พรรณนาสิกขาบท ๒ เรื่อง สุราเมรย

 
pornpaon
วันที่  30 เม.ย. 2552
หมายเลข  12130
อ่าน  2,037

พระสุตตันตปิฎก ขุทกกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค๑ หน้าที่ 23 - 45

พรรณาสิกขาบท ๒

........ก็ในคําว่า สุราเมรยมชฺชปมาทฏาน นี้ บทว่า สุรา ไดแกสุรา ๕ อย่างคือ สุราทําดวยแป้ง สุราทําด้วยขนม สุราทําด้วยข้าวสุก สุราผสมเชื้อ สุราที่ปรุงด้วยเครื่องปรุง. แม้เมรัยก็มี ๕ อย่าง คือ เมรัยที่ทําด้วยดอกไม เมรัยที่ทําด้วยผลไม เมรัยทําด้วยงบน้ําอ้อย เมรัยที่ทําด้วยดอกมะซาง เมรัยที่ปรุงด้วยเครื่องปรุง. บทวา มชฺช ได้แก ทั้งสองอยางนั้นนั่นแหละ ชื่อวา มัชชะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา. ก็หรือสิ่งอื่นใด ไม่วาอะไรเป็นทีตั้งแหงความเมา บุคคลเมาประมาทด้วยสิ่งใดที่ดื่มแล้ว สิ่งอันนี้ก็เรียกวา มัชชะ. บทว่า ปมาทฏาน ได้แก เจตนาที่ดื่มกลืนกินมัชชะนั้น ท่านเรียกว่าปมาทฏฐานเพราะเป็นเหตุแห่งความเมาความประมาท เจตนากลืนกินมัชชะคือสุราและเมรัย เป็นไปทางกายทวารด้วยประสงค จะกลืนกิน พึงทราบว่าสุราเมรัยเป็นทั้งแห่งความประมาทโดยประการใด พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทเหล่านั้นก่อนนับตั้งแตปาณาติบาตเป็นต้นไป โดยประการนั้น.

อนึ่ง ในข้อนี้ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานเท่านั้น ชื่อว่ามีโทษมาก ปาณาติบาตเป็นต้น หามีโทษมากเช่นนั้นไม่ เพราะอะไร เพราะทําอันตรายแกอริยธรรมเหตุทําผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ให้กลายเป็นคนบ้า ในข้อนี้พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยความมีโทษมาก ด้วยประการฉะนี้.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ก็มีองค ๔ คือ

๑. สุราทีน อฺตร ของมึนเมามีสุราเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

๒. มทนียปาตุกมฺยตาจิตฺต จิตคิดอยากจะดื่มของมึนเมา

๓. ตชฺช วายาม อาปชฺชติ ความพยายามเกิดแตจิตนั้น

๔. ปเต จ ปวิสติ ดื่มเข้าไปในลําคอ

สุราเมรยมชฺชปมาทฏานา เวรมณี มีผลเป็นต้น อย่างนี้คือ ความปฏิญาณไดฉับพลันในกรณียกิจทั้งปวง ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ความมีสติมั่นคงทุกเมื่อ ความไม่เป็นคนบ้า ความมีญาณ ความไม่เกียจคร้าน ความไม่โง ความไม่เป็นใบ ความไม่มัวเมา ความไม่ประมาท ความไม่หลง ความไม่หวาดกลัวความไม่แข่งดี ความไม่ต้องสงสัย ความไม่ต้องแคลงใจ ความเป็นคนพูดสัจจะความเป็นคนพูดแต่วาจาไม่ส่อเสียด ไม่หยาบคาย ไม่เปล่าประโยชน ความเปนคนไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ความมีกตัญู มีความกตเวที ความไม่ตระหนี่ ความเสียสละ ความมีศีล ความเป็นคนตรง ความไม่โกรธ ความมีหิริความมีโอตตัปปะ ความมีความเห็นตรง ความมีปัญญามาก ความมีความรู้ความเป็นบัณฑิต ความฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชนและไม่เป็นประโยชน. ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยสมุฏฐานเวทนา มูล กรรม และผลด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 16 ธ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ก.ค. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ