การแฉ ประจาน

 
Pongpat
วันที่  22 ก.ค. 2552
หมายเลข  12965
อ่าน  3,159

สวัสดีครับ อยากทราบว่าการพูดหรือเขียนแฉ หรือประจานให้คนจำนวนมากรับรู้

จะเข้าข่ายผิดศีลหรือล่วงกรรมบทข้อใดครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 23 ก.ค. 2552
ตามหลักพระธรรมคือ การกระทำหรือคำพูดจะเข้ากุศลหรืออกุศลกรรมบถข้อใดขึ้นอยู่ที่เจตนา ถ้าเจตนาด่าให้คนนั้นเสียหายว่าเป็นคนไม่ดีอย่างไร ก็เป็นผรุสวาทแต่ถ้าต้องการให้ชาวบ้านเกลียดชังคนนั้น หรือต้องการให้ตนเป็นที่รัก ก็เป็นปิสุณาวาทแม้ว่าจะเป็นการกระทำที่เหมือนกัน แต่อาจเป็นกรรมบถที่ต่างกันซึ่งผู้ทำย่อมทราบครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 23 ก.ค. 2552

คูถย่อมส่งกลิ่นเหม็น.......จึงไม่จำเป็นต้องคุ้ยเขี่ยออกมา...ว่ามั้ย?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันใหม่
วันที่ 23 ก.ค. 2552

ทุกอย่างสำคัญที่จิต การพูด การประจานให้คนจำนวนมากรู้ เป็นอกุศลก็ได้ ไม่เป็น

อกุศลก็ได้ จิตเป็นอกุศลให้คนอื่นรู้ในสิ่งที่ไม่ดี เป็นไปเพื่อให้คนนั้นไม่เป็นที่รักของ

บุคคลอื่นหรือให้คนอื่นมารักตนแทน เป็นการพูดส่อเสียด บางครั้งก็เป็นการพูดคำ-

หยาบเพราะจิตหยาบเป็นอกุศล เจตนาว่าในขณะนั้น

อย่างในเรื่องที่พวกอัญเดียรถีย์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า ด่าว่าประจานในเรื่องของนาง

สุนทรีปริพาชิกา ซึ่งประกาศไปทั่วพระนครในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ด้วยจิตเป็นอกุศล

ทั้งผรุสวาจาและส่อเสียดด้วย

แต่ในบางครั้งก็ไม่เป็นอกุศลแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของหมู่ชน ดังตัวอย่างใน

พระไตรปิฎกเมื่อภิกษุทำผิด พระพุทธเจ้าก็ทรงประชุมสงฆ์และกล่าวติเตียนภิกษุนั้นท่ามกลางภิกษุจำนวนมาก เพื่อประโยชน์ในการบัญญัติสิกขาบทและเพื่อให้ภิกษุรูปนั้น

ออกจากอกุศลและให้ตั้งอยู่ในกุศล อย่างในกรณีของพระเทวทัต เมื่อพระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสห้ามถึง 3 ครั้ง และก็ได้ตรัสติเตียนและได้เตือนกับพระเทวทัตต่อหน้าประชุมชนว่าแม้พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเรายังไม่ยกให้ปกครองสงฆ์ ไฉนจะพึงมอบให้เธอผู้เช่นซากศพ ผู้บริโภคปัจจัย เช่นก้อนเขฬะเล่า เพราะเหตุนั้นพระเทวทัตจึงคิดว่าพระพุทธเจ้ารุกรานเราต่อหน้าพระราชาและประชุมชน จึงโกรธและหลีกไป รวมทั้งเมื่อพระเทวทัตขอปกครองสงฆ์แล้ว พระพุทธเจ้าจึงได้ให้สงฆ์นั้นลงปกาสนียกรรม คือให้สงฆ์ประกาศไปทั่วพระนครราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา

ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นแต่เฉพาะตัวพระเทวทัตเอง. จะเห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม ไม่ได้เป็นอกุศลเลย จึงสำคัญที่จิตเป็นสำคัญ

ส่วนจะครบกรรมบถนั้นต้องพิจารณาองค์ของกรรมบถแต่ละข้อ อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 23 ก.ค. 2552

เห็นด้วยค่ะว่า.......ขึ้นอยู่กับเจตนา

ถึงแม้ว่าจะมีเจตนาดี แต่ก็ควรไตร่ตรองให้รอบคอบ คำนึงถึงผลได้และผลเสีย

ควรดำเนินการด้วยวิถีทางที่ถูกต้อง ตามตัวบทกฎหมาย ตามกฎกติกา ตามจารีต

ประเพณีที่ทุกคนเคารพค่ะ

ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ พระผู้มีพระภาคทรงรู้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ แก่

บุคคลใด ในเวลาไหน ณ สถานที่ใด

แต่ปุถุชนอย่างเราๆ แม้จิตของตนก็ยังรู้ได้ยาก ดังนั้นการกระทำใดๆ ก็ตามที่เป็นการ

เบียดเบียนซึ่งกันและกัน จึงควรใคร่ครวญเป็นพิเศษ และถ้าท่านเป็นผู้ที่มั่นคงใน

เรื่องกรรมและผลของกรรมแล้ว จะไม่เดือดร้อนวุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้เลยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 23 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Pongpat
วันที่ 23 ก.ค. 2552
ขอบพระคุณครับ ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 23 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 23 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ค่อยๆศึกษา
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ