อินเดีย ...อีกแล้ว25

 
kanchana.c
วันที่  14 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14696
อ่าน  3,607

วัดเวฬุวัน

เมื่อรับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรม Rajgir Residency แล้ว ก็แวะไปทำบุญที่วัด

ไทยศิริราชคฤห์ ซึ่งอยู่ติดกับโรงแรม ไปวัดไทยวันนี้ผิดกับครั้งก่อน ดูเงียบเหงา อาจ

จะเป็นเพราะเจ้าอาวาสไม่อยู่ จะทำบุญทีต้องเดินหาพระนานกว่าจะพบ พระที่วัดนี้ท่าน

เคยบอกว่า จะดูราชคฤห์ให้ทั่ว ต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๒ วัน เพราะมีหลายแห่งที่

น่าสนใจ เช่น

(ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภาพจากวิกิพีเดีย)

ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต สถานที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๑ หลังจากที่พระผู้มี

พระภาคปรินิพพานแล้วได้ ๓ เดือน เพราะมีสุภัททภิกษุ ผู้บวชเมื่อแก่กล่าวจาบจ้วง

พระธรรมวินัย และเพื่อให้พระธรรมวินัยรุ่งเรืองอยู่สืบไป โดยที่ประชุมมีพระอรหันต์ ๕๐๐

รูป มีท่านพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์

วิสัชนาพระธรรม (ที่จัดแยกเป็นพระสูตรและพระอภิธรรม) โดยพระเจ้าอชาตศัตรูทรง

อุปถัมภ์ ใช้เวลา ๗ เดือน (ข้อมูลจาก กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก

โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต))

(ถ้ำมหาสมบัติของพระเจ้าพิมพิสาร)

นอกจากนั้น ยังมีถ้ำมหาสมบัติของพระเจ้าพิมพิสาร ถ้ำปิปผลิคูหา สถานที่จำพรรษา

ของท่านพระมหากัสสปะ ผู้เป็นเลิศกว่าภิกษุอื่นทางธุดงค์ อชาตศัตรูสถูป ที่ประดิษฐาน

พระบรมสารีริกธาตุในสมัยปฐมสังคายนา อุปติสคาม หมู่บ้านของท่านพระสารีบุตร

ตำบลนาลันทา ปัจจุบันเรียกว่า สารีจักร โกลิตคาม หมู่บ้านของท่านพระมหา-

โมคคัลลานะ ปัจจุบันเรียกว่า โมคคัลลีจักร เป็นต้น

จากวัดไทยศิริราชคฤห์ ใช้เวลานิดเดียว ก็ถึงพระเวฬุวัน ซึ่งเป็นพระอารามแรกในพระ

พุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างถวาย เมื่อเข้าไปถึงก็สัมผัสกับความร่มรื่นของป่า

ไผ่ที่มีอยู่ทั่วบริเวณ มีต้นไม้น้อยใหญ่ สระน้ำ ดูเป็นระเบียบสวยงาม เดินไปภายในพบ

พระพุทธรูปปางแสดงโอวาทปาติโมกข์ประดิษฐานอยู่

(ภาพจากวิกิพีเดีย)

วัดเวฬุวันเป็นสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นระยะเริ่มแรกในการ

ประดิษฐานพระศาสนา พระผู้มีพระภาคทรงเสด็จมาประทับในพรรษาที่ ๒ ที่ ๓ และที่

๔ เป็นที่ประกาศแต่งตั้งพระอัครสาวกคือท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะ

เมื่อท่านทรงแต่งตั้งนั้น ภิกษุบางพวกกล่าวหาว่าพระผู้มีพระภาคทรงแต่งตั้งเพราะเห็น

แก่หน้า เนื่องจากท่านอัครสาวกทั้งสองบวชภายหลังสุด ควรจะแต่งตั้งท่านพระอัญญา

โกณฑัญญะ หรือท่านพระยสะ และท่านอื่นๆ อีก พระผู้มีพระภาคทรงแสดงบุรพกรรม

ของท่านเหล่านั้น และทรงแสดงว่าท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะ

บำเพ็ญบารมีมาเพื่อจะเป็นพระอัครสาวกถึง ๑ อสงไขยแสนกัป ส่วนองค์อื่นไม่ได้

ปรารถนาตำแหน่งอัครสาวก

เรื่องนี้ทำให้คิดถึงเรื่องของตัวเอง บางครั้งก็นึกว่าตำแหน่งนี้น่าจะเป็นของเรา เรา

เหมาะสมกว่า แต่ก็เป็นของคนอื่นที่เราคิดว่าไม่ดีเท่าเรา ก็คงเป็นเพราะเราไม่ได้ทำ

บุญมาเพื่อจะได้อย่างนั้น จึงได้อย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นก็เหมาะสมที่สุดกับ

กรรมที่ได้ทำมาแล้ว แต่อาจจะไม่เหมาะกับโลภะที่อยากได้ไม่สิ้นสุด ที่ทำให้ทุกข์เดือด

ร้อนใจ

เมื่อทรงประกาศแต่งตั้งพระอัครสาวกแล้ว ก็ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในวันเพ็ญ

เดือนมาฆะ ในวันนั้นเป็นวันจาตุรงคสันติบาต คือ

1. พระภิกษุสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย

2. พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือเป็นผู้ที่พระพุทธองค์ทรง

ประทานการบรรพชาอุปสมบทให้ทั้งสิ้น

3. พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้ได้ อภิญญา 6 ทั้งสิ้น

4. เป็นเวลาที่ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ คือตรงกับ วันเพ็ญเดือน 3

ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่

พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่

1. การไม่ทำบาปทั้งปวง

2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม

3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์

การไม่ทำบาป คือ ละอกุศลที่เกิดขึ้น เพราะขณะใดอกุศลเกิด ขณะนั้นไม่มีปัญญา เมื่อ

ทำอกุศลมาก ๆ ก็จะเป็นอาหารของอวิชชา ทำให้อวิชชาเจริญเติบโตขึ้น และเมื่อละ

อกุศลแล้ว ก็เจริญกุศลโดยไม่หวังผลตอบแทน เจริญกุศลเพื่อเป็นบารมี ส่วนการที่จิต

จะบริสุทธิ์ก็ต้องตั้งต้นจากการมีความเห็นตรงตามสภาพธรรมที่ปรากฏ ตามความเป็น

จริง เห็นว่าทุกอย่างเป็นธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
panasda
วันที่ 15 ธ.ค. 2552

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 15 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jans
วันที่ 15 ธ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 16 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
กระจ่าง
วันที่ 15 ต.ค. 2553
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ