การศึกษาธรรมะต้องศึกษาไปตามลำดับ

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  30 มิ.ย. 2549
หมายเลข  1467
อ่าน  1,190

การศึกษาธรรมะต้องศึกษาไปตามลำดับ อาศัยการฟัง การอ่าน และการสอบถาม แล้วจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น โปรดใจเย็นๆ ค่อยๆ ศึกษาต่อไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
namarupa
วันที่ 30 มิ.ย. 2549

ขออนุโมทนากับบ้านธัมมะค่ะ หัวข้อนี้ก็สำคัญมากๆ เลยค่ะ เพราะถ้าหากไม่ใจเย็นและไม่ตั้งความเห็นไว้ให้ถูกว่า ศึกษาธรรมไปเพื่ออะไรแล้วล่ะก็? โลภะก็จะพาเราไปที่ไหนก็ไม่รู้? การศึกษาธรรมะ ตามความเป็นจริงนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อการละอย่างเดียว

ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น......????

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
raynu.p
วันที่ 30 มิ.ย. 2549

การศึกษาธรรมะ ตามลำดับนั้น ความละเอียดคือ ขณะฟังเสียง ที่ทำให้เข้าใจสภาพธรรมะ ฟังด้วยความตั้งใจติดตามคำพูดไปโดยลำดับอย่างต่อเนื่อง จะเกิดอาการคล้อยตาม ทำให้เข้าใจสิ่งทีกำลังฟัง ว่าเป็นธรรมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prapas.p
วันที่ 1 ก.ค. 2549

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

แก้อรรถ

เอวมฺเม สุตํ บรรดาบททั้ง ๓ ดังกล่าวมานี้

บทว่า เอวํ แสดงกิจแห่งวิญญาณ มีโสตวิญญาณเป็นต้น.

บทว่า เม แสดงบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณที่กล่าวแล้ว.

บทว่า สุตํ แสดงการรับไว้อย่างไม่ขาดไม่เกิน และไม่วิปริต เพราะปฏิเสธภาวะที่ไม่ได้ยิน.

อนึ่ง บทว่า เอวํ ประกาศภาวะที่เป็นไปในอารมณ์ที่ประกอบต่างๆ ตามวิถีวิญญาณที่เป็นไปตามโสตทวารนั้น

บทว่า เม เป็นคำประกาศตน

บทว่า สุตํ เป็นคำประกาศธรรม ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้ามิได้กระทำสิ่งอื่น แต่ได้กระทำสิ่งนี้ คือได้สดับธรรมนี้ ตามวิถีวิญญาณอันเป็นไปในอารมณ์โดยประการต่างๆ

อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นคำประกาศข้อควรชี้แจง

บทว่า เม เป็นคำประกาศถึงตัวบุคคล

บทว่า สุตํ เป็นคำประกาศถึงกิจของบุคคล. อธิบายว่า ข้าพเจ้าจักชี้แจงพระสูตรใด พระสูตรนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้

อนึ่ง บทว่า เอวํ ชี้แจงอาการต่างๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับอรรถะและพยัญชนะต่างๆ ด้วยเป็นไปโดยอาการต่างกัน จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอวํ นี้ เป็นอาการบัญญัติ. ศัพท์ว่า เม เป็นคำชี้ถึงผู้ทำ ศัพท์ว่า สุตํ เป็นคำชี้ถึงอารมณ์ ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันจิตสันดานที่เป็นไปโดยอาการต่างกัน กระทำการตกลงรับอารมณ์ ของผู้ทำที่มีความพร้อมเพรียงด้วยจิตสันดานนั้น

อีกประการหนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ เป็นคำชี้กิจของบุคคล. ศัพท์ว่า สุตํ เป็นคำชี้ถึงกิจของวิญญาณ ศัพท์ว่า เม เป็นคำถึงบุคคลผู้ประกอบกิจทั้งสอง. ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า คือบุคคลผู้ประกอบด้วยโสตวิญญาณ ได้สดับมาด้วยโวหารว่า สวนกิจที่ได้มาด้วยอำนาจวิญญาณ. บรรดาศัพท์ทั้ง ๓ นั้น ศัพท์ว่า เอวํ และศัพท์ว่า เม เป็นอวิชชมาน-บัญญัติ ด้วยอำนาจสัจฉิกัตถปรมัตถ์ เพราะในพระบาลีนี้ ข้อที่ควรจะได้ชี้แจงว่า เอวํ ก็ดี ว่า เม ก็ดี นั้น ว่าโดยปรมัตถ์ จะมีอยู่อย่างไร.

บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ เพราะอารมณ์ที่ได้ทางโสต ในบทนี้นั้น ว่าโดยปรมัตถ์มีอยู่.

อนึ่ง บทว่า เอวํ และ เม เป็นอุปาทาบัญญัติ เพราะมุ่งกล่าวอารมณ์นั้นๆ .

บทว่า สุตํ เป็นอุปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวอ้างถึงอารมณ์มีอารมณ์ที่เห็นแล้วเป็นต้น. ก็ในพระบาลีนี้ ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่หลง. เพราะคนหลงย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่างๆ ได้. ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ลืมถ้อยคำที่ได้สดับมา เพราะผู้ที่ลืมถ้อยคำที่ไค้สดับมานั้น ย่อมไม่รู้ชัดว่า ข้าพเจ้าได้สดับ มาโดยกาลพิเศษ. ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระอานนท์นี้ ย่อมมีความสำเร็จทางปัญญาด้วยความไม่หลง และย่อมมีความสำเร็จทางสติ ด้วยความไม่ลืม. ในความสำเร็จ ๒ ประการนั้น สติอันมีปัญญานำ สามารถห้าม (ความอื่น) โดยพยัญชนะ ปัญญาอันมีสตินำ สามารถแทงตลอดโดยอรรถ โดยที่มีความสามารถทั้ง ๒ ประการนั้น ย่อมสำเร็จภาวะที่ท่านพระอานนท์จะได้นามว่า ขุนคลังแห่งพระธรรม เพราะสามารถจะอนุรักษ์คลังพระธรรม ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prapas.p
วันที่ 1 ก.ค. 2549

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

อีกนัยหนึ่ง

ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงโยนิโสมนสิการ เพราะผู้ที่ไม่มีโยนิ โสมนสิการ ไม่แทงตลอดโดยประการต่างๆ ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะผู้ที่มีจิตฟุ้งซ่านฟังไม่ได้. จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้เขาจะพูดด้วยความสมบูรณ์ทุกอย่าง ก็ยังพูดว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ขอจงพูดซ้ำ. ก็ในคุณ ๒ ข้อนี้ ท่านพระอานนท์ทำอัตตสัมมาปณิธิและปุพเพกตปุญญตาให้สำเร็จได้ ด้วยโยนิโสมนสิการ เพราะผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบหรือมิได้กระทำความดีไว้ก่อน จะไม่มีโยนิโสมนสิการ ท่านพระอานนท์ทำการฟังพระสัทธรรมและการพึ่งสัตบุรุษให้สำเร็จได้ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่านเพราะผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่สามารถจะฟังได้ และผู้ไม่พึ่งสัตบุรุษ ก็ไม่มีการสดับฟัง. อีกนัยหนึ่ง เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า

บทว่า เอวํ แสดงไขอาการต่างๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับอรรถะและพยัญชนะต่างๆ ด้วยเป็นไปโดยอาการต่างกัน และอาการอันเจริญอย่างนี้นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้กระทำความดีไว้ก่อน ฉะนั้น ด้วยคำว่า เอวํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติคือจักร ๒ ข้อ เบื้องปลายของตนด้วยอาการอันเจริญนี้. ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติคือจักรธรรม ๒ ข้อเบื้องต้นของตน ด้วยการประกอบการฟัง. เพราะผู้ที่อยู่ในถิ่นฐานอันมิใช่เป็นปฏิรูปเทศก็ดี ผู้ที่เว้นการพึ่งสัตบุรุษก็ดี ย่อมไม่มีการฟัง ด้วยประการฉะนี้

ความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ย่อมเป็นอันสำเร็จแก่ท่าน เพราะความสำเร็จแห่งจักรธรรม ๒ ข้อเบื้องปลาย ความบริสุทธิ์แห่งความเพียร ย่อมเป็นอันสำเร็จ เพราะความสำเร็จแห่งจักร ๒ข้อเบื้องต้น และด้วยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยนั้น ย่อมเป็นอันสำเร็จความฉลาดในปฏิเวธ ด้วยความบริสุทธิ์แห่งความเพียร ย่อมเป็นอันสำเร็จความฉลาดในปริยัติ ด้วยประการฉะนี้ ถ้อยคำของท่านพระอานนท์ผู้มีความเพียรและอัธยาศัย บริสุทธิ์ สมบูรณ์ ด้วยปริยัติและปฏิเวธ ย่อมควรที่จะเป็นคำเริ่มแรกแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนความขึ้นไปแห่งอรุณ เป็นเบื้องต้นของดวงอาทิตย์ที่กำลังอุทัยอยู่และเหมือนโยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น

เหตุดังนั้นท่านพระอานนท์ เมื่อจะดังคำเป็นนิทานในฐานะอันควร จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้. อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำแสดงการแทงตลอดมีประการต่างๆ ว่า เอวํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติ คือ อัตถปฏิสัมภิทา และ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน. ด้วยคำแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่ง ธรรมที่ควรสดับว่า สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติคือ ธัมมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา. อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวคำอันแสดงโยนิโสมนสิการว่าเอวํ นี้ ย่อมแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ. เมื่อกล่าวคำอันแสดงการประกอบด้วยการสดับว่า สุตํ นี้ ย่อมแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้สดับแล้ว ทรงจำไว้แล้ว คล่องปาก. เมื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ แม้ด้วยคำทั้งสองนั้น ย่อมให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง เพราะว่าผู้ไม่สดับธรรม ที่บริบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ โดยเอื้อเฟื้อ ย่อมเหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุดังนี้นั้น กุลบุตรควรจะให้เกิดความเอื้อเฟื้อฟังธรรมนี้โดยเคารพแล. อนึ่ง ด้วยคำทั้งหมดว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์มิได้ตั้งธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว เพื่อตน ย่อมล่วงพ้นภูมิอสัตบุรุษเมื่อปฏิญาณความเป็นสาวก ย่อมก้าวลงสู่ภูมิสัตบุรุษ อนึ่ง ย่อมยังจิตให้ออกพ้นจากอสัทธรรม ย่อมยังจิตให้ดำรงอยู่ในพระสัทธรรม เมื่อแสดงว่า ก็พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเท่านั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาโดยสิ้นเชิงทีเดียว ชื่อว่าย่อมเปลื้องตนย่อมแสดงอ้างพระบรมศาสดา ทำพระดำรัสของพระชินเจ้าให้แนบแน่นประดิษฐานแบบแผนพระธรรมไว้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญาณว่าธรรมอันตนให้เกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ เปิดเผยการสดับให้เบื้องต้น ย่อม ยังความไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศรัทธาในธรรมนี้ให้เกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดำรัสนี้ข้าพเจ้าได้รับมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณทั้งสี่ ผู้ทรงกำลังสิบ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันองอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดีผู้มีธรรมเป็นประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐ คือพระสัทธรรมให้หมุนไป ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในพระดำรัสนี้ ใครๆ ไม่ควรทำความสงสัยหรือเคลือบแคลงในอรรถหรือธรรมในบทหรือพยัญชนะ เพราะฉะนั้น พระอานนท์ย่อมยังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาให้พินาศ ยังสัทธาสัมปทาให้เกิดขึ้นในธรรมนี้ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า พระอานนทเถระผู้เป็นสาวกของพระโคดมกล่าว อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ย่อมยังความ ไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาในพระศาสนา ให้เจริญ ดังนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prakaimuk.k
วันที่ 2 ก.ค. 2549

ขออนุโมทนาค่ะ พระสูตรชัดเจน ไพเราะมาก ทั้งเรื่องการฟังพระธรรมด้วยสติที่มั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน ประกอบไปด้วยโยนิโสมนสิการและศรัทธา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
raynu.p
วันที่ 3 ก.ค. 2549
ซาบซึ้งและกราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prapas.p
วันที่ 11 ก.ค. 2549

๑. มหาจุนทเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหาจุนเถระ

[๒๖๘] ได้ยินว่า พระมหาจุนทเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า การฟังดี เป็นเหตุให้การฟังเจริญ การฟังเป็น เหตุให้เจริญปัญญา บุคคลจะรู้ประโยชนก็เพราะปัญญา ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้

ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Nirvana
วันที่ 14 ก.ค. 2549

ที่กล่าวนั้น ชอบแล้ว การศึกษาพระพุทธศาสนานั้น เปรียบเสมือนทะเลใหญ่ ย่อมมีฝั่ง ที่ตื้นลาดเอียงไปยังที่ลึกเป็นธรรมดา นรชนย่อมเดินไปตามทางลาดแห่งนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pamali
วันที่ 2 ต.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 9 ต.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ