ผู้ชนะย่อมก่อเวร

 
JANYAPINPARD
วันที่  19 ม.ค. 2553
หมายเลข  15177
อ่าน  1,583

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 749

[๒๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้นบุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัว

และความดูหมิ่นบุคคลเห็นโทษแม้นั้นแล้วไม่ควรวิวาทกัน ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาทนั้น.

[๒๙๙] คำว่า ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น มีความว่า

ความเฟื่องฟู คือความเห่อเหิม ความเป็นดุจธงชัย ความยกย่องตนขึ้น

ความที่จิตใคร่ยกไว้ดังธงยอดใด ความเฟื่องฟูนั้นเป็นพื้น ย่ำยี คือเป็นพื้นตัดรอน เป็นพื้นเบียดเบียน เป็นพื้นบีบคั้น เป็นพื้นอันตราย เป็นพื้นอุปสรรคแห่งบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความเฟื้องฟูเป็นพื้นย่ำยี

แห่งบุคคลนั้น.

[๓๐๐] คำว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัวและความดูหมิ่น มี

ความว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือด้วย และย่อมกล่าวความดูหมิ่น

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัวและความหมิ่น.

[๓๐๑] คำว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาทกัน มีความว่า เห็น

พบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้วซึ่งโทษนั้น

ในเพราะความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกัน เพราะทิฏฐิ

ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่งร้ายกัน

เพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า ไม่ควรวิวาท

กัน ความว่า ไม่พึงทำความทะเลาะ ความหมายมั่นความแก่งแย่งกัน

ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน คือ พึงละบรรเทาทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ

ไม่มีในภายหลัง ซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกันความแก่งแย่งกัน

ความวิวาทกัน และความมุ่งร้ายกัน คือพึงเป็นผู้งดเว้น เว้นขาด ออกไป

สละ พ้นขาด พรากออกไป จากความทะเลาะกันความหมายมั่นกัน ความ

แก่งแย่งกัน ความวิวาทกันและความมุ่งร้ายกัน พึงเป็นผู้มีจิตกระทำให้

ปราศจากแดนอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาท

กัน.

[๓๐๒] คำว่า ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาทนั้น มี

ความว่า คำว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน

อายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดใดสัมมัป-

ปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพช-ฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น

ย่อมไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงถึงความหมดจด ความ

หมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ

เพราะความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความ

แก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกัน เพราะละทิฏฐิ ความมุ่งร้ายกัน

เพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจด

เพราะวิวาทนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :- ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น บุคคลนั้นย่อมกล่าวถือตัว และ

ความดูหมิ่น บุคคลนั้นเห็นโทษแม้นั้นแล้วไม่ควรวิวาทกัน ผู้ฉลาดย่อม

ไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาทนั้น.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัว

และความดูหมิ่น บุคคลเห็นโทษแม้นั้นแล้วไม่ควรวิวาทกัน ผู้ฉลาดย่อม

ไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาทนั้น.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ