อธิบายอายตนะโดยไตรลักษณ์ [วิภังค์]

 
JANYAPINPARD
วันที่  22 เม.ย. 2552
หมายเลข  12018
อ่าน  2,319

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้า-171

อธิบายอายตนะโดยไตรลักษณ์

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีความประสงค์จะทรงแสดงอาการแห่งอายตนะเหล่านั้นอันบัณฑิตพึงเห็นแจ้งตามความเป็นจริง จึงเริ่มคำมีอาทิว่า จกฺขุํ อนิจฺจํ (จักขุไม่เที่ยง) ดังนี้.

บรรดาอายตนะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า จักขุ ชื่อว่า ไม่เที่ยงด้วยอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ ดังนี้ก่อน.

ชื่อว่า ความไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ อย่าง แม้อื่นอีก คือ

โดยมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นที่สุด ๑

โดยความแปรปรวนไป ๑

โดยความเป็นของชั่วคราว ๑

โดยปฏิเสธความเที่ยง ๑

จักขุนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า บีบคั้น อีกอย่างหนึ่งจักขุนี้เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ (ฐิติ) เมื่อตั้งอยู่ ย่อมลำบากด้วยชรา ถึงชราแล้ว ย่อมแตกดับไปแน่แท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเหตุเหล่านี้ คือ

โดยความเป็นของบีบคั้นเนืองๆ ๑

โดยความเป็นของทนได้ยาก ๑

โดยเป็นวัตถุตั้งแห่งทุกข์ ๑

โดยปฏิเสธความสุข ๑

อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.

อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใครๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 เม.ย. 2552

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้า-172

คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึงการแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูง ไปจากอาการที่เป็นไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ ๔ เหล่านั้น คือ

โดยความเป็นของสูญ ๑

โดยความไม่มีเจ้าของ ๑

โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑

โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑

ที่ชื่อว่า มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะมีภพและคติต่างๆ เพราะความเปลี่ยนไปแห่งภพหน้าและภพหลัง เพราะเว้นจากความเป็นปกติ คำว่า มีครามแปรปรวนไปเป็นธรรมดานี้ เป็นไวพจน์ของความไม่เทียงนั่นเอง. แม้ในอายตนะทั้งหลาย มีคำว่า รูปไม่เที่ยง เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ในอายตนะเหล่านี้ ยกเว้นจักขุเสียแล้ว ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ไม่เที่ยง หาใช่จักขุไม่ * แต่ว่า จักขุเป็นจักขุด้วย เป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วย ธรรมที่เหลือก็เหมือนกันเป็นทุกข์ หาใช่จักขุไม่ แต่จักขุเป็นจักขุด้วย เป็นทุกข์ด้วย ธรรมที่เหลือเป็นอนัตตา หาใช่จักขุไม่ แต่จักขุเป็นจักขุด้วย เป็นอนัตตาด้วย ฉะนี้แล. แม้ในรูปเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า ก็ในสุตตันตภาชนีย์นี้ พระตถาคตทรงแสดงลักษณะอะไร.

ตอบว่า ทรงแสดงอนัตตลักษณะแห่งอายตนะ ๑๒ อย่าง.

จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงอนัตตลักษณะ ย่อมแสดงโดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยทั้งความไม่เที่ยงและโดยความเป็นทุกข์บ้าง ในลักษณะทั้ง ๓ เหล่านั้น พระองค์ทรงแสดงอนัตตลักษณะ โดยความไม่เที่ยงในสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดพึง

* อายตนะที่เป็นรูปมีจักขายตนะเป็นต้นไม่เกิดในอรูปภูมิ จึงไม่เห็นอายตนะที่เป็นรูปนั้น โดยความเป็นอนิจจังเป็นต้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 เม.ย. 2552

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้า-173

กล่าวว่าจักขุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นย่อมไม่ควร จักจุย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นของบุคคลนั้น ต้องกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป ฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่า จักขุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ดังนี้ จักขุเป็นอนัตตา (๑) ดังนี้.

พระองค์ทรงแสดงอนัตตลักษะโดยความเป็นทุกข์ ในสูตรนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้ จักได้เป็นอัตตา รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ก็พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราจงอย่าเป็นอย่างนี้ ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่พึงได้ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้ ดังนี้.

พระองค์ทรงแสดงอนัตตลักษณะทั้งโดยไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ในพระสูตรทั้งหลายมีอาทิว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมัปปัญญา ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อนัตตาของเรา (๒) ดังนี้.

ถามว่า ทรงแสดงอย่างนี้ เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะความไม่เที่ยงและความทุกข์ปรากฏ.

(๑) ม. ยุ. เล่ม ๑๔, ๘๑๘/๕๑๒

(๒) สํ . ขนฺธวารวคฺค. เล่ม ๑๗, ๔๒/๒๘

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 เม.ย. 2552

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้า-174

จริงอยู่ เมื่อถ้วยชาม หรือขัน หรือวัตถุอะไรๆ ตกจากมือแตกแล้ว ชนทั้งหลายย่อมพูดว่า โอ ! มันไม่เที่ยง ความไม่เที่ยง ชื่อว่า ปรากฏแล้วอย่างนี้ ก็เมื่อฝีต่อมเป็นต้นตั้งขึ้นในอัตภาพแล้ว หรือว่าถูกตอหรือหนามทิ่มเอาแล้วก็ย่อมพูดว่า โอ ! เป็นทุกข์ ทุกข์ชื่อว่า ปรากฏแล้วอย่างนี้.

อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ มืดมน ไม่แจ่มแจ้ง แทงตลอดได้โดยยาก แสดงได้โดยยาก ทำให้เข้าใจได้โดยยาก. แต่อนิจจลักษณะและทุกขลักษณะ พระตถาคตทั้งหลายจะทรงอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตาม ย่อมปรากฏ. อนัตตลักษณะ เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปเท่านั้น.

จริงอยู่ ดาบสและปริพาชกทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แม้มีสรภังคศาสดาเป็นต้น ย่อมสามารถกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง ได้ แต่ไม่สามารถจะกล่าวว่า อนัตตา ได้ แม้ถ้าพวกดาบสเป็นต้นเหล่านั้นพึงสามารถกล่าวคำว่า อนัตตา ในบริษัทที่ประชุมกันแล้ว บริษัทที่ประชุมกันก็จะพึงแทงตลอดมรรคและผล เพราะการประกาศให้รู้อนัตตลักษณะไม่ใช่วิสัยของใครๆ อื่น เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้านั้น อนัตตลักษณะนี้จึงไม่ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะแสดงอนัตตลักษณะจึงทรงแสดง โดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยทั้งความไม่เที่ยงทั้งความเป็นทุกข์บ้าง แต่ในอายตนวิภังค์นี้ พึงทราบว่า ทรงแสดงอายตนะนั้นทั้งโดยความไม่เที่ยง ทั้งโดยความเป็นทุกข์ ดังนี้.

ถามว่า ก็ลักษณะเหล่านี้ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการอะไรไม่แทงตลอดอะไร และอันอะไรปิดปังไว้.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 เม.ย. 2552

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้า-175

ตอบว่า อนิจจลักษณะก่อน ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ

ไม่แทงตลอดความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และเพราะสันตติปิดบังไว้. ทุกขลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดความบีบคั้นเนืองๆ แต่เพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้. อนัตตลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดการแยกธาตุต่างๆ และเพราะอันฆนสัญญาปกปิดไว้. ก็พระโยคาวจรกำหนดความเกิดและความเสื่อมเพิกสันตติได้แล้ว อนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง มนสิการการบีบคั้นเนืองๆ สับเปลี่ยนอิริยาบถได้แล้ว ทุกขลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง เมื่อแยกธาตุต่างๆ แล้วทำการแยกความเป็นก้อน อนัตตลักษณะย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง.

อนึ่ง ในอธิการนี้ พึงทราบวิภาค (การจำแนก) นี้ คือ

อนิจฺจํ (ความไม่เที่ยง)

อนิจฺจลักฺขณํ (ลักษณะแห่งความไม่เที่ยง)

ทุกฺขํ (ความทุกข์)

ทุกฺขลกฺขณํ (ลักษณะแห่งทุกข์)

อนตฺตา (ไม่ใช่อัตตา)

อนตฺตลกฺขณํ (ลักษณะแห่งอนัตตา) .

บรรดาวิภาคทั้ง ๖ เหล่านั้น ค่าว่า อนิจจัง ได้แก่ ขันธ์ ๕. เพราะเหตุไร เพราะความที่ขันธ์ ๕ มีความแปรเปลี่ยนไปด้วยความเกิดและความเสื่อม หรือว่า เพราะมีแล้วกลับไม่มี. ความที่ขันธ์ ๕ มีความแปรเปลี่ยนไปด้วยความเกิดและความเสื่อม หรือว่า ความเปลี่ยนแปลงแห่งอาการ (ลักษณะ) กล่าวคือ เป็นแล้วกลับไม่เป็น ชื่อว่า อนิจจลักษณะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 เม.ย. 2552

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะพระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ ดังนี้. เพราะเหตุไร เพราะมีการบีบคั้นเนืองๆ

อาการ (คือลักษณะ) ที่บีบคั้นเนืองๆ ชื่อว่า ทุกขลักษณะ.

ก็เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า อนัตตา เพราะพระบาลีว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้. เพราะเหตุไร เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. อาการ (คือลักษณะ) ที่ไม่เป็นไปในอำนาจ ชื่อว่า อนัตตลักษณะ

เพราะฉะนั้น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จึงเป็นอย่างหนึ่ง อนิจจลักษณะ

ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ จึงเป็นอย่างหนึ่ง.

จริงอยู่ คำว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ นี้แม้ทั้งหมดชื่อว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่วิการ (การเปลี่ยนแปลง) แห่งอาการ (ลักษณะ) มีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ฉะนี้แล.

อนึ่ง ว่าโดยสังเขปในอายตนวิภังค์นี้ อายตนะ ๑๒ เป็นกามาพจร อายตนะ ๑๒ (คือ มนายตนะ และธรรมายตนะ) เป็นไปในภูมิ ๓ วาระว่าด้วยการพิจารณา พึงทราบว่า ตรัสไว้ในอายตนะแม้ทั้งหมดแล.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 12 มิ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ