เหมือนๆจะรู้แต่ไม่รู้ เหมือนๆจะเข้าใจแต่ไม่เข้าใจ

 
chaweewan37
วันที่  5 ก.ค. 2549
หมายเลข  1538
อ่าน  1,659

เวลาที่ดิฉันฟัง และอ่านธรรมะ..บางครั้งก็มีความซาบซึ้งตามข้อความนั้นแต่พอจะระลึกย้อนกลับเพื่อจะให้เกิดการเข้าใจอีกเหมือนที่เกิดความรู้สึกเดิมก็ไม่ได้ซะแล้ว (เวลาเข้าใจจะรู้สึกสุขสบายใจ คลายความข้องใจ) ไม่ทราบว่าดิฉันควรเริ่มฝึกหัดให้ความจำเกิดประสิทธิภาพไงได้บ้างคะ

ขอโทษนะคะถ้าดิฉันพูดไม่เข้าใจ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 5 ก.ค. 2549

สังขารธรรมทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป เมื่อดับไปแล้วจะเรียกร้องให้กลับมาอีกย่อมไม่ได้ ไม่มีใครสามารถทำได้ เพราะเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย สำหรับเรื่องความทรงจำ ในสมัยครั้งพุทธกาลมีท่านพระอานนท์เป็นเลิศทางทรงจำ เพราะท่านมีจิตสงบไม่มีนิวรณ์มารบกวน ฉะนั้น ความทรงจำของผู้ที่มีจิตสงบ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะย่อมทรงจำได้ดี

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chaweewan37
วันที่ 5 ก.ค. 2549

ขอบคุณค่ะ .เข้าใจแล้วค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ค. 2549

ท่านอาจารย์สุจินต์เน้นเรื่องการฟังธรรมะให้เข้าใจ ถ้าเข้าใจแล้วจะไม่ลืม ซึ่งต่างกับจำเพราะว่าธรรมะก็มีหลายสูตรมากมาย เราคงจำไม่หมด แต่ถึงจำได้ ตายไปแล้วก็ลืม แต่ความเข้าใจจะสะสมและติดตามไปในชาติหน้า เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงมีหลายขั้น ขั้นแรกอยากให้เข้าใจก่อนว่า มีสติและหลงลืมสติต่างกันอย่างไร ที่สำคัญให้รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ เป็นของจริง เช่น เห็นมีจริง เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornchai.s
วันที่ 6 ก.ค. 2549

โลภะ จะอยู่ข้างๆ อยู่ใกล้ๆ เป็นเหมือนเพื่อนสนิท เป็นเหมือนอาจารย์ เป็นเหมือนลูกศิษย์ ขณะที่ต้องการเข้าใจ ต้องการปัญญา) หรือต้องการ ความรู้สึกเหมือนเดิม ให้ทราบว่า เป็นโลภะ ซึ่งรู้ทันได้ยากจริงๆ ก็ต้องค่อยๆ เรียนรู้ ศึกษา พิจารณาสภาพธรรมนั้นๆ ไป เรื่อยๆ ถ้าความอยากได้ปัญญา อยากได้กุศลเกิดขึ้นอีก ก็บังคับบัญชาไม่ได้ละไม่ได้ มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น สติปัฏฐานสามารถเกิดขึ้น ระลึกได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ประสาน
วันที่ 6 ก.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ