ข้อคิดจาก...ละคร

 
พุทธรักษา
วันที่  10 พ.ค. 2552
หมายเลข  12301
อ่าน  1,337

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านผู้ฟัง "ผม" คิดขึ้นมาลอยๆ ว่า "ผม" กำลังพูด ด้วยกุศลจิต

ท่านอาจารย์ "ผม" เป็นใครคะ ถ้าไม่ใช่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ แล้วจะมี "ผม" ได้อย่างไร

ท่านผู้ฟัง ไม่ได้เกี่ยวกับ "การเห็น"แต่หมายถึง "คิดขึ้นมา"

ท่านอาจารย์ เป็นเพราะว่า มี "สัญญา" ที่จำ "เรื่อง" ไว้ ขณะที่เรากำลังพูดว่า "ทั้งหมดนี้ เราจำเรื่อง" .. "สิ่งที่ปรากฏ" ไม่รู้ว่าดับไปตั้งเท่าไหร่แล้ว แต่ เรายังจำเรื่อง ว่า "ท่านผู้ฟังนั่งอยู่ตรงนี้" ทั้งๆ ที่ "สี" ก็เกิดดับไปเรื่อยๆ แต่ "ความทรงจำ" ของเราที่จำ "เป็นบุคคล" จากสิ่งที่ปรากฏ เหมือนดูละคร

ท่านผู้ฟัง แล้วทางใจนี้ สามารถมีบัญญัติ เป็น อารมณ์

ท่านอาจารย์ อย่างเช่นเวลาที่กำลังดูทีวี เห็นได้ชัดว่าความจริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย มีแต่ "สี" แล้วเพราะอะไร จึงเห็นว่าเป็นคนกำลังพูด ฯ อย่างเช่น เรื่องดาวพระศุกร์ เหมือนเป็นตัวจริงๆ เลย แต่จริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรสักนิดเดียว

ท่านผู้ฟัง เห็น "สี" แต่ คิดต่อ ว่า รักดาวพระศุกร์ เกลียดคนที่รังแกดาวพระศุกร์

ท่านอาจารย์ ตามความจริงแล้ว ตัวท่านผู้ฟังก็ไม่มีเหมือนกับที่ ไม่มีดาวพระศุกร์จริงๆ อย่างที่เห็นในทีวีนั้น เพราะฉะนั้นเวลานี้ คือ สิ่งที่ปรากฏทางตาแต่ไม่มี "ตัวท่านผู้ฟัง" มีความคิด "เรื่องตัว ท่านผู้ฟัง" มีปากที่กำลังพูด มีเสียงที่กำลังปรากฏแล้วก็ "คิกนึก" เป็นเรื่องราว (บัญญัติ) ซึ่ง "บัญญัติ" ไม่มีจริง กำลังพูดกับ "สิ่งที่ปรากฏทางตา"ซึ่ง เป็น "ขันธ์" หนึ่งในขันธ์ทั้ง ๕ คือ "รูปขันธ์" นั่นเอง

ท่านผู้ฟัง หมายความว่ามี "ปรมัตถ์" เป็น "อารมณ์" แต่ ไม่มี "บัญญัติ" ไม่มี "ตัวผม" แต่ต่อไป ก็ต้องมีการคิดถึง "บัญญัติ"

ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ เพราะฉะนั้น "บัญญัติ" มี "เมื่อคิด"แต่ "จิตที่รู้บัญญัติ" นั้น เป็นกุศลจิต หรือ เป็นอกุศลจิต หรือ เป็น "ปัญญา"

ท่านผู้ฟัง หมายความว่ารู้ว่า เป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้โดยที่ไม่ต้องระลึกเลย

คุณย่าสงวน มิฉะนั้น พระผู้มีพระภาค ก็ไม่ตรัสเรียกว่า "ดูกร สารีบุตร"

ท่านอาจารย์ แต่พระผู้มีพระภาคทรงรู้ ว่า ขณะนั้น เป็น "จิต" ที่จำ คือ "จิตที่ประกอบด้วยสัญญาเจตสิก" เจตสิก ประเภทต่างๆ ที่เกิดกับจิตที่พระองค์ทรงแสดงแก่เราทั้งหมด นั้น เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ว่า มี เจตสิก แต่ละชนิด

ท่านผู้ฟัง "สัญญาที่จำในสิ่งที่ปรากฏทางตา" ก็มี แต่ ทำไม เราจึงไปจำ ว่า เป็นบุคคล

ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องปกติ เพราะว่า เราไม่ได้สนใจ "รูปารมณ์" แต่ เราไปจำ เป็น "เรื่องราวที่มาจากรูปารมณ์" เพราะว่ามี "ความเป็นตัวตน" และ มี "อัตตสัญญา"

"อัตตสัญญา" คือ ความทรงจำ ว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดหมายความว่า รู้แต่เรื่องราวโดยที่ไม่รู้ "ปรมัตถ์" เลย

ท่านผู้ฟัง อาจารย์ "เน้น" ว่า ให้เราอยู่แค่ "ปรมัตถ์" ให้รู้ว่า "ปรมัตถ์" ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ขณะใดที่ "เห็น" แล้วสนใจ เพลิน ใน "นิมิต" คือ รูปร่าง สัณฐาน. และ "อนุพยัญชนะ" คือ ส่วนละเอียด ของสิ่งที่ปรากฏ ให้ทราบว่าขณะนั้น เพราะ"สี"ปรากฏ จึงเป็น "เหตุปัจัย"ทำให้กิด "คิดนึก" เป็น รูปร่าง สัณฐาน และ ส่วนละเอียด ของสิ่งต่างๆ ขึ้น เมื่อใดที่ "สติ" เกิด ระลึกรู้และ "ปัญญา" เริ่มศึกษา พิจารณา ก็จะเริ่มรู้ว่านิมิต และ อนุพยัญชนะ ทั้งหลายซึ่งเป็น "สี" ต่างๆ ก็เป็นเพียง "สิ่งที่ปรากฏทางตา" เท่านั้น

นี้คือ "ปัญญา"ที่เริ่มเข้าถึง "ลักษณะของสภาพธรรม"ที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เมื่อ "สติ" เกิดระลึกรู้ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เนืองๆ บ่อยๆ ก็จะเข้าใจ "อรรถ" ที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ไม่ติด ในนิมิต อนุพยัญชนะ" (ด้วยการอบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความจริง) และเริ่ม ละคลาย "อัตตสัญญา"ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตามระดบขั้น ของ "ปัญญา" ที่ค่อยๆ เจริญขึ้นจากการอบรม

จาก "บ้านธัมมะ"

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 พ.ค. 2552

ข้อความบางตอนจาก "อัตตสัญญา"

: อัตตสัญญาคืออะไร

: อัตตสัญญา คือ ความจำด้วยการยึดถือว่าเป็นตัวตน ความจริงไม่น่าสงสัยในอัตตสัญญาเลย เพราะทุกคนมีอัตตสัญญา เมื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคล จึงดับความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตนสัตว์ บุคคลได้ แต่ก่อนที่สติจะเกิดและปัญญาศึกษาเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมจนกระทั่งรู้ชัดประจักษ์แจ้งในสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนได้นั้น ก็จะต้องมีอัตตสัญญา เมื่อสติไม่เกิด จึงไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏแต่ละทวารตามความเป็นจริง จึงเห็นผิด ยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏรวมกันเป็นอัตตา คือเป็นตัวตนเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เมื่อไม่รู้ความจริงเป็นสภาพธรรมขณะนี้ ก็มีอัตตสัญญา มีความทรงจำว่าเป็นเราที่เห็น และจำว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นสัตว์บุคคล ตัวตน ต่างๆ

ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 11 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 12 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 12 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สุภาพร
วันที่ 15 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
saifon.p
วันที่ 16 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Sottipa
วันที่ 31 ต.ค. 2563

อนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ