ทำไมฟังธรรมแล้วประทับใจ แต่ก็ลืมอย่างรวดเร็ว

 
kanchana.c
วันที่  11 มิ.ย. 2552
หมายเลข  12637
อ่าน  1,103

สงสัยตัวเองเสมอว่า ทำไมฟังธรรมแล้วชอบ ประทับใจ อยากจะจำให้ได้นานๆ แต่แล้วก็ลืมอย่างรวดเร็ว เพิ่งอ่านพบเหตุผลในการบรรยายเรื่องแนวทางเจริญวิปัส-สนา ครั้งที่ ๑๔๖๐ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

บรรดาปัญญาและสติทั้ง ๒ นั้น เพราะสติที่มีปัญญานำ จึงมีความสามารถทรงจำพยัญชนะไว้ได้ เพราะปัญญาที่มีสตินำ จึงมีความสามารถในการแทงตลอดความหมายได้

นี่คือในขณะที่กำลังฟังในขณะนี้เองว่า ปัญญาและสติเกื้อกูลกันอย่างไร เพราะสติที่มีปัญญานำ ไม่ใช่สติเฉยๆ แต่ต้องเป็นสติที่มีปัญญานำ จึงมีความสามารถทรงจำพยัญชนะไว้ได้และเพราะปัญญาที่มีสตินำ จึงมีความสามารถในการแทงตลอดความหมายได้ คือ ไม่เผลอ ในการฟังและพิจารณาลักษณะของสภาพธรรมนั้น เพราะประกอบด้วยความสามารถทั้ง ๒ นั้น พระอานนท์เถระจึงมีความสำเร็จแห่งความเป็น พระธรรมภัณฑาคาริกะ คือ พระขุนคลังพระธรรม เพราะท่านสามารถตามรักษาคลังพระธรรมที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะได้ อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงอาการทำไว้ในใจโดยแยบคาย คือ พิจารณาไว้ในใจด้วยความแยบคายในขณะที่ฟัง การแทงตลอดธรรมด้วยประการต่างๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ใส่ใจโดยแยบคาย เพราะบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน จะฟังไม่ได้ เป็นความจริง บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้อันพระธรรมกถึกกล่าวอยู่ด้วยสมบัติทั้งปวง ก็มักกล่าวว่า ข้าพเจ้ามิได้ฟัง นิมนต์พระคุณเจ้ากล่าวซ้ำ

ถ้าใครกำลังฟุ้งซ่านในขณะนี้ ก็จะรู้สึกตัวได้จริงๆ ว่า แท้ที่จริงแล้วไม่ได้ฟัง คือ ใจกำลังคิดถึงอย่างอื่น แต่ว่าผู้ที่ไม่ได้ฟัง แม้ว่าผู้กล่าวธรรมจะกล่าวอยู่ด้วยสมบัติทั้งปวงเพราะเหตุว่าพระธรรมทั้งหมดเป็นสมบัติที่มีค่าจริงๆ ถ้าเข้าใจ เพราะฉะนั้น ในขณะที่มีผู้กล่าวธรรม แล้วจิตฟุ้งซ่านไม่ได้ฟัง ก็จะขอให้บุคคลนั้นกล่าวซ้ำอีก แต่การที่จะเป็นอย่างนี้ ผู้ที่พิจารณาธรรมโดยแยบคาย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ข้อความต่อไปมีว่า อนึ่ง ในที่นี้ บุคคลจะให้อัตตสัมมาปณิธิและบุพเพกตบุญญตาสำเร็จได้ ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ เพราะบุคคลผู้ไม่ได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ในชาติปางก่อน จะมีโยนิโสมนสิการนั้นไม่ได้

นี่ก็เป็นการที่จะส่องชี้ไปถึงการสะสมในอดีตของแต่ละคนในขณะที่กำลังฟังว่า การที่ไม่สามารถจะเป็นผู้ฟังอย่างตั้งใจ คือ ตั้งตนไว้ชอบได้ ก็เพราะเหตุว่าไม่ได้เป็นผู้ที่ทำบุญไว้ในชาติปางก่อน เพราะฉะนั้น ชาตินี้กำลังจะเป็นชาติปางก่อนของชาติหน้า ก็ควรที่จะได้สะสมบุญ คือ ตั้งใจฟังด้วยโยนิโสมนสิการ ก็คงจะต้องสะสมบุญ คือ การตั้งใจฟังด้วยความแยบคายในชาตินี้ เพื่อที่ชาติหน้าจะได้รับประโยชน์จากการฟังพระธรรมมากกว่านี้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kanchana.c
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1460

ลักษณะการแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาค เหตุที่ท่านพระอานนท์ทรงจำพระธรรมได้ และกล่าวคำว่า เอวัม เม สุตตัง ภควา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

เพราะประทับใจ....ต่างกับ.....เข้าใจ

จึงลืมไงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
choonj
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

กระทู้นี้น่าสนใจ ฟังธรรมประทับใจแต่ลืมอย่างรวดเร็ว ฟังแค่ประทับใจแต่ไม่ได้ฟังอย่างเข้าใจ ที่นี้ฟังอย่างเข้าใจเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างในมูลนิธิฯ มีท่านผู้หนึ่งไม่ขอเอ่ยนาม เป็นคนรุ่นเก่าเหมื่อนผมและท่านทั้งหลาย คนรุ่นเก่าเมื่อ ๔๐-๕๐ ปีก่อน เมื่อเรียนหนังสือ ครูก็จะสอนหนักไปไนทางท่องจำ เวลาสอบก็ท่องจำเอา สอบเสร็จก็ลืมหมด แล้วก็เรียนมาอย่างนี้ การจำจึงมีความชำนาญมาตั้งแต่เด็กๆ คิดว่าท่านผู้นี้ก็เช่นกันและก็ชอบถามท่าน อ. คำถามก็เป็นคำถามพื้นๆ บางทีก็ซ้ำๆ คิดเองก็ตอบได้แต่ก็ยังถาม ท่าน อ. ก็มีความเมตตา ถามตอบให้รู้ตัวตั้งหลายครั้ง แต่ก็ไม่รู้ตัว อ. เลยสอนเป็นสภาวธรรมทุกคนเลยได้ประโยชน์ คำถามพื้นๆ แต่พอท่าน อ. ถามกลับ ตอบได้หมดเลย มันก็แปลกอยู่นะคำถามท่าน อ. อยากกว่าหลายเท่ายังตอบได้แต่คำถามพื้นๆ ของตัวเองเอามาถาม

ผมมาคิดดูว่าที่ตอบ อ. ได้เพราะจำได้ แต่บางที่จำผิด ก็เลยหลงทางพอหลงทาง คำถามง่ายๆ ก็ตอบไม่ได้ (บางทีเวลาตอบผิดและ อ.ไม่ต่อ ก็จะรู้ตัวเปลี่ยนคำตอบไหม่ เป็นประสพการณ์) มีหลายครั้งท่านบอกว่าเข้าใจแล้วคะ แต่จริงๆ ไม่ได้เข้าใจ แต่จำได้แล้วต่างหาก นี่เป็นตัวอย่างของการฟังโดยจำ กับการฟังโดยเข้าใจ ถ้าเป็นการเข้าใจ ก็จะไม่ลืมอย่างรวดเร็ว เพราะพอมาถีงเรื่องนี้อีก ความเข้าใจมีอยู่ก็จะไม่ลืม ท่านที่เป็นคนรุ้นเก่าและเคยไปเรียนเมื่องนอก ก็จะเรียนสู้เขาไม่ได้เพราะเรียนโดยจำ จึงต้องเปลียนเป็นเรียนโดยเข้าใจถึงจะสู้เขาได้ แต่ก่อนจะรู้ก็ต้องให้เวลาหลายปี การฟังโดยเข้าใจคือ ปัญญา เมื่อมีปัญญาก็จะเกื่อกูลสติ เพราะปัญญาเจริญไม่ได้ถ้าสติไม่เกิด จีงว่าเพราะสติมีปัญญานำ

ผมเคยถามท่านวิทยากรว่า อาศัยเหตุอะไรจีงจำเก่งเช่นท่านพระอานนท์ เพี่งจะทราบจากกระทู้นี้ว่าท่านอาศัยการฟังโดยแยบคายคือการฟังโดยเข้าใจ ที่นี้ถ้าจะพูดถีงการสังสมในอดีต ก็จะต้องเข้าใจให้ถูกว่า เมื่อไม่ได้สั่งสม ไม่ได้ตั้งตนไว้ชอบ ไม่ได้ทำบุญไว้ในชาติปางก่อน ก็จะมีโยนิโสมนสิการไม่ได้ เมื่อไม่มีโยนิโสแสดงว่า เกิดมาด้วยสองเหตุ หรือไม่มีเหตุเช่นคนพิการ เพราะถ้าสามเหตุต้องมีโยนิโสแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจไม่ได้ เช่นเวลาเราพูดจากันก็เข้าใจได้ พูดกับคนพิการก็เข้าใจได้ เมื่อเข้าใจก็เป็นปัญญา เมื่อมีปัญญาก็สั่งสม ตั้งตนไว้ชอบ ทำบุญอยู่แล้วชาติหน้าก็มีโยนิโส ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ว่า ในสมัยที่อายุของมนุษย์ต่ำกว่าร้อยปี ย่อมเป็นผู้ที่หนา ด้วยกิเลส พระธรรมที่บุคคลฟังทำให้จำไม่ได้ เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดในน้ำฉะนั้น พระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจะไม่มาเกิดในมนุษย์ที่มีอายุต่ำกว่าร้อยปีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
dron
วันที่ 12 มิ.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
คุณ
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
opanayigo
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
h_peijen
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 12 มิ.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Sam
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
เมตตา
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ประทับใจก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ลืมก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง

เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครได้... แต่

สามารถให้เหตุปัจจัยที่จะเป็นกุศล และไม่ลืมได้

โดยการฟังและพิจารณา

ธรรมให้เข้าใจ

ก็คงจะต้องสะสมบุญ คือ การตั้งใจฟังด้วยความแยบคายในชาตินี้ เพื่อที่

ชาติหน้าจะได้รับประโยชน์จากการฟังพระธรรมมากกว่านี้

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
paderm
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 99 คนปัญญาดังหม้อคว่ำ โง่ ทึบ แม้หากไป (ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ คนชนิดนั้น ก็ไม่อาจเรียนเอาเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่ง (ธรรม) กถาได้ เพราะปัญญาของเขาไม่มี. คนปัญญาดังหน้าตัก เรากล่าวว่าดีกว่าคนปัญญาดังหม้อคว่ำนั่น ถ้าแม้ไป (ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ คนเช่นนั้นนั่ง ณ ที่นั่งนั้น เรียนพยัญชนะได้ทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น ลุกไปแล้วไม่รู้ เพราะ ความจำของเขาฟั่นเฟือน. บุคคลปัญญามาก เรากล่าวว่าดีกว่าคนปัญญาดังหน้าตักนั่น ถ้าแม้ไป (ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ คนเช่นนั้นนั่ง ณ ที่นั่งนั้น......ทรงจำไว้ได้ เป็นคนมีความคิดประเสริฐ มีใจไม่เคลือบแคลง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงกระทำที่สุดทุกข์ได้. เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่........ผู้มีปัญญา ๓ จำพวก [อวกุชชิตสูตร]

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
saifon.p
วันที่ 13 มิ.ย. 2552

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
suwit02
วันที่ 14 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ