ศีล คือ ปกติ มีหลายระดับ

 
พุทธรักษา
วันที่  26 ม.ค. 2553
หมายเลข  15272
อ่าน  2,091

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรม ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ถอดเทปบันทึกเสียง โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล)

บางท่านถามว่า รับประทานข้าวหมาก ผิดศีลหรือไม่ เป็นเรื่องของความสงสัย และ ไม่เข้าใจ ถ้าเป็นความเข้าใจจริงๆ ในเรื่องของ "ศีล" ก็จะไม่สงสัยเลย ว่า ทำไมจึงมีการรักษาศีล เช่น ทำไมจึงควรเว้นการดื่มสุรา ทำไมสิ่งอื่นรับประทานได้และ ตามความเป็นจริง ไม่ได้เป็นข้อบังคับด้วย แล้วแต่บุคคลนั้นเอง ว่าจะวิรัติ หรือ งดเว้นการดื่มสุราหรือไม่
เรากลัวเพียงแต่ "ผิดศีล" หรือเปล่า คือ กลัวว่าทำอย่างนี้ แล้วจะผิดศีลแต่ ไม่เข้าใจ ว่า ศีลคืออะไรและโทษของการผิดศีลแต่ละข้อ คืออะไรและ เพราเหตุใด จึงควรเว้น

เพราะฉะนั้น ควรที่จะเป็น "ความเข้าใจ" ของตนเอง แล้วไม่ต้องถามใคร จะดีไหม เพราะว่า ถ้าตราบใดที่ยังถาม ก็หมายความว่า ยังไม่เข้าใจเมื่อกล่าวถึง ศีลข้อ ๑ ควรพิจารณาว่า การฆ่าสัตว์ การทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นั้น เป็นสิ่งที่ดี หรือ เป็นประโยชน์หรือไม่ ควรที่จะละเว้นหรือไม่ศีลข้ออื่นๆ ที่ทรงบัญญัติไว้ ว่าควรละเว้น ก็โดยนัยเดียวกันคือ สิ่งที่ดี ก็ควรประพฤติปฏิบัติซึ่ง ควรเป็น"ความเข้าใจที่ถูกต้อง"ในเรื่องของ "ศีล" เพราะถ้าไม่เข้าใจจริงๆ เราจะสับสนว่า ศีลคืออะไร ศีลสำหรับใครและ รักษาศีล เพื่อจุดประสงค์อะไร

โดยมาก เพียงได้ยินคำว่า "ศีล" แล้วก็จะไปรักษาศีล อยากรู้เพียงว่าผิดศีลหรือไม่ ทำได้หรือเปล่า ล่วงศีลหรือเปล่าโดยที่ไม่เข้าใจ "ความหมายที่แท้จริง" ของคำว่า "ศีล" เลย
ควรทราบว่า บุคคลผู้ที่รักษาศีล นั้น มีเจตนาที่จะวิรัติ (งดเว้น) หรือไม่ถ้ามีเจตนา มีความตั้งใจที่จะงดเว้น แล้วไม่ทำตามที่เจตนาไว้ก็คือ ผิดจากเจตนา

"ศีล" คือ "ปกติ" ถ้าเป็น "อกุศลศีล" เช่น บุคคลผู้ "มีปกติ" ดื่มสุราเป็นประจำและ บุคคลนั้น ไม่ได้ตั้งใจสมาทาน วิรัติ รักษาศีล เพราะเป็น "อุปนิสัยปกติ" ของบุคคลนั้น ใช่ไหม

สำหรับบุคคลที่ "สมาทาน" (ถือเอา ตั้งใจ เจตนา) เช่น สมาทาน ว่า จะงดเว้นการดื่มสุราแต่ก็ยังดื่มสุรา ก็หมายความว่า ได้กระทำสิ่งที่ผิดไปจากความตั้งใจและเจตนาที่สมาทานไว้ว่า จะวิรัติ คือ งดเว้นจากการดื่มสุรา

เพราะฉะนั้น "การล่วง" จึงหมายความว่า "มีเจตนาที่จะวิรัติ งดเว้น แต่ไม่ได้ประพฤติตามที่ตั้งใจไว้" และ "ศีล" ก็มีหลายระดับด้วย เช่น ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในเพศบรรพชิต เป็นพระภิกษุ ก็ต้อง "สมาทาน รักษาศีลของพระภิกษุ" ซึ่งพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติไว้ไม่ใช่เพียงแค่ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ หรือ ศีล ๑๐ เพราะบุคคลผู้ที่เป็นเพศบรรพชิตนั้น "มีเจตนา" ที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เพื่อ "การละทั่ว" ฉะนั้น ขณะใดที่พระภิกษุ ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยที่ทรงบัญญัติไว้ ว่า "ภิกษุ ไม่พึงประพฤติอย่างนั้น"ขณะนั้น ก็หมายความว่า ภิกษุรูปนั้นได้กระทำผิดไปจากเจตนาที่ตั้งใจไว้ว่า จะวิรัติ และ รักษา "ศีลของบรรพชิต"
เพราะฉะนั้น ควรที่จะเป็น "ความเข้าใจ" จริงๆ ในเรื่องของศีลและ ควรเข้าใจจริงๆ ว่า "ศีล" คือ อะไร "ศีล" ของใคร มีเจตนาที่จะวิรัติ งดเว้น หรือไม่ และ มีการ "สมาทาน" ไว้ หรือไม่

ขออนุโมทนา


Tag  ศีล  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
รากไม้
วันที่ 27 ม.ค. 2553

อ่านแล้วเกิดปัญญาอีกแล้ว

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 27 ม.ค. 2553

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

ที่กรุณานำข้อความจากการสนทนาธรรมใหม่ๆ มาให้ได้อ่านกัน ทุกวันนี้มีโอกาสฟังธรรมจากทางเวบบ้านธัมมะอย่างเดียวเท่านั้น นานๆ ครั้งจึงจะมีโอกาสได้ไปฟังธรรมที่ มศพ กับเขาบ้าง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
aditap
วันที่ 27 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 27 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sam
วันที่ 28 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ