อายุบวร...ศรีลังกา [20]

 
kanchana.c
วันที่  11 เม.ย. 2553
หมายเลข  15879
อ่าน  1,653

สวัสดี และลาก่อนศรีลังกา

ก่อนจะลงเขาเพื่อกลับมานอนพัก ๑ คืน ก่อนขึ้นเครื่องกลับเมืองไทยที่เนกอมโบ ได้

แวะชมทิวทัศน์สวยงามของเมืองนูเวรา เอลิยาในตอนเช้าสถานที่แรกคือ Grand Hotel

โรงแรมที่ใหญ่โตสวยงามที่สุด มีอายุเก่าแก่ ๑๓๐ ปี หน้าโรงแรมมีสวนดอกไม้

สวยงามใหญ่โตกว่าโรงแรมที่เราอยู่มาก เห็นสหายธรรมจากมูลนิธิฯ เดินเล่นชมสวนอยู่

หลายคน เลยรีบพาคณะเพื่อนร่วมทางไปกราบท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ท่านอาจารย์มาพักตั้งแต่เมื่อคืนนี้ เสียดายที่ไม่ทราบ จะได้มากราบตั้งแต่เมื่อคืน เพราะ

อยู่ใกล้กันมาก เดินไม่กี่นาทีก็ถึง แต่ได้กราบตอนนี้ก็ดีใจมาก และได้กราบเรียนให้ท่าน

ทราบว่า แม้ไม่ได้มาด้วยกัน แต่พวกเราก็ได้ฟังธรรมที่ท่านอาจารย์บรรยายมาในรถ

ทักทายและลาจากคณะสหายธรรมที่คุ้นเคยหลายท่าน เพื่อขึ้นรถไปเที่ยวต่อ คุณขยัน

ชี้ให้ดูยอดเขาสมณโกฏ (หรือสุมณกูฏ ไม่แน่ใจ) ที่เห็นไกลๆ ว่าเป็นที่ประดิษฐานรอย

พระพุทธบาท ที่มีคนนิยมขึ้นไปกราบไหว้ ระยะขึ้นเขานั้นใช้เวลา ๖ ชั่วโมง และต้อง

ขึ้นตอนกลางคืน เพราะกลางวันอากาศร้อนมาก มีคณะคนไทยมาหลายคณะแล้ว การ

มานมัสการรอยพระพุทธบาทที่ยอดเขาสมณโกฏนี้ คงเกินกำลังความสามารถของเรา

แล้ว จึงขอกราบมนัสการในรถ พวกเราทั้งหมดจึงสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัยพร้อม

กัน

จากนั้นก็แวะชม Tea Castle ปราสาทชาที่สวยงาม ขายชาที่มีบรรจุภัณฑ์สวยงาม

ราคาย่อมเยา ตรงจุดนี้เห็นน้ำตก St. Clair ชัดเจน ได้ชื่นชมและช๊อปปิ้งกันจุใจ

ถึงเวลาลงเขา ซึ่งเป็นคนละทางกับขาขึ้น แต่ก็โค้งไปโค้งมาเหมือนเดิม หลายคนเริ่ม

เมารถ ถามคุณขยันว่าจวนถึงหรือยัง เธอตอบว่า เดี๋ยวก็ถึง เมื่อถามว่าเหลืออีกกี่โค้ง ก็

ตอบไม่ได้ เราเลยตอบว่า เหลืออีก ๒ โค้ง คือ โค้งซ้ายและโค้งขวา แต่ในที่สุดอาหาร

เก่ายังไม่ทันกำเริบ ก็ถึงร้านอาหารที่ชื่อ Rafters Retreat ที่คิตุลกาลา (Kitulgala) ซึ่ง

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเกลานียา ซึ่งไหลผ่านโคลอมโบด้วย แม่น้ำสายนี้มีเกาะแก่งกลางแม่น้ำ

อีกฝั่งเป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จึงมีชาวศรีลังกามาเที่ยวล่องแก่งมากมาย มองดูคล้ายๆ

กับวังตะไคร้ และเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง สะพานข้ามแม่น้ำแคว

การทำบุญและท่องเที่ยวศรีลังกาก็คงจบด้วยความประทับใจในมิตรไมตรีของเพื่อน

ร่วมทางทุกคน ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะเพิ่งรู้จักกัน แต่ก็มีเมตตาจิตที่พร้อมจะเกื้อกูลกัน

ทำให้การเดินทางครั้งนี้ราบรื่น สนุกเพลิดเพลิน และสำหรับผู้ที่เคยไปอินเดียมาแล้ว

จะพบว่าศรีลังกาคือสวรรค์ของนักเดินทางแสวงบุญ เพราะถนนหนทางก็ราบเรียบ

สะดวก ห้องน้ำก็สะอาด และมีตลอดทาง อาหารการกินก็ถูกปากคนไทยมากกว่าอาหาร

อินเดีย น้ำพริกเผา หมูหยองที่เตรียมไป เกือบจะไม่ได้ใช้เลย ผู้คนก็เป็นมิตรและมี

น้ำใจ บางครั้งให้รางวัลเด็กรถก็ไม่ยอมรับ ผิดกับที่อินเดีย ทุกคนอยากได้เงินหมด ทำ

อะไรนิดหน่อย ก็ขอเงิน เช่นเข้าห้องน้ำสนามบิน ก็มาขอเงินที่ประตู และขอทานเกือบ

ไม่มีเลย เห็นเพียงสองคนเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ศรีลังกาหรือที่อื่นใดในโลกไม่มี

ก็คือ สังเวชสถานทั้ง ๔ ดังนั้นถึงลำบากอย่างไร ก็ยังต้องไปอินเดียอยู่ดี

และการเดินทางครั้งนี้มีอรรถรสมากขึ้น เพราะมัคคุเทศก์ชาวศรีลังกา ที่ชื่อคุณขยัน

ทำหน้าที่สมชื่อจริงๆ เพราะอธิบายทุกอย่าง อย่างที่นักท่องเที่ยวอยากจะรู้ ทั้งด้าน

ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ถ้าจำที่คุณขยันอธิบายได้หมด คงจะเขียน

เรื่องเกาะลังกาทั้งหมดได้เลย เข้าใจแล้วว่าทำไมคนไทยจึงจองให้คุณขยันเป็น

มัคคุเทศก์ให้ เพราะนอกจากจะพูดภาษาไทยได้แล้วยังขยันอธิบายและขยันบริการด้วย

(ตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้แล้ว นอกรายการไม่เกี่ยว) ก็ต้องขอขอบคุณอย่างมาก

ระหว่างอยู่ที่ศรีลังกา พูดคำว่า “อายุบวร” ที่เหมือนกับคำว่า “สวัสดี” หลายครั้ง ผู้ที่ฟัง

รู้เรื่อง คือ คุณขยัน ยานัด คนขับรถ นอกนั้นทำหน้างงๆ อาจจะออกเสียงไม่ถูกต้อง

บางคนเห็นยิ้มแย้มดี พอเราพูดว่า “อายุบวร” ก็ทำหน้างง เหมือนกับไม่รู้ความหมาย

ของคำนี้เลย หลังๆ เลยพูดภาษาสากลว่า “Hello” หรือ “Hi” ไปเลย ดูจะเข้าใจกันทุก

คน คงจะเหมือนฝรั่งพูดภาษาไทยแล้วเราฟังไม่รู้เรื่องนั่นแหละ ตอนจะลาจากศรีลังกา

ก็เลยขอพูดคำที่ตัวเราเองเข้าใจก็แล้วกันว่า “สวัสดีและลาก่อนศรีลังกา” แต่จะได้ไป

อีกหรือไม่ ขึ้นอยู่เหตุปัจจัยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
คุณ
วันที่ 16 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
aditap
วันที่ 16 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 17 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 18 เม.ย. 2553

ขอขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาค่ะ..

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ING
วันที่ 20 เม.ย. 2553

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 26 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ