การปรากฏ ของ เวทนาเจตสิก

 
พุทธรักษา
วันที่  15 มิ.ย. 2552
หมายเลข  12663
อ่าน  924

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนธนาธรรม ที่เขาเต่า ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านอาจารย์ สภาพธรรม เกิด ดับ สลับกัน รวดเร็วมาก.เช่นจักขุวิญญาญจิต ปรากฏ เสมือน ไม่ดับเลย แต่จักขุวิญญาณจิต จะไม่ดับ ไม่ได้ ในเมื่อ "มีอย่างอื่น" เกิดแทรก แสดงว่าจักขุวิญญาณจิต จะต้องดับ แต่เรา ไม่รู้ การดับ ของ จักขุวิญญาณจิต เพราะว่า "จิต" เกิดดับ สืบต่อ เร็วมาก แม้ ทาง มโนทวารวิถีจิต ก็ไม่มีทาง ที่จะรู้เลยทั้งๆ ที่ "ความคิดนึก" เกิด คั่น อยู่ ตลอดเวลา

เพราะฉะนั้น ไม่มีอะไรที่จะรวดเร็วเท่ากับ "การเกิดดับ" ของจิต ข้อสำคัญไม่ใช่ "จิต" เกิดขึ้น เพียงอย่างเดียวแต่ จะต้องมี "เจตสิก" เกิดขึ้น ร่วมด้วย ทุกครั้ง "เจตสิก" ต้อง เกิดขึ้นพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ดับพร้อมกัน กับจิต ขณะหนึ่งๆ "จิต" ขณะหนึ่งๆ จะมี "เจตสิก" เกิดร่วมด้วย อย่างน้อยที่สุด คือ ๗ ชนิด หรือ ถ้ามากกว่านั้น เช่น ๑๐ ชนิด ๒๐ ชนิด ๓๐ ชนิด ก็แล้วแต่ "เหตุปัจจัย" แต่ "เจตสิกทุกชนิด" ที่เกิดร่วมกับจิต จะต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน กับ "จิต"ที่ "เจตสิก" เหล่านั้น เกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น"เจตสิก" ไม่ได้เป็นใหญ่ไม่ได้เป็นประธาน ในการ "รู้อารมณ์" จึงเสมือนกับ อารมณ์ ไม่ปรากฏในขณะที่ "เจตสิกใดเจตสิกหนึ่ง" ปรากฏ อย่างเช่นเวลานี้ เพียง "ขณะที่เห็น" เรารู้แล้ว ว่า "จิต" เป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการ "รู้แจ้งอารมณ์" เพราะว่า "การเห็น" ปรากฏ

แต่ ขณะที่กำลัง "รู้สึกเจ็บปวด" ... "ลักษณะที่ปวด" ซึ่ง เป็น "เจตสิก" ไม่ได้เป็นใหญ่ ในการรู้แจ้งอารมณ์แต่ เป็นใหญ่ ใน "การรู้สึก" เพราะฉะนั้น "ลักษณะที่เจ็บปวด" จะปรากฏเมื่อ "มีอารมณ์ที่เกิดร่วมกับความเจ็บปวด"หมายความว่า "จิต" ต้องรู้อารมณ์ ที่มี "ลักษณะเจ็บปวด" ด้วย อย่างเช่น ขณะที่กำลังปวดฟัน เวลาที่เราใช้ คำ ว่า "ปวดฟัน" ... "ลักษณะที่ปวดฟันนั้น" จะต้องมี "ธาตุ" ที่เป็น "เหตุ" ทำให้เกิด ความเจ็บปวด คือ "รูป" ซึ่งเป็น "เหตุ" ที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแล้ว "จิต" ก็เป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการรู้อารมณ์นั้น แต่ ขณะนั้น "ความเจ็บปวด" เป็นใหญ่

เพราะฉะนั้น "ความเจ็บปวด" มีหน้าที่ "รู้สึกเจ็บปวด" เวลาที่ สภาพธรรมชนิดนี้เกิดขึ้นสภาพธรรมชนิดนี้ จะไม่รู้ "ลักษณะของอารมณ์" แต่ รู้สึก ว่า เจ็บปวด เพราะว่า ขณะนั้น "เวทนาเจตสิก" กำลังเป็นใหญ่ ขณะที่ "รู้สึกเจ็บปวด" รู้สึกปวดจริงๆ แต่ ไม่รู้ ว่า อ่อน หรือ แข็ง ที่กระทบที่ทำให้เกิด ความเจ็บปวด นั้น เพราะฉะนั้นต้องมี "รูป" กระทบมิฉะนั้น ความเจ็บปวด ก็เกิดไม่ได้ อยู่ดีๆ ก็ไม่เจ็บ

แต่ พอมีอะไร มากระทบ เช่น ปืน หรือ มีดหรือ ธาตุไฟ ที่แรงมาก เป็นต้น ในขณะนั้น "รูป" ที่กระทบนั้นก็เป็น "เหตุ" ที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด หรืออย่างเช่น ขณะที่ "กำลังเห็น" แตงโม "จิต" เป็นใหญ่ เป็นประธาน ใน "การเห็น" ... "จิต" ไม่ได้ "รู้สึก" อร่อย และ "ความรู้สึกอุเบกขา" คือ รู้สึกเฉยๆ ก็ไม่ปรากฏ

แต่ พอ "รู้สึกชอบ" ขึ้นมาในขณะนั้น "จิต" ไม่มี "ลักษณะชอบ" แตงโมแต่เป็น "ความรู้สึกสบาย รู้สึกพอใจ รู้สึกอร่อย "ไม่มี "ลักษณะของอารมณ์" ที่ "เห็น" ว่า แตงโม ปรากฏ ซึ่ง จริงๆ แล้วเป็น "สภาพรู้อารมณ์" อันเดียวกันคือ มี แตงโม เป็นอารมณ์ แต่ ขณะที่ "ลักษณะความรู้สึกอร่อย" ปรากฏ ขณะนั้น ไม่มี "ลักษณะ" ของ "รูป" ปรากฏ

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 15 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 16 มิ.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สุภาพร
วันที่ 1 ก.ค. 2552

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

ขอเรียนถามว่าขณะที่รู้สึกอร่อยหรือชอบ ไม่ใช่ขณะที่เห็นแตงโม เปรียบเสมือนนกที่เกาะบนกิ่งไม้ขณะนั้นเงาของนกก็ปรากฏทันทีใช่ไหมค่ะเป็นเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้นซึ่งแยกกันไม่ออกเลย ไม่ทราบว่าจะเข้าใจถูกหรือไม่

ขอกราบเรียนถามท่านผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่างด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 1 ก.ค. 2552

ที่ท่านเปรียบเสมือนนกที่เกาะบนกิ่งไม้ ขณะนั้นเงาของนกก็ปรากฏทันที เปรียบเหมือนวิถีจิตทางปัญจทวาร และวิถีจิตทางมโนทวาร เช่น ขณะที่เห็นทางตา และ ทางมโนทวารก็ต่อทันที รวดเร็วมาก ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ