อินเดีย ...อีกแล้ว16

 
kanchana.c
วันที่  5 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14501
อ่าน  3,674


พระแท่นวัชรอาสน์

เมื่อผู้ร่วมเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ณ ประเทศอินเดีย ทราบว่า ไปอินเดียถึง

๕ ครั้งแล้ว ก็มักจะถามประวัติความเป็นมาของสถานที่ต่างๆ บางครั้งก็ตอบได้ แต่ส่วน

ใหญ่ก็ตอบว่า “ไม่รู้เหมือนกัน” รู้สึกว่าเป็นคำตอบที่ไม่รับผิดชอบและไม่สุภาพอย่างไรก็

ไม่รู้ เมื่อกลับมาจึงค้นจากเว็บไซต์ต่างๆ (ทำผิดขั้นตอนไปหน่อย น่าจะค้นก่อนไป) ได้

ความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย คงต้องไปอีกครั้งแน่นอนเพื่อไปดูให้ทั่วตามที่ท่านเขียนไว้

จากเว็บไซต์ของวัดไทยพุทธคยา พระเทพโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูลิปาโล) ท่าน

เล่าไว้อย่างละเอียด น่าสนใจมาก มีทั้งหมด ๒๐ หน้า ขอยกข้อความบางตอนมาดังนี้

...ครั้นเมื่อภายหลังพุทธกาลล่วงได้ ๒๐๐ ปีเศษ พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้

ยิ่งใหญ่แห่งชมพูทวีปได้เสด็จไปนมัสการ ณ สถานที่ตรัสรู้นี้เป็นนิจ ทุกครั้งที่พระองค์

เสด็จมาพระองค์ได้นำเครื่องสักการบูชามาเป็นจำนวนมาก เพื่อทรงสักการบูชาแก่ต้น

พระศรีมหาโพธินั้นซึ่งเป็นเสมือนดังตัวแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้

เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงดำริที่จะสร้างเครื่องรองรับ

ของสักการบูชาที่พระองค์ทรงนำมาจากพระราชวัง จึงมีพระราชโองการให้หาช่างที่มี

ฝีมือเข้ามาเฝ้า แล้วทรงปรึกษากับบรรดาช่างเหล่านั้นโดยได้ทรงเสนอแนะให้ข้อคิดถึง

รูปลักษณะในการที่จะสร้างเครื่องรองรับของสักการบูชาเหล่านั้น บรรดาช่างทั้งหลายก็

รับพระบรมราชโองการและร่างแบบแปลนตามพระราชดำริทุกประการ …

...พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างพระแท่นวัชรอาสน์เพื่อแทนพระแท่นรัตนบัลลังก์

เก่าที่บังเกิดขึ้นแก่พระตถาคตเจ้าในวันตรัสรู้ หลังจากที่ได้ทรงประดิษฐานพระแท่นที่

รองรับเครื่องสักการบูชาแล้ว พระองค์จึงได้พระราชทานนามแห่งพระแท่นนั้นว่า “พระ

แท่นวัชรอาสน์” ซึ่งหมายความว่า “พระที่นั่งแห่งมหาบุรุษผู้มีใจเพชร”

และเพื่อจะได้เป็นอนุสรณ์แห่งพุทธศาสนิกชนผู้เกิดในรุ่นหลังที่ได้มานมัสการ

ณ สถานที่ตรัสรู้ จะได้รู้และเห็นว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมา

สัมพุทธเจ้าผู้เป็นเอกแห่งโลก ได้ประทับนั่งในวันตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ….

...รูปลักษณะของพระแท่นวัชรอาสน์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานสลักด้วยแผ่นหิน

ทรายด้านยาววัดได้ ๗ ฟุต ๖ นิ้ว ด้านกว้างได้ ๔ ฟุต ๑๐ นิ้ว ความหนาวัดได้ ๕ นิ้วฟุต

ครึ่ง ตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐฉาบด้วยปูน เมื่อรวมฐานที่ประดิษฐานกับแท่นวัชรอาสน์สูง ๓

ฟุตพอดี ส่วนบนพื้นผิวด้านหน้าของพระแท่นแกะสลักเป็นเชิงศิลปะรูปหัวแหวนเพชร

และมีเพชรซีกประดับอยู่โดยรอบเรือนแหวน ด้านข้างทางทิศเหนือและทิศใต้แกะ

สลักเป็นรูปดอกบัวและรูปห่านหรือพระยาหงษ์ ส่วนด้านต้นพระศรีมหาโพธินั้นแกะ

สลักเป็นรูปดอกมณฑารพ (ACANTHUS) เป็นที่น่าเสียดายที่ด้านทิศตะวันออกนั้น

ได้ถูกเชื่อมติดกับองค์พระเจดีย์มหาโพธิวิหารเสีย เราจึงไม่สามารถที่จะมองเห็น

ได้ว่าเป็นรูปอะไร…

....พระแท่นวัชรอาสน์นี้ได้ถูกทำลายในตอนปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๒ แตกออกเป็น

๕ เสี่ยง ต่อมาท่านเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม นักโบราณคดีแห่งอังกฤษได้ทำ

การบูรณปฏิสังขรณ์ โดยนำเอาส่วนต่างๆ มาประกอบกันเข้าในรูปเดิมได้อย่างเรียบ

ร้อย ซึ่งหากเราไม่สังเกตแล้วจะไม่ทราบเลยว่าพระแท่นนี้ได้เคยถูกทำลายมา

แล้ว…

ถ้าได้มากราบนมัสการพระแท่นวัชรอาสน์ในครั้งต่อไป คงจะซาบซึ้งในพระพุทธคุณ

มากขึ้น เมื่อทราบว่าเป็นแท่นที่สร้างขึ้นแทนรัตนบัลลังก์ที่ทรงประทับนั่งในวันตรัสรู้

...เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายแล้ว ในเวลาเย็น

เสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปยังแดนมหาโพธิ์ ทรงรับหญ้ากุสะ ๘ กำมือ จากโสตถิย

พราหมณ์ แล้วเสด็จตรงไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ ทรงปูลาดหญ้ากุสะ ๘ กำมือนั้นลง

พลางออกพระโอษฐ์ตั้งพระสัตยาธิษฐานว่า “ถ้าอาตมะจะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ

ญาณแล้วไซร้ ขอจงบังเกิดเป็นรัตนบัลลังก์ขึ้น ณ บัดนี้”

ทันใดนั้น รัตนบัลลังก์ก็ได้อุบัติขึ้นด้วยบุญญาธิการของพระองค์ พระองค์จึงเสด็จขึ้น

ประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์นั้นโดยผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกทางแม่น้ำเนรัญชรา

พร้อมกับอธิษฐานจิตอย่างแน่วแน่ว่า

“ถึงเลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไป จะยังคงเหลืออยู่แต่เพียงหนัง เส้นเอ็น และ

กระดูกก็ตามที หากข้าพเจ้ายังมิได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วไซร้ ข้าพเจ้าจะ

มิยอมลุกขึ้นจากรัตนบัลลังก์นี้”…

...ทรงบรรลุญาณทั้ง ๓ ตามลำดับ คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ และ

อาสวักขยญาณ ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในเวลารุ่งอรุณพอดี

ครั้นได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ประทับอยู่บนรัตนบัลลังก์นั้น

เสวยวิมุตติสุขสิ้นกาล ๗ วันแล้ว พระองค์เสด็จลุกจากรัตนบัลลังก์มุ่งพระพักตร์ตรง

ไปทางทิศอีสาน ทันใดนั้นพระรัตนบัลลังก์ก็อันตรธานหายไป...

เมื่อได้เห็นแท่นวัชรอาสน์ และรู้ความหมายที่ว่า “พระที่นั่งแห่งมหาบุรุษผู้มีใจเพชร”

แล้ว แล้วความเข้าใจจากการได้ศึกษาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ดีแล้วในคืนวันเพ็ญเดือน ๖

เมื่อ ๒,๕๙๗ กว่าปีมาแล้ว ก็ปรุงแต่งให้เกิดปีติยิ่งนัก แม้มีความเข้าใจธรรมที่ลึกซึ้ง

เพียงน้อยนิด เหมือนจะงอยปากยุงที่จุ่มลงในมหาสมุทร ก็ยังทำให้เกิดความสุขในชีวิต

มากขนาดนี้ เมื่อมีโอกาสได้ฟังสภาพธรรมที่เป็นจริงที่พระองค์ทรงนำมาแสดงตลอด

เวลา ๔๕ พรรษา ก็ยิ่งทำให้มีความศรัทธามั่นคงที่จะศึกษาพระธรรมและน้อมประพฤติ

ปฏิบัติตามต่อไปเพิ่มขึ้น จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งทุกข์

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 5 ธ.ค. 2552

ขอบูชาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
saifon.p
วันที่ 6 ธ.ค. 2552


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า
กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jans
วันที่ 7 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
jangthi
วันที่ 8 ธ.ค. 2552

ขอกราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 9 ธ.ค. 2552

ซาบซึ้งจังเลยค่ะ

ขอกราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ups
วันที่ 9 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สุภาพร
วันที่ 21 ธ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคองค์สมเด็จพระสัมมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
dhammanath
วันที่ 20 ก.ค. 2553

อุตตะมังเคนะ วันเทหัง ปาทะปังสุง วะรุตตะมัง

อุตตะมังเคนะ วันเทหัง ธัมมัญจะ ธุวิธัง วะรัง

อุตตะมังเคนะ วันเทหัง สังฆัญจะ ธุวิโธตตะมัง

พุทธะธัมมะสังเฆสุ โย ขะลิโต โทโส พุทธะธัมมะสังฆา ขะมันตุ ตัง มะมัง

ขอน้อบน้อมละอองธุลีพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันประเสริฐสูงสุดด้วยเศียรเกล้า

ขอนอบน้อมพระธรรมเจ้าอันประเสริฐทั้งสองประการด้วยเศียรเกล้า

ขอนอบน้อมพระสงฆเจ้าอันประเสริฐทั้งสองประการด้วยเศียรเกล้า

โทษที่ข้าพเจ้าได้ทำพลั้งพลาดแล้วในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ขอพระพุทธ พระ

ธรรมและพระสงฆ์ทั้งหลาย จงงดซึ่งโทษที่ข้าพเจ้าได้ทำพลั้งพลาดแล้วอันนั้นแก่ข้าพเจ้า

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ