วิบาก

 
วิริยะ
วันที่  21 ส.ค. 2552
หมายเลข  13292
อ่าน  1,133

ขอเรียนถามท่านผู้รู้

ผู้ที่เกิดมาไม่สมประกอบทางกายตั้งแต่กำเนิด ถือว่าได้รับวิบากทางใด

ผู้ที่เกิดมาไม่สมประกอบทางสมองถือว่าได้รับวิบากทางใด

ผู้ที่เกิดมาสมบูรณ์ทั้งกายและใจ แต่ต่อๆ มา กลายเป็นคนฟั่นเฟือน เสียสติ เหตุอาจเกิดจาก เครียดมาก เสพยาเสพติด เป็นต้น ถือว่าได้รับวิบากทางใด

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 21 ส.ค. 2552
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 21 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sam
วันที่ 24 ส.ค. 2552

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยครับ

วิบากเป็นนามธรรม ได้แก่วิบากจิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) ส่วนรูปนั้น แม้จะ

เป็นผลของกรรม อันได้แก่กัมมชรูปซึ่งเป็นรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน แต่รูปไม่ใช่วิบาก

ครับ

ผมเข้าใจว่าความเจ็บป่วยนั้น คือรูปที่เป็นโทษ ซึ่งเกิดได้จากสมุฏฐาน ๔ ได้แก่

กรรม จิต อุตตุ และอาหาร ดังนั้น ก็อาจกล่าวได้ว่าสาเหตุของโรคคือ กรรม จิต

อุตตุ และอาหาร ซึ่งทำให้เกิด กัมมชรูป จิตตชรูป อุตตชรูป และอาหารชรูป ที่มี

โทษครับ

สำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นามต้องเกิดที่รูป ดังนั้น รูป (ที่เป็นที่เกิดของนาม) จึงเป็น

ปัจจัยแก่นาม (ที่เกิดที่รูปนั้น) ได้ ดังนั้น หากรูป (ที่เป็นที่เกิดของนาม) เป็นรูปที่เป็น

โทษ ก็ย่อมเป็นปัจจัยในการรู้อารมณ์ของนาม (ที่เกิดที่รูปนั้น) ทำให้มีความผิดปกติได้

ครับ

หากมีความคิดเห็นคลาดเคลื่อนประการใด ท่านผู้รู้โปรดแนะนำครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 24 ส.ค. 2552

ขอบคุณ ความเห็นที่สี่ค่ะ คือที่จริงไม่ว่าจะเป็นวิบากทางใด (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ด้วยหรือเปล่า) เมื่อสรุปลงที่คำว่า เป็นเพราะกรรมเก่า ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่เมื่อศึกษาเรื่องวิถีจิตแล้ว คิดไปไกล จึงเริ่มจะงง และอีกอย่างคือ ยังไม่เคยศึกษาเรื่องรูปอย่างจริงจัง จึงคิดว่า เห็นจะต้องเริ่มสักที จะได้ งง น้อยลงไปสักหน่อย

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 25 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่สี่

คำว่า ได้รับวิบาก กับได้รับกรรม มีความหมายเหมือนกันหรือไม่คะ

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Sam
วันที่ 26 ส.ค. 2552

เรียนคุณวิริยะ ผมขอแสดงความเห็นตามความเข้าใจนะครับ

ที่เรากล่าวกันโดยทั่วไปว่ารับกรรมนั้น น่าจะกล่าวว่ารับผลของกรรมมากกว่าครับ

เพราะกรรมที่จะให้ผลต่อไปนั้น เป็นสภาพธรรมที่เกิดพร้อมกับเหตุ (ไม่ใช่ผล)

ผลของกรรมนั้น มีความหมายกว้างกว่าวิบากครับ เพราะผลของกรรมมีทั้งที่เป็น

รูปธรรม และที่เป็นนามธรรม (ซึ่งก็คือวิบากนั่นเอง) ดังนั้น คำว่า ได้รับวิบาก กับ

ได้รับผลของกรรม จึงมีความต่างกันอยู่เล็กน้อย โดยคำว่าได้รับผลของกรรมนั้น

รวมไปถึงการเกิดขึ้นของรูปธรรมที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 26 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่เจ็ด

เริ่มกระจ่างขึ้นมาแล้วค่ะ ขอถามต่อนะคะ ถ้าโดนรถชนบาดเจ็บ ก็เรียกได้ว่า ได้รับวิบากทางกาย และได้รับผลของกรรม เป็นเช่นนั้นหรือไม่คะ และก็ยังคงสงสัยอยู่อีกค่ะว่า คนที่ฟั่นเฟือน เอาตอนบั้นปลายชีวิต จะเรียกว่า ได้รับวิบากทางกาย และได้รับผลของกรรม ควบคู่ไปด้วยหรือไม่

ขอบคุณในเมตตาจิตค่ะที่ได้ให้ความเห็น

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jans
วันที่ 26 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 27 ส.ค. 2552

เรียนคุณวิริยะ ความคิดเห็นที่ ๘ ครับ

ผลของกรรมที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันนั้น ได้แก่วิบากจิต (การเห็น การได้ยิน การได้

กลิ่น การรู้รส การรู้กระทบสัมผัสทางกาย) และปสาทรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน (ตา หู

จมูก ลิ้น และกาย) ดังนั้น การรับผลของกรรมคือในขณะนี้ ทีมีการรู้อารมณ์ทาง

ทวารต่างๆ และทำให้มีการคิดนึกทางใจครับ

ถ้าหากเราโดนรถชนบาดเจ็บ ขณะนั้นก็เป็นวิบากจิตที่เห็น ที่ได้ยิน ฯ ที่กระทบ

สัมผัสกับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ และกรรมที่เป็นสมุฏฐานของปสาทรูป ก็

อาจเป็นปัจจัยให้ปสาทรูป (รูปใดรูปหนึ่ง หรือหลายรูป) เสียหายหรือพิการไป และ

อุบัติเหตุนั้นอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จุติจิตซึ่งเป็นวิบากจิตประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นทำ

กิจทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ (ตาย) ก็ได้ครับ อย่างไรก็ดี แม้จะมีความเป็นไปได้

หลายอย่าง แต่การที่สภาพธรรมทั้งหลายจะเป็นไปจริงๆ อย่างไรนั้น เป็นไปตามเหตุ

ปัจจัย และอนัตตา ควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ครับ

ส่วนคนที่ฟั่นเฟือนในบั้นปลายของชีวิตนั้น ผมมีความเห็นไปตามที่เคยกล่าวไว้แล้ว

ครับว่า อาการฟั่นเฟือน (หรือความเจ็บป่วยประการอื่น) อาจเกิดจากกรรม (รูปที่เป็น

ผลของกรรมเสียหายหรือพิการไป) หรือเกิดจากอุตตุ (ความไม่สม่ำเสมอของธาตุ)

หรือเกิดจากจิต (รูปที่เป็นโทษเกิดจากจิตที่เป็นโทษ: (จิตตชรูป)) หรือเกิดจาก

อาหาร (การรับประทานสิ่งที่เป็นพิษกับตัวเอง) ซึ่งผมคิดว่าในความเป็นจริงโรคส่วน

ใหญ่จะมีหลายๆ สาเหตุผสมกัน

สำหรับเรื่องราวของการประสบเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าร้ายหรือดี ไม่ว่าจะเป็นความ

เจ็บป่วยหรือความสุขสนุกสนาน หากพิจารณาโดยละเอียดแล้ว ก็ไม่พ้นไปจากการรู้

อารมณ์ทางทวารต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้น หากเราต้องการเข้าใจสภาพ

ธรรมที่เกิดขึ้นเมื่อประสบเหตุการณ์ทั้งหลายจริงๆ โดยไม่ใช่เพียงเรียกชื่อว่าสิ่งใดชื่อ

อะไร ก็ไม่มีหนทางอื่นครับ นอกจากพิจารณาการเห็น การได้ยิน การรู้กลิ่น การรู้

รส การกระทบสัมผัสทางกาย และการคิดนึกทางใจ ที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Pongpat
วันที่ 27 ส.ค. 2552

สาธุ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วิริยะ
วันที่ 27 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่สิบ

ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับคำอธิบาย คงต้องหาเวลาไปศึกษาเรื่องรูปเสียแล้ว

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ