เพราะเห็นทุกข์จึงละความเห็นผิด

 
prachern.s
วันที่  26 ต.ค. 2552
หมายเลข  14088
อ่าน  2,213

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

ข้อความบางตอนจากอรรถกถารัตนสูตร บัดนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมที่พระโสดาบันล่ะได้แล้ว จึงตรัสว่า สกฺกาย-ทิฏฐิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ ในธรรม ๓ อย่างนั้นเมื่อกายยังมีอยู่ ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ในกาย ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ หรือว่าเมื่อกายยังมีอยู่ ทิฏฐิความเห็นในกายนั้น แม้เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย ตามที่กล่าวมาแล้ว. หรือทิฏฐิความเห็นในกายที่มีอยู่นั่นแล แม้เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิในกายตามที่กล่าวมาแล้ว อันมีอยู่ ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า อัตตา กล่าวคือรูปเป็นต้น. ทิฏฐิทั้งปวง ย่อมเป็นอันพระโสดา บันละแล้วทั้งนั้น เพราะละสักกายทิฏฐินั้นได้แล้ว ด้วยว่า สักกายทิฏฐินั้นเป็นมูลรากของธรรมคือกิเลสเหล่านั้น ปัญญาท่านเรียกว่า จิกิฉิตะเพราะระงับพยาธิคือกิเลสทั้งปวง. ปัญญาจิกิจฉิตะ ปัญญาแก้ไขนั้น ไปปราศแล้วจากสิ่งนี้หรือสิ่งนี้ ไปปราศแล้วจากปัญญาจิกิจฉิตะนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า วิจิกิจฉิตะ.คำนี้เป็นชื่อของความสงสัยที่มีวัตถุ ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สงสัยในพระ-ศาสดา. ความสงสัยแม้ทั้งหมด เป็นอันละได้แล้วก็เพราะละวิจิกิจฉานั้นได้แล้วจริงอยู่ ความสงสัยนั้นเป็นมูลรากของกิเลสเหล่านั้น. ศีลต่างอย่างมีโคศีล ศีลวัว กุกกุรศีล ศีลสุนัขเป็นต้น และวัตรมีโควัตรและกุกกุรวัตรเป็นต้น ที่มาในบาลีประเทศเป็นต้น อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์ภายนอกพระศาสนานี้ ถือความบริสุทธิ์ด้วยศีล บริสุทธิ์ด้วยวัตรเรียกว่า ศีลวัตร. ตบะเพื่อเทพเจ้ามีความเปลือยกาย ความมีศีรษะโล้นเป็นต้นแม้ทุกอย่าง เป็นอันละได้แล้ว ก็เพราะละศีลวัตรนั้น. จริงอยู่ ศีลวัตรนั้นเป็นมูลรากของตบะนั้น. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มี-พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ท้ายคาถาทั้งหมดว่า ยทตฺถิ กิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่. พึงทราบว่าบรรดาสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิจะละได้ก็ด้วยความถึงพร้อมด้วยการเห็นทุกข์ วิจิกิจฉาจะละได้ก็ด้วยความถึงพร้อมด้วยการเห็นสมุทัย สีลัพพตะ [ปรามาส] จะละได้ ก็ด้วยความถึงพร้อมด้วยการเห็นมรรคและการเห็นพระนิพพาน...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 26 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nawin8
วันที่ 28 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ