เหตุแห่งความตาย 4 อย่าง

 
พุทธรักษา
วันที่  14 ต.ค. 2552
หมายเลข  13958
อ่าน  7,220

เหตุแห่งความตาย...ที่ทรงแสดงไว้ มีอะไรบ้างคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 15 ต.ค. 2552

ขอเชิญคลิกอ่านที่ ...

เหตุแห่งความตาย ๔ อย่าง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 ต.ค. 2552

[กำหนดความตายด้วยเหตุ ๔ อย่าง] ชื่อว่าความเกิดแห่งมรณะ (คือความเกิดตาย) มี ๔ อย่าง คือ เพราะสิ้นอายุ ๑ เพราะสิ้นกรรม ๑ เพราะสิ้นทั้ง ๒ อย่าง ๑ เพราะกรรมเข้าไปตัดรอน ๑ ฯ

แม้เมื่อยังมี กรรมานุภาพ ความตายเพราะความสิ้นไปแห่งอายุ ตามที่กำหนดไว้ในคตินั้นๆ ชื่อว่า อายุกขยมรณะ (ความตายเพราะสิ้นอายุ) ฯกรรมานุภาพ คือ อานุภาพอันเป็นผลของกรรมและ ความตายลักษณะนี้ มีตัวอย่างเช่น สัตว์นรก หรือ พรหม เป็นต้น ใช่ไหมคะ

แม้เมื่ออายุตามที่กำหนดไว้ในคตินั้นๆ ยังเหลืออยู่ และเมื่อความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย มีคติและกาลเป็นต้นยังมีอยู่ ความตายเพราะ กรรมที่ให้สำเร็จภพนั้นๆ ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ชื่อว่า กัมมักขยมรณะ (ความตายเพราะความสิ้นกรรม) ฯ ความตายอย่างที่สอง มีความต่างกับความตายอย่างแรก อย่างไรคะ

ความตาย เพราะอายุและกรรมสิ้นไปพร้อมๆ กันทีเดียว ชื่อว่า อุภยักขยมรณะ (ตายเพราะสิ้นไปทั้ง ๒ อย่าง) แม้เมื่อ อายุและกรรมทั้ง ๒ อย่างนั้นยังมีอยู่ ความตายของบุคคลทั้งหลาย ผู้มีสันดานที่ขาดลงด้วยความพยายามทั้งหลาย มีการนำศัสตรามาเป็นต้น ซึ่งเป็นไปด้วยกำลังกรรมที่เข้าไปตัดรอนบางอย่างที่สำเร็จแล้วในภพก่อนก็ดี ข้อความนี้ หมายถึงกรณีที่ฆ่าตวตาย หรือ การตายเพราะถูกฆ่า หรือ อุบัติเหตุ เป็นต้นใช่ไหมคะ

ความตายที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจให้เคลื่อนจากฐานในทันใดนั่นเอง ดุจความตายของพระเจ้าทุสิมารราช และพระเจ้ากลาพุราชเป็นต้น กรุณาอธิบายเพิ่มเติมข้อความนี้ด้วยค่ะ...ต่างกับความตายสองประการแรกอย่างไรคะ

เพราะกรรมที่มีความสามารถถูก อุปัจเฉทกกรรมซึ่งประมวลมา ด้วยความพยายามบางอย่าง อันตนทำไว้ในเหล่าชนผู้มีคุณมากขัดขวางแล้ว เป็นกรรมไม่สามารถในการยังอัตภาพนั้นๆ ให้เป็นไปได้ก็ดี ชื่อว่าอุปัจเฉทกมรณะ (ความตายเพราะกรรมเข้าไปตัดรอน)

ก็อุปัทเฉทกมรณะนี้ ไม่มีแก่พวกสัตว์นรก พวกชนชาวอุตตตรกุรุทวีป และพวกเทพบางเหล่า ฯ เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า "ความตาย พึงมีแก่สัตว์บางพวกเพราะความพยายามบ้าง เพราะอุปัจเฉทกกรรมบ้าง " ดังนี้ ฯ
กรุณาอธิบายคำว่า "อุปัจเฉทกกรรม" เพิ่มเติมด้วยค่ะ.เข้าใจว่า...กรณีนี้ คือ อนันตริยกรรม อย่างหนึ่ง...ยังมีอย่างอื่นอีกไหมคะ

ต้องขออภัยที่ถามยาวมาก...เพราะเคยเข้าใจผิดคาดเคลื่อนไปมาก ว่า การฆ่าตัวตาย คือ กรรมเข้าไปตัดรอนจึงเรียนถามมา เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความตาย ตามที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง.

ขอบพระคุณในความกรุณาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 16 ต.ค. 2552

ข้อแรก ตัวอย่าง คือ พวกเทพทั้งหลายที่มีอายุแน่นอน เช่น ภพดาวดึงส์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ทิพย์ เมื่อถึงกำหนดครบอายุก็ต้องตาย ข้อที่สอง ตัวอย่าง คือ มนุษย์มีอายุ ๑๐๐ ปี แต่บุญที่นำเกิดเป็นมนุษย์มีกำลังน้อย มีอายุไม่ถึง ๑๐๐ ปี ตายก่อน เพราะหมดบุญต่างจากข้อแรกตรงที่ ตายก่อนครบกำหนด ข้อแรกอยู่จนครบกำนหดอายุข้อที่สาม ตัวอย่าง คล้าย กับข้อแรก คือ บุญส่งผลให้เกิดเป็นเทพมีอายุ ๑,๐๐๐ เมื่อครบกำหนด หมดบุญพอดีและครบอายุพอดี พร้อมกันข้อที่สี่ ตัวอย่างที่ท่านกล่าวถึง คือ พระเจ้ากลาพุ ถูกแผ่นดินสูบ หรือคนที่ตายเพราะอุบัติเหตุ หรือฆ่าตัวตาย ชื่อว่าตายเพราะถูกกรรมตัดรอน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 16 ต.ค. 2552

ขอเรียนถามเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยค่ะหมายความว่า ความตายเพราะกรรมตัดรอน นั้น สาเหตุ คือ

๑. เพราะกรรม (การกระทำ เจตนา) ของตนเองก็ได้ หรือ ของบุคคลอื่นก็ได้

๒. เพราะผลของกรรม (กรรมใดกรรมหนึ่งที่ได้กระทำแล้วในสังสารวัฏฏ์) มีเหตุปัจจัยพร้อมที่จะให้มีการตายนั้นๆ สำเร็จลง

เพราะฉะนั้น การตายของมนุษย์ในปัจจุบันนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ ว่า เป็นเพราะกรรม หรือ ผลของกรรมแต่หมายความว่า เป็นเพราะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ เป็นไปได้เพราะทั้งสองอย่างไม่ทราบว่าเข้าใจอย่างนี้ ถูกหรือเปล่าคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 16 ต.ค. 2552

ความตายเพราะกรรมตัดรอน ท่านมุ่งหมายถึงกรรมในอดีตเป็นหลัก ส่วนอกุศลกรรมที่หนักมากในปัจจุบันก็มีส่วนเข้าไปสนับสนุนเช่นกัน และการตายของสัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเพราะวิบากจิตเกิดขึ้น (ผลของกรรม)

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 16 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 16 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pinphaphatson
วันที่ 16 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ