โลภะ...เปรียบเสมือนอากาศที่แทรกอยู่ทุกกลาปของรูป !

 
พุทธรักษา
วันที่  29 เม.ย. 2553
หมายเลข  16007
อ่าน  1,445

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อความบางตอนจากการสนทนาธรรมณ อาคารมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๒ ถอดเทปบันทึกเสียงโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

"ธรรมะ" คือ สิ่งที่กำลังปรากฏ

สภาพธรรม คือ โลภะ (ความติดข้อง) และ ความไม่รู้ (อวิชชา) เป็น "เหตุ" ที่ทำให้ไม่เข้าใจ "ธรรมะ"เพราะว่า ขณะที่เกิด "โลภะ" ขณะนั้น ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ว่า สิ่งที่กำลังปรากฏ เป็น "ธรรมะ"

"โลภะ" เกิดเมื่อไรก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้เพราะว่า ขณะนั้น มี "อวิชชา" เกิดร่วมด้วย.

"โลภะ" เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะ "ติดข้อง" "อวิชชา" เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะ "ไม่รู้ความจริง" ในสิ่งที่กำลังปรากฏ "อวิชชา" จึงเป็นปัจจัยให้เกิด "โลภะ"และเกิดพร้อมกันด้วย เพราะฉะนั้น "โลภะ" เปรียบเสมือน อากาศ ที่แทรกอยู่ระหว่างทุกๆ กลาป

"กลาป" คือ ส่วนที่เล็กที่สุดของรูปธรรม ซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้ แล้วรูปธรรม ที่มองเห็นว่าใหญ่พอสมควร หรือ เล็กที่สุดเกินกว่าจะมองเห็น ก็ยังแยกได้ เพราะว่ามี "อากาศธาตุ" แทรกคั่นอยู่ระหว่างทุกๆ กลาป ฉันใด การเปรียบเทียบเช่นนี้ จึงหมายความว่า "โลภะ" ก็สามารถตามไป (เกิดขึ้นได้) ในทุก "วาระ" ของการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และ คิดนึก ฉันนั้น เช่น ทันทีที่ "เห็น" ก็ติดข้องใน "สิ่งที่ปรากฏทางตา" เป็นเพราะ "อวิชชา" คือ ความไม่รู้

ขออนุโมทนา

.
เพราะเหตุนี้...โลภะ จึงมีกำลังมาก...มหาศาล เกินกว่าที่จะละได้ก่อนและ "เหตุ" ที่เป็นอย่างนี้...ก็เพราะ "อวิชชา" ความไม่รู้สมจริงดังที่ว่า โลภะ ไม่ใช่สิ่งแรกละได้แต่เป็น "ความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง" ที่จะต้องละก่อนซึ่งเป็นหนทางเดียว ที่เป็นเหตุให้ "ปุถุชน" บรรลุเป็น "พระโสดาบัน" ได้.?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
bsomsuda
วันที่ 30 เม.ย. 2553

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 1 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
mashi
วันที่ 1 พ.ค. 2553

ถ้านั่งเฉยๆ แล้วอยู่ๆ รู้สึกเหมือนจิตมันว่างไปเองไม่ได้คิดอะไรถือว่าโลภะเกิดหรือเปล่าค่ะโดยที่อยู๋ดีๆ ก็เหมือนจิตว่างไปเลยน่ะค่ะไม่ฟุ้งด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 2 พ.ค. 2553

ควรทราบก่อนค่ะ ว่า โลภะ มีลักษณะติดข้อง ชอบ ต้องการ อยากได้ เป็นต้น จึงควรศึกษาลักษณะของสภาพธรรมต่างๆ เสียก่อน ว่า มีลักษณะอย่างไร ต่างกันอย่างไรจึงจะเข้าใจได้ด้วยตนเอง ว่า ขณะที่รู้สึกอย่างนั้น เป็นลักษณะของสภาพธรรมอะไรเริ่มต้นจากการศึกษา "ปรมัตถธรรมสังเขป" ก็ได้ค่ะคำอธิบายในหนังสือเล่มนี้ มีรายละเอียดทั้งหมดค่ะ ถ้าอ่านแล้วสงสัย ก็สนทนาธรรมกัน เพื่อความเข้าใจพระธรรมยิ่งขึ้น

ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ