ฟังธรรมอย่างไร จึงเรียกว่า ฟังธรรม

 
opanayigo
วันที่  4 พ.ค. 2552
หมายเลข  12198
อ่าน  931

บางส่วน..จากการสนทนาธรรมวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ท่านอ.สุจินต์ได้กล่าวย้ำเรื่องการฟังธรรมให้ได้ประโยชน์จากพระธรรม คือ

ไม่เพียงแต่ฟังเพลิน (เพลิน) เท่านั้น

ควรพิจารณาตามสิ่งที่ฟัง ทุกๆ คำที่ได้ฟัง

ควรทำความเข้าใจ (ความหมายที่แท้) ในคำหรือพยัญชนะนั้นๆ

อย่างแท้จริง...ว่าหมายถึงอะไร

เช่น อายตนะ (เครื่องต่อ,อยู่) ๑๒

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยภายในและภายนอก

(เครื่องต่อ กับ อะไร?)

ท่านฟังแล้ว น้อมพิจารณาถึงอะไร?

เป็น อภิธัมมะ ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างไร?

...............................................................................

ขอนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่าน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 4 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 4 พ.ค. 2552

อายตนะ หมายถึง เครื่องต่อ, บ่อเกิด จำได้ ท่องได้ย่อมไม่เกิดประโยชน์

ท่านฟังแล้ว น้อมพิจารณาถึงอะไร?

พิจารณาถึงคำอธิบายของท่านอาจารย์ว่า ขณะนี้มีอายตนะไหม? ไม่ใช่เพียงจำชื่อจำเรื่องราวได้ แต่ให้เข้าใจตัวจริงๆ ของอายตนะ ขณะนี้มีเห็น จิตเห็นเกิดขึ้นได้ต้องมีสิ่งที่ปรากฎทางตา หรือเรียกว่ารูปารมณ์ กระทบจักขุปสาท จิตเห็นและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยจึงเกิดขึ้นทำกิจเห็นได้ ขณะที่รูปารมณ์กระทบจักขุปสาท ขณะนั้นจิต

เห็นเกิดขึ้นเห็น ขณะนั้นเป็นเครื่องต่อ เป็นบ่อเกิด ขณะนั้นรูปารมณ์เป็นรูปายตนะ

จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ , จิตเห็นเกิดขึ้น เป็น มนายตนะ , สำหรับเจตสิกเป็น ธรรมายตนะ ท่านอาจารย์แสดงให้น้อมพิจารณาว่าอายตนะคือสภาพธรรมที่กำลังปรากฎขณะนี้เอง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 4 พ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การศึกษาธรรม ไม่ใช่การจำชื่อ เรื่องราวต่างๆ แต่เมื่อๆ ได้ฟังในเรื่องอะไรก็ตาม ก็คือ

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็

ตาม ไม่พ้นจากสภาพธธรรมที่มีจริง ทรงแสดงธรรมเพื่อให้เข้าใจความจริง ผู้ที่จะได้

สาระจากพระธรรมจึงเป็นผู้ตั้งใจฟังและพิจารณาในสิ่งที่ฟังว่าคือสภาพธรรมที่มีจริงอัน

เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 4 พ.ค. 2552

ขออนุญาตเสริมความเห็นที่ ๓ ค่ะ
."ชื่อ" สำคัญ ก็ตอนที่ใช้ในการอธิบายให้เกิดความเข้าใจพระธรรม.
ต้องอธิบาย โดยใช้ "ชื่อ" เพื่อการเข้าถึง "ลักษณะ" ของสภาพธรรม
และที่สำคัญ คือ "ชื่อ" อาจเปลี่ยนได้แต่ว่า "ลักษณะ" ไม่มีทางเปลี่ยนได้.
การเจริญสติปัฏฐานจึงต้องถึง"ลักษณะ"คือ มี "ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ" เป็นอารมณ์.
จึงไม่มีเรา...ที่เจริญสติปัฏฐานแต่เป็นกิจของ "ปัญญา"ที่สามารถรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงได้ว่า มีแต่ "ลักษณะ" ที่เป็นนามธรรม และ รูปธรรม.
ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีเขาที่บัญญัติเป็น "ชื่อ"
"ชื่อ" หรือ "บัญญัติ" เป็นอารมณ์ ของสติปัฏฐานไม่ได้เพราะ"ชื่อ"...ไม่มี "ลักษณะ" จริงๆ
"ปรมัตถธรรม" เท่านั้น ที่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน.
.....................ขออนุโมทนาค่ะ.....................ท่านอาจารย์กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า...ถ้าไม่ใช่ "สติสัมปชัญญะ" ที่ระลึก ตรง ลักษณะ ขณะนั้น จิตเกิดแล้ว ดับแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะรู้เลย.ถ้าระลึก ตรง ลักษณะ จะไม่มีชื่อ แต่มีลักษณะให้รู้

เมื่อลักษณะดับไปแล้ว ก็ไม่มีทางรู้ ในสิ่งที่ดับไปแล้ว.เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่ากุศล อกุศล โลภะ โทสะ โมหะเกิดดับ สลับกัน อย่างรวดเร็ว จนเราไม่รู้
และถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้.

จึงมีแต่ สติสัมปชัญญะ เท่านั้น ที่จะระลึก ตรง ลักษณะ แล้วรู้ ลักษณะของสภาพธรรม ที่เกิดดับ.
...............................

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง

โดยละเอียด

ไม่เผิน

ไม่ข้าม

ไม่คิดเอง

ทิ้งของเก่าที่ผิด

และต้องเป็นผู้ตรง

(ทุกอย่างเป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่มีตัวตนไปทำ)

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
saifon.p
วันที่ 5 พ.ค. 2552

"ชื่อ" หรือ "บัญญัติ"เป็นอารมณ์ ของสติปัฏฐานไม่ได้เพราะ"ชื่อ"...ไม่มี "ลักษณะ" จริงๆ
"ปรมัตถธรรม" เท่านั้นที่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน.

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อความเข้าใจเจริญขึ้น สังขารขันธ์ฝ่ายดีก็จะปรุงแต่งให้น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมที่ได้ฟัง โดยเป็นไปเพื่อการ"ละ" เบื้องต้นคือ ละความไม่รู้ว่า ธรรมะ เป็น ธรรมะ ไม่ใช่เรา เมื่อเริ่มรู้ความจริง โดยการฟังและพิจารณาตามอยู่เสมอ ความเห็นถูกก็ย่อมจะเจริญขึ้น การยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคลก็จะค่อยๆ ถูกคลายลงทีละน้อยๆ การฟังพระธรรมที่ถูกนั้น ต้องเป็นไปเพื่อการ "ละ"สถานเดียวครับ ถ้าฟังเพื่อจะเอา จะได้ จะติด นั่นไม่ชื่อว่า "ฟังพระธรรม"

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 5 พ.ค. 2552

เรียนรู้ชื่อจุดประสงค์เพื่อให้เข้าถึงสภาพธรรมะที่มีจริงในขณะนี้ แม้ไม่เรียกชื่อค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ขอพระสัทธรรมอันงดงาม บังเกิดแต่ดอกบัว

คือพระโอษฐ์ของพระสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์

ทำให้ใจของท่านทั้งหลายเบิกบาน

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pornpaon
วันที่ 6 พ.ค. 2552

ฟังพระสัทธรรม

ฟังเพื่อความเข้าใจถูก

ฟังเพื่อรู้จักความจริงที่ไม่เคยรู้ และไม่สามารถรู้ได้เองถ้าไม่ฟังไม่ศึกษา

ชื่อ มีประโยชน์

เมื่อ รู้ชื่อ เพื่อทำความเข้าใจในลักษณะสภาพธรรม ที่คำๆ นั้นส่องถึง

ไม่ใช่รู้ชื่อเพื่อท่องไว้ หรือเพื่อแสดงว่าตนรู้คำศัพท์ยากๆ จำนวนมาก

ปัญญาความรู้ความเข้าใจที่ค่อยๆ ถูกขึ้น และค่อยๆ ตรงขึ้น ทีละนิดละน้อย

เป็นสิ่งที่ย่อมอบรมเจริญขึ้นได้ด้วยการฟัง

ขออนุโมทนาคุณ opanayigo

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 6 พ.ค. 2552


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ฟังธรรม เพื่อความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ธรรม เป็น ธรรม ไม่ใช่เรา เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก จิตเกิดขึ้นเป็นชาติต่างๆ ทั้งกุศล อกุศล วิบาก กิริยา เป็นสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เราที่เห็น แต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เป็นต้น ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเป็นสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ไม่ว่าจะแสดงโดยนัยของขันธ์ ธาตุ อายตนะ ล้วนส่องให้เห็นถึงความเป็นจริงของธรรม เพื่อให้ผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษา มีความเข้าใจถูกเห็นถูกว่าเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่ให้ติดที่คำหรือที่ชื่อ เมื่อจุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรม ถูกต้อง ตรง ความเข้าใจถูกเห็นถูก ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ