อวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร

 
WS202398
วันที่  27 พ.ค. 2553
หมายเลข  16344
อ่าน  4,019

คำสอนที่ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร สังขารที่ว่านี้คืออะไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 28 พ.ค. 2553

สังขารที่ว่านี้คืออภิสังขารครับ

ขอเชิญคลิกอ่านที่

อธิบายอภิสังขาร [วิภังค์ ]

อภิสังขาร ๓ [สังคีติสูตร]

สังขาร ๓ ในปฏิจจสมุปปาท

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
WS202398
วันที่ 1 มิ.ย. 2553

ถ้าสังขารในปฏิจจสมุปบาท คือ กุศลเจตสิกหรืออกุศลเจตสิก อย่างใดอย่างหนึ่ง

ถ้าไม่มีอวิชชา เช่นพระอรหันต์ มีเจตสิกหรือไม่ เป็นเจตสิกประเภทใด และเจตสิกประเภทดังกล่าวมีอะไรเป็นปัจจัย เจตสิกประเภทนี้ถึงมี

การอธิบายว่า สังขาร ในปฏิจจสมปุบาท คือ สังขตธรรม หรือ คือ ขันธ์ 5 นั้น ผิดหรือไม่อย่างไร

อวิชชา ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงอะไร อยู่ส่วนใดของจิต

คำว่า "เป็นปัจจัย" ในปฏิจจสมุปบาท หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า เป็นเหตุปัจจัยเดียว หรือเป็นหนึ่งในหลายปัจจัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2553

เรียนคณ ws202398

สังขารในปฏิจจสมุปบาท มี 3 อย่าง คือ

1.เจตนาที่เป็นไปในกุศลขั้นกามาวจรและกุศลขั้นรูปาวจรกุศลจิต

2.เจตนาที่เป็นไปในอกุศลจิต

3.เจตนาที่เป็นในกุศลขั้นอรูปาวจรกุศลจิต

เชิญคลิกอ่านที่นี่.....อภิสังขาร ๓ [สังคีติสูตร]

ถ้าไม่มีอวิชชา เช่นพระอรหันต์ มีเจตสิกหรือไม่ เป็นเจตสิกประเภทใด และเจตสิก

ประเภทดังกล่าวมีอะไรเป็นปัจจัย เจตสิกประเภทนี้ถึงมี?

พระอรหันต์ดับอวิชชาแล้วจึงไม่มีเจตนาที่เป็นไปในกุศลหรืออกุศลเลยครับ แต่เมื่อยัง

มีขันธ์ 5 ยังไม่ไ่ด้ดับขันธปรินิพพาน ก็ยังมี จิต เจตสิกเกิดขึ้นอยู่ มีทั้งเจตนาที่เกิดกับ

กิริยาจิตก็ได้ แต่ไมได้เป็็นเจตนาที่เป็นไปในกุศลหรืออกุศล รวมทั้งเจตสิกอื่นๆ ที่เป็น

เจตสิกฝ่ายดีและเจตสิกอื่นๆ ที่ไม่ใช่เจตสิกที่เป็นอกุศลเจตสิก เหตุที่ยังมีจิต เจตสิก

เกิดขึ้นอยู่เพราะยังมีขันธ์ 5 และเป็นไปตามปัจจัยต่างๆ มีสหชาตปัจจัย อารัมณปัจจัย

เป็นต้นครับ

อวิชชา ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงอะไร อยู่ส่วนใดของจิต

อวิชชาคือสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก คือโมหเจตสิก

คำว่า "เป็นปัจจัย" ในปฏิจจสมุปบาท หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า เป็นเหตุ

ปัจจัยเดียว หรือเป็นหนึ่งในหลายปัจจัย

ปัจจัยคือนำมาซึ่งผลคือสภาพธรรมนั้น เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร คือ เพราะ

ความไม่รู้ ทำให้ทำกุศลหรืออกุศล อวิชชาเป็นปัจจัย นำมาซึ่งผลคือเจตนาในการทำ

กุศลหรือกุศลครับ ซึ่งการนำมาซึ่งผลด้วยอำนาจปัจจัยนั้นก็ด้วยปัจจัยหลายๆ ปัจจัย

ไม่ใช่แค่ปัจจัยเดียวเท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
WS202398
วันที่ 2 มิ.ย. 2553

1.เมื่อเจตนาเจสิก เกิดกับจิตทุกดวง ดังนั้น จิตของพระอรหันต์ ก็คือ เจตสิกที่เกิดขึ้นกับกิริยาจิตอย่างเดียวเท่านั้นใช่หรือไม่

2.กิริยาจิต คือจิตที่มีลักษณะอย่างไรครับ

3.เพราะอวิชชามี สังขารจึงมี ในปฏิจจสมปุบาท ถ้ามีผู้อธิบายว่า สังขาร คือ สังขตธรรม หรือ คือ ขันธ์ 5 นั้น ผิดหรือไม่ ผิดอย่างไร หรือถูกอย่างไร

4.เพราะความไม่รู้ ทำให้ทำกุศลหรืออกุศล ความไม่รู้นี้ คืออะไร ถ้า อวิชชาคือสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก คือโมหเจตสิก สำหรับปุถุชน มีจิตดวงใดที่อาจไม่มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยได้หรือไม่

5.การที่จะกำจัดโมหเจตสิก มิให้เกิดขึ้นได้อีก ต้องทำอย่างไร

6.สังขารในปฏิจจสมุปบาท มี 3 อย่าง ข้างต้น จะเป็นปัจจับให้เกิดวิญญาณได้อย่างไร วิญญาณ ในที่นี้คือจิตใช่หรือไม่ หรือเจตสิก หรืออย่างอื่น พระอรหันต์ก็มีวิญญาณ ก็ท่านดับอวิชชา สังขารจึงดับ แต่ท่านก็ยังมีวิญญาณอยู่มิใช่หรือครับ

7.อะไรเป็นตัวแบ่งแยกระหว่าง กุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตครับ (ความไม่รู้ ทำให้ทำกุศลหรืออกุศล อวิชชาเป็นปัจจัย นำมาซึ่งผลคือเจตนาในการทำกุศลหรือกุศล คือผมสังสัยว่า สถาวะอย่างไรถึงเรียกว่าทำกุศล ทำอกุศล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะอย่างไรของพระอรหันต์ที่ไม่ทำทั้งกุศลและอกุศล แล้วถ้าไม่ทำกุศลและอกุศล แล้วทำอะไรครับ ในเมื่อเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง)

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ 5

1.จิตของพระอรหันต์มี 2 ชาติคือกิริยาจิตและวิบากจิตเพราะฉะนั้นเจตนาเจตสิกที่เกิด

กับจิตทุกดวง เมื่อเกิดกับพระอรหันต์จึงเกิดทั้งกิริยาจิตและวิบากจิตด้วยครับ

2.เชิญคลิกอ่านที่นี่...กิริยาจิต

3.อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารในปฏิจจสมุปบาทหมายถึง เจตนาสิกที่เป็นไป

ในกุศลหรืออกุศ ล ส่วนสังขารขันธ์ในขันธ์ 5 มีเจตสิก 50 ดวงและสังขตธรรมหมายถึง

สภาพธรรมที่ปรุงแต่งเกิดขึ้นและดับไปรวมทั้งรูปและจิตและเจตสิกด้วยเพราะฉะนั้นจึง

ไม่ถูกต้องที่กล่าวว่าสังขารในปฏิจจสมุปบาทคือสังขตธรรมและสังขารขันธ์ในขันธ์ 5 เพราะกว้างไปครับ

4.จิตที่ใดที่ไม่ใช่่อกุศลจิต ไม่มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ

5.ฟังธรรมหใ้ห้เข้าใจในเรื่องของสภาพธรรมจนเป็นปัจจัยให้สติเกิดรู้ความจริงในขณะนี้

6.สังขารในปฏิจจสมุปบาทที่เป็นเจตนาเจตสิกในการทำบุญหรือบาป เมื่อทำบุญหรือ

บาปแล้ว ผลของบุญและบาปย่อมนำให้ปฏิสนธิ (เกิด) เกิดขึ้น ปฏิสนธิเป็นจิตชาติวิบาก

จิตเรียกว่าวิญญาณก็ได้ จึงเรียกว่าปฏิสนธิวิญญาณเพราะมีการทำบุญและบาป (สังขาร)

จึงมีการเกิด มีวิญญาณเกิดคือปฏิสนธิวิญญาณครับ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีเจตนาที่

เป็นไปในบุญและบาปและท่านดับเชื้อคือกิเลสที่จะทำให้เกิดแล้ว สังขารของท่าน

(เจตนาเจตสิก) จึงไม่เป็นไปในบุญและบาปจึงไม่ทำให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณคือการเกิด

ใหม่ได้ครับ แต่ท่านมีวิญญาณคือจิตประเภทอื่นเกิดคือจิตชาติกิริยาและวิบากจิต แต่ไม่

เป็นปัจจัยให้เกิดการเกิดคือปฏิสนธิวิญญาณครับ

7.ตัวแบ่งแยกระหว่างกุศลจิต อกุศลจิตและกิริยาจิตคือประเภทของจิตนั้นและเจตสิกที่

เกิดร่วมด้วยครับ สภาวะที่ทำกุศลหรือกุศลคือเจตนาที่เป็นไปทาน ศีล ภาวนาของผู้ที่

ไม่ใช่พระอรหันต์หรือเจตนาที่เป็นไปในการทำบาปของผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ส่วนพระ

อรหันต์ดับกิเลสแล้ว เจตนาของท่านมีอยู่คือความตั้งใจ แต่ตั้งใจทำสิ่งใด ไม่จำเป็น

ว่าสิ่งนั้นต้องเป็นกุศลหรือกุศลแต่เป็นกิริยาจิต เช่น ท่านบิณฑบาตแต่ท่านก็ไม่มีความ

โลภ แต่เป็นหน้าที่ เป็นความตั้งใจปฏิบัติด้วยกิริยาจิต เพราะที่เป็นกิริยาจิตเพราะท่าน

ดับกิเลสหมดแล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
WS202398
วันที่ 2 มิ.ย. 2553

1."เมื่อทำบุญหรือบาปแล้ว ผลของบุญและบาปย่อมนำให้ปฏิสนธิ (เกิด) เกิดขึ้น ปฏิสนธิเป็นจิตชาติวิบากจิตเรียกว่าวิญญาณก็ได้ จึงเรียกว่าปฏิสนธิวิญญาณเพราะมีการทำบุญและบาป (สังขาร) จึงมีการเกิด มีวิญญาณเกิดคือปฏิสนธิวิญญาณ"

ถามว่า วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงเฉพาะ ปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งเป็นจิตดวงแรกของชาตินั้นใช่หรือไม่ เช่น จิตดวงแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา ใช่หรือไม่

ถามว่า เมื่อมีปฏิสนธิวิญญาณ และวิญญาณดวงต่อๆ มา ซึ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้น / ปฏิสนธิวิญญาณมี เพราะสังขารคือเจตนาในกุศลอกุศลมี / แล้ววิญญาณดวงถัดมาที่มิใช่ปฏิสนธิวิญญาณ มีอะไรเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ดวงต่อๆ มา วิญญาณดวงต่อๆ มานั้น มีความสัมพันธ์ทางปัจจัย กับ อวิชชาและสังขารหรือไม่

2.เหตุใดถึงใช้คำว่า เมื่อสังขารมี วิญญาณจึงมี เหตุใดไม่ระบุว่า เมื่่อสังขารมี ปฏิสนธิวิญญาณจึงมี มีนัยสำคัญอะไรหรือไม่ครับ

3.เมื่อวิญาณมี (ปฏิสันธิวิญญาณ) จึงมีนามรูป ถามว่า วิญญาณมีก่อนแล้วนามรูปจึงมี หรือวิญญาณ กับ นามรูปเกิดขึ้นพร้อมกัน คำว่านามรูป ในที่นี้คือรูปที่มีใจครองใช่หรือไม่ ซึ่งก็คือขันธ์5อันเป็นภายในใช่หรือไม่ ตามความเข้าใจแบบบุคคลที่สาม นามรูปคือมารดามีอยู่ก่อน เมื่อรูปที่พร้อมที่จะให้เกิดการปฏิสนธิกับวิญญาณ จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า นามรูป หรือขันธ์5ในภายใน คือ สัตว์บุคคลนั่นเองใช่หรือไม่

4.ถ้าเช่นนั้นในชาติหนึ่่ง (เกิด-ตาย) มีปฏิจจสมุปบาทเพียงรอบเดียวใช่หรือไม่ หรือมีหลายรอบ คือเริ่มแต่นามรูปเป็นรอบที่สองหรือรอบต่อไป เพราะ ปฏิสนธิวิญญาณในชาติหนึ่งเกิดเพียงครับเดียว มีแต่นามรูปที่เกิดขึ้นมานั้นที่มีการเกิดดับต่อเนื่องไป

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ 7

1.วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทไม่ไ่ด้หมายเฉพาะปฏิสนธิจิต (วิญญาณ) เท่านั้นแต่หมาย

ถึง โลกียวิบากจิต (วิญญาณ) ด้วย เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน เป็นต้น วิญญาณอื่นที่ไม่ใช่

ปฏิสนธิวิญญาณก็อาศัยสังขารที่เป็นเจตนาเจตสิกที่เป็นไปในบุญและบาปทำให้เกิด

วิญญาณคือการเห็นสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ดี เป็นต้นครับ

2.ที่กล่าวว่าเพราะสังขารมีวิญญาณจึงมี ที่ไม่ใช่คำว่าปฏิสนธิวิญญาณเลย เพราะ

วิญญาณไมไ่ด้มุ่งหมายเฉพาะปฏิสนธิวิญญาณเท่านั้นครับตามที่กล่าวมาในข้อ 1

3.วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป วิญญาณที่เป็นปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยนำมาซึ่ง

นามคือเจตสิกทั้งในขณะที่ปฏิสนธิคือเกิดพร้อมกันและทวิปัญญจวิญญาณคือจิตเห็น

เป็นต้น เป็นปัจจัยแก่นามคือเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยขณะนั้น 7 ดวงและในกุศลจิต

(วิญญาณ) และอกุศลจิต (วิญญาณ) ที่เป็นไปในอดีต เช่นเราทำกรรมในอดีต กัมม

วิญญาณ (กุศลจิต อกุศลจิต) ในอดีตก็เป็นปัจจัยแก่รูปที่เกิดภายหลัง วิญญาณเป็น

ปัจจัยแก่นามรูปและกุศลวิญญาณ อกุศลวิญญาณก็เป้นปัจจัยแก่นาม (เจตสิก) และรูป

ที่เกิดจากจิตนั้นโดยปัจจัยคือการเกิดพร้อมกันด้วยครับ อีกกรณีหนึ่งคือทั้งปฏิสนธิ

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม (เจตสิก) และรูป (กัมมชรูป) โดยการเกิดพร้อมกัน และวิบาก

จิตที่เว้น (ทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ดวง มี จิตเห็น เป็นต้น) ก็เป็นปัจจัยกับนาม (เจตสิก)

และวิบากจิตชรูปคือรูปที่เกิดกับจิตชาติวิบาก

โดยการเกิดพร้อมกันเช่นกันครับ

4.ปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้นหลายรอบเพราะวิญญาณไมไ่ด้มุ่งหมายเพียงปฏิสนธิวิญญาณเท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
WS202398
วันที่ 3 มิ.ย. 2553
ขอบคุณมากครับ จริงๆ ตั้งใจจะถามต่อไป แต่ต้องไปศึกษา แนวที่ท่านความเห้นที่ 8 ตอบก่อนครับ ยอมรับว่ายังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจแจ้งเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ กับวิถีจิตครับ มันติดที่ตรงนี้ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 3 มิ.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ 9

ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งหากเรายังไม่มีพื้นฐานเรื่องปรมัตถธรรมและ

เรื่องปัจจัยมากพอแล้วก็จะเข้าได้ยากมาก สิ่งที่สำคัญคือการเข้าใจตัวจริงของสภาพธรรมแม้เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็เป็นการแสดงถึงคามจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ที่อาศัยกันเกิดด้วยความเป็นปัจจัยต่างๆ กันครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
อินทิรา
วันที่ 12 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khan
วันที่ 14 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ