไม่ให้รังเกียจผู้ขอหรือไทยธรรม. อนึ่ง - ไม่ให้ทานทอดทิ้ง ยาจกผู้ไม่สำรวม แม้ผู้ด่าและผู้โกรธ. ที่แท้มีจิตเลื่อมใส ให้อนุเคราะห์ด้วยความเคารพอย่าง เดียว.

- ไม่ให้เพราะเชื่อมงคลตื่นข่าว. ให้เพราะเชื่อกรรมและผล แห่งกรรมเท่านั้น. - ไม่ให้โดยที่ทำยาจกให้เศร้าหมอง ด้วยการให้เข้าไปนั่ง ใกล้เป็นต้น.

- ไม่ให้ทำให้ยาจกเศร้าหมอง. อนึ่ง - ไม่ให้ประสงค์จะลวงหรือประสงค์จะทำลายผู้อื่น. ให้มีจิต ไม่เศร้าหมองอย่างเดียว. - ไม่ให้ทานใช้วาจาหยาบ หน้านิ่วคิ้วขมวด. ให้พูดน่ารัก พูดก่อน พูดพอประมาณ. - โลภะมีมากในไทยธรรมใด เพราะความพอใจยิ่งก็ดี เพราะสะสมมานานก็ดี เพราะความอยากตามสภาพก็ดี. พระโพธิสัตว์รู้อยู่บรรเทาไทยธรรมนั้นโดยเร็ว แล้วแสวง หายาจกให้.

อนึ่ง - ไทยวัตถุใดนิดหน่อยแม้ยาจกก็ปรากฏแล้ว แม้ไม่คิดถึง ไทยวัตถุนั้น ก็ทำตนให้ลำบากแล้วให้ยาจัก นับถือ เหมือนอกิตติบัณฑิต ฉะนั้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ก.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ