ศึกษาพระสูตรอย่างไร - เป็นปัจจัยให้เกิดความเห็นผิด

 
พุทธรักษา
วันที่  9 ก.พ. 2553
หมายเลข  15405
อ่าน  1,083

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ถอดเทปบันทึกเสียง โดย
คุณสงวน สุจริตกุล

ถาม กรุณาอธิบาย คำกล่าว ที่ว่าการศึกษา "พระสุตตันตปิฎก" แบบไม่แยบคาย ย่อมเป็นเหตุให้เกิด "มิจฉาทิฏฐิ" หรือ "ความเห็นผิด"

ตอบ "ความเห็นผิด" เกิดง่าย หรือยาก ง่ายมาก ถ้าศึกษาเพียงนิดๆ หน่อยๆ "ศึกษาไม่ละเอียด" การศึกษาที่ไม่ละเอียดไม่เป็นปัจจัยให้เกิด "ความเข้าใจอย่างละเอียด" ไม่เป็นปัจจัยให้สามารถ "รักษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคฯ" ไว้ได้ และ "การศึกษาที่ไม่ละเอียด" ไม่เป็นปัจจัยให้สามารถที่จะได้รับ "ประโยชน์" จาก พระธรรมคำสอน ของพระผู้มีพระภาคฯ อีกด้วย เช่น คำว่า "ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ" ถ้าไม่ศึกษาให้ละเอียด-รอบคอบจริงๆ บางท่าน อาจจะเข้าใจผิดว่า "ปัญญาขั้นฟังเพียงแค่นี้" ก็เป็น "ปัญญาระดับความเข้าใจธรรมะ ขั้นนามรูปปริจเฉทญาณ" หมายความว่า ศึกษาแล้ว อาจจะแปลคำ หรือ แปลชื่อ แต่ ไม่ใช่ "ความรู้ตรงลักษณะ-สภาวะของสภาพธรรมประเภทต่างๆ "

และ ไม่เข้าใจ ว่า ปัญญามีหลายขั้น ซึ่ง ปัญญาแต่ละขั้นๆ นั้น สามารถที่จะรู้ สภาพธรรมได้ ต่างกันอย่างไร และ รู้ ลึกซึ้ง แค่ไหน เพราะเหตุว่า ขณะนี้ ขณะที่กำลังฟัง แล้วมีสภาพธรรม-เกิด-ปรากฏ ผู้ที่ตรงต่อสภาพธรรมจริงๆ จะรู้ได้ ว่า แม้ ธรรมะ-กำลังเกิด-ดับๆ ปรากฏเป็นธรรมะ-แต่ละลักษณะ ที่ต่างๆ กันยังไม่ใช่ "ปัญญา" ขั้นเดียวกันกับขณะที่กำลังฟังและเข้าใจ และไม่เข้าใจผิดว่า เป็นเพียง "ปัญญา-ขั้นฟัง" ซึ่ง เป็น "ปัญญาขั้นเข้าใจ-เรื่องของสภาพธรรม" เท่านั้น ยังไม่ใช่ "ปัญญา-ขั้นประจักษ์แจ้ง-ตรงลักษณะของสภาพธรรม"

เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ได้ศึกษาตามลำดับแล้วได้ยิน คำว่า "ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ" ก็ คิดว่า แค่นี้ พอแล้ว หรือ บางท่าน อาจจะไม่มีการศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น คือ ไม่เข้าใจเรื่องพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม แล้วก็จะ "ปฏิบัติ-ทันที" โดยอ้างว่า มีข้อความนี้ ในพระไตรปิฎก เช่น คำว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ มหาสติปัฏฐาน ฯ

แต่ "ความละเอียด-ลึกซึ้ง-ของปัญญา" ที่จะต้องมี "ความเห็นถูก" หรือ เข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรม ต่างกับการมีความรู้เพียงพยัญชนะ หรือ คำ เช่น ที่กล่าวกันว่า "ขณะที่นั่ง ก็ รู้ ว่านั่ง" แค่นี้พอไหม เป็นการ "ศึกษา" หรือเปล่า ท่านผู้ฟังคิดว่า เป็น "การศึกษา" แล้วหรือยัง ความรู้เล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ ถ้าหากคิดว่า พอที่จะเป็นปัจจัยให้ "รู้แจ้งอริยสัจจธรรม" ได้ ก็ไม่ใช่ความเห็นที่ถูกต้อง

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
aditap
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ups
วันที่ 9 ก.พ. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 9 ก.พ. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
panasda
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
booms
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขอขอบคุณ และ ขออนุโมทนา แด่ คุณ พุทธรักษา ด้วยนะคะ ที่ได้นำ บทสนทนาธรรม (รวมถึง หัวข้อสนทนา หมายเลข 15401 และ 15406) ซึ่งเป็น บทสนทนาที่มีคุณค่ายิ่ง ที่ท่านอ. ได้กล่าวไว้ คือ ว่า วันนี้ดิฉันกำลังคิดจะ เขียน แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้สหายธรรม "บางท่าน" ได้เกิด ความเข้าใจที่ถูกต้อง อยู่พอดีเลยค่ะ พอเข้า Web มาก็ได้อ่านเนื้อความในหัวข้อ ที่คุณพุทธรักษา นำมาลง ขออนุญาติ เรียน ตามตรง ว่า "โดนใจ" จริงๆ ค่ะ

ขอขอบคุณ และ ขออนุโมทนา ด้วยอีกครั้งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
hadezz
วันที่ 10 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 10 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Sam
วันที่ 10 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ