ว่าด้วยคู่แห่งความดีและความชั่ว [ยมกวรรคที่ ๑]

 
Khaeota
วันที่  7 มิ.ย. 2553
หมายเลข  16403
อ่าน  1,409

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑[เล่มที่ 40] - หน้าที่ 1

คาถาธรรมบท

ยมกวรรคที่ ๑

ว่าด้วยคู่แห่งความดีและความชั่ว [๑๑๑]

๑. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น.

๒. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว ฉะนั้น.

๓. ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้นว่า ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับได้ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความ โกรธนั้นไว้ว่า ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้น ได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับ

๔. ในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มี เวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

๕. ก็ชนเหล่านั้นไม่รู้ตัวว่า พวกเราพากัน ย่อยยับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นี้ ฝ่ายชนเหล่าใดใน หมู่นั้นย่อมรู้ชัด ความหมายมั่นกันและกันย่อมสงบ เพราะการปฏิบัติของตนพวกนั้น.

๖. ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่างาม ไม่สำรวมใน อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทรามอยู่. ผู้นั้นแล มารย่อมรังควานได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ลมรังควานได้ ฉะนั้น (ส่วน) ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า ไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน โภชนะ มีศรัทธาและปรารภความเพียรอยู่ ผู้นั้นแล มารย่อมรังควานไม่ได้ เปรียบเหมือนภูเขาหิน มีรู้ความไม่ได้ ฉะนั้น.

๗. ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศจาก ทมะและสัจจะ จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ. ผู้นั้นย่อม ไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดพึงเป็นผู้มีกิเลส ดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลายประกอบ ด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ

๘. ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผู้เป็นโคจร ย่อม ไม่ประสบสิ่งอันเป็นสาระ ชนเหล่าใดรู้สิ่งอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และสิ่งที่ไม่เป็นสาระ โดยความไม่เห็นสาระ ชนเหล่านั้น ไม่ความดำริชอบ เป็นโคจร ย่อมประสบสิ่งเป็นสาระ.

๙. ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ฉันนั้น. 'ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ฉันใด ราคะก็ย่อม เสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ฉันนั้น.

๑๐. ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศก เขาย่อมเดือดร้อน.

๑๑. ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้ว ก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง เขาเห็นความหมดจดแห่งธรรมของตน ย่อมบันเทิง เขาย่อมรื่นเริง.

๑๒. ผู้ปกติทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง เขาย่อมเดือดร้อนว่า กรรมชั่วเราทำแล้ว ไปสู่ทุคติย่อมเดือดร้อนยิ่งขึ้น.

๑๓. ผู้มีบุญอันตนทำไว้แล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ในโลกนี้ และไปแล้วย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้งสอง เขาย่อมเพลิดเพลินว่า เราทำบุญไว้แล้ว สู่สุคติย่อมเพลิดเพลินยิ่งขึ้น.

๑๔. หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมี ประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้ เขาย่อมไม่ เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนเลี้ยงโคนับโค ทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่ง ปัญจโครสฉะนั้น หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์ อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้น้อย (แต่) เป็นผู้มีปกติ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ เขาละราคะ โทสะและโมหะแล้ว รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือในโลกหน้า เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล

จบยมกวรรคที่ ๑


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 11 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ